จับตา “กรมการข้าว” รับรองพันธุ์ข้าวใหม่ ตอบโจทย์ชาวนาหรือไม่

21 ส.ค. 2565 | 10:42 น.

ชาวนา 4.6 ล้านครัวเรือน เตรียมเฮ วันพรุ่งนี้ "กรมการข้าว" แจ้งข่าวดี มี 4 สายพันธุ์ น้องใหม่ ส่งงานวิจัย สู่ท้องนา เพิ่มโอกาส เพิ่มรายได้ ลุ้น ตอบโจทย์หรือไม่

แหล่งข่าวกรมการข้าว  เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในวันพรุ่งนี้ (วันที่ 22 ส.ค.65) คณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ข้าว จะมีวาระเรื่องเพื่อพิจารณา รับรองพันธุ์ข้าว 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย 1.ได้แก่ 1.)​ สายพันธุ์  PSL04088-7-R-3-R-2-R-1-R-2-3 เป็นข้าวขาวอมิโลสปานกลาง  มีลักษณะประจำพันธุ์ คือเป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 767 กก./ไร่ ศักยภาพการให้ผลผลิต 934 กก./ไร่ มีลักษณะเด่น คือ ต้นเตี้ยต้านทานการหักล้ม ต้านทานต่อโรคไหม้และค่อนข้างต้านทานโรคขอบใบแห้ง

 

จับตา “กรมการข้าว” รับรองพันธุ์ข้าวใหม่ ตอบโจทย์ชาวนาหรือไม่

 

2.) สายพันธุ์ CNT07001-35-3-2-1 เป็นข้าวขาวพื้นแข็ง มีลักษณะประจำพันธุ์ คือข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุการเก็บเกี่ยว 95 วัน ผลผลิตสูงเฉลี่ย 885 กก./ไร่ ศักยภาพการให้ผลผลิต 1,213 กก./ไร่ มีลักษณะเด่นต้านทานต่อโรคไหม้และค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

 

จับตา “กรมการข้าว” รับรองพันธุ์ข้าวใหม่ ตอบโจทย์ชาวนาหรือไม่

 

3.สายพันธุ์ PTT13038-15-1-1-2-5-1 เป็นข้าวขาวพื้นนุ่ม อายุการเก็บเกี่ยว 111-114 วัน (ปักดำ) ผลผลิตสูงเฉลี่ย 767 กก./ไร่ ศักยภาพการให้ผลผลิต 934 กก./ไร่ มีลักษณะเด่น คือ ต้านทานต่อโรคไหม้​ และ 4.) สายพันธุ์ PTT11236-37-3-1-2-2-1-1-1 เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง มีลักษณะประจำพันธุ์ คือ ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุการเก็บเกี่ยว 118 วัน (ปักดำ) ผลผลิตสูงเฉลี่ย 779 กก./ไร่ ศักยภาพการให้ผลผลิต 1,070 กก./ไร่ มีลักษณะเด่น คือ ต้านทานต่อโรคไหม้ โดยพันธุ์ข้าวใหม่ทั้ง 4 พันธุ์ จะมีการรับรองอย่างเป็นทางการในวันพรุ่งนี้ จะถูกใจชาวนาหรือไม่ ต้องติดตาม 

 

เปิดวาระการประชุม

 

 


 

แหล่งข่าวกรมการข้าว   กล่าวว่า  เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ผ่านคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ตามแผนเป้าหมายการรับรองพันธุ์ข้าวไม่น้อยกว่า 14 พันธุ์ระยะเวลา 5 ปี โดยมุ่งเน้นเป้าหมายที่จะได้ พันธุ์ข้าวที่มีลักษณะ สั้น เตี้ย ดก ดี ดังนี้

 

- ข้าวเจ้าพื้นนุ่ม 4 พันธุ์

- ข้าวพื้นแข็ง 4 พันธุ์

 -ข้าวหอมไทย 2 พันธุ์

-ข้าวที่มีโภชนาการสูง 2 พันธุ์

-ข้าวเหนียว 2 พันธุ์ (ใหม่)