ภุเก็ตงัดsoft powerรับประชุมAPEC SMEชูโมเดลBCG

19 ส.ค. 2565 | 02:56 น.

สสว. ร่วมกับจังหวัดภูเก็ต ประกาศความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดประชุม APEC SME  ชู “โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน(BCG Model)” ยกระดับ SMEs สุ่ซัพพลายเชนระดับโลก ชูศักยภาพภูเก็ตพร้อมรับนักท่องเที่ยว การค้าการลงทุน

นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า จังหวัดภูเก็ตยินดีอย่างยิ่ง ที่ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APEC SME 2022 ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในครั้งนี้ 

 

ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้แสดงศักยภาพ ความพร้อมของ “ไข่มุกแห่งอันดามัน” ด้วยธรรมชาติที่สวยงาม วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ รวมถึงศิลปะทางสถาปัตยกรรมเก่าแก่ สไตล์ชิโน-โปรตุกีส ในย่านชุมชนเมืองเก่า  ภุเก็ตงัดsoft powerรับประชุมAPEC SMEชูโมเดลBCG

ภุเก็ตงัดsoft powerรับประชุมAPEC SMEชูโมเดลBCG

ที่สำคัญภูเก็ตยังเป็นพื้นที่นำร่อง ของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้านการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว ที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ที่สามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นอันดับ 2 รองจากกรุงเทพมหานคร และยังมีนวัตกรรมบริการในระดับมาตรฐานนานาชาติ รวมถึงการเป็นเมือง MICE CITY

 

นายณรงค์กล่าวอีกว่า จังหวัดภูเก็ตยังมีแนวทางการพัฒนา ที่มุ่งสร้าง Soft Power ในด้านต่าง ๆ เพื่อลดการพึ่งพิงการท่องเที่ยวกระแสหหลัก โดยแก้ไขจุดอ่อนหลังผลกระทบจากโควิด-19 ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่ม จากการเป็นเมืองสร้างสรรค์ทางอาหารของโลก เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์ การท่องเที่ยวเชิงกีฬา เป็นเมืองที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากดิจิทัลเทคโนโลยีและจากการเป็นเมือง MICE City ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาแบบอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นหลักของการประชุมในครั้งนี้ คือการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ด้วยโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ภุเก็ตงัดsoft powerรับประชุมAPEC SMEชูโมเดลBCG

ภุเก็ตงัดsoft powerรับประชุมAPEC SMEชูโมเดลBCG

“การที่จังหวัดภูเก็ตได้รับเลือกให้เป็นสถานที่จัดการประชุม APEC SME ครั้งนี้ จึงนับเป็นโอกาสอันดี ในฐานะตัวแทนเขตเศรษฐกิจไทย ที่จะแสดงศักยภาพและความพร้อม ในการเปิดบ้านต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุมจาก 21 เขตเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวมถึงการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ที่จะตามมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

 

 ขณะเดียวกันผู้ประกอบการ SME ในภูเก็ต ซึ่งมีจำนวน 42,598 ราย มีการจ้างแรงงานรวมกว่า 224,905 ราย ยังได้แสดงศักยภาพความพร้อม และสามารถสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการ ทั้งในจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ใกล้เคียง ให้เป็นที่รับรู้ในระดับสากล ซึ่งจะเป็นกลไกสร้างเศรษฐกิจให้กับพื้นที่ต่อไป”

 

นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า ตามที่ประเทศไทยมีวาระเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ในปี พ.ศ. 2565 หรือ APEC 2022 หนึ่งในกรอบการประชุมระดับรัฐมนตรีภายใต้ความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก คือกรอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME 

 

โดยนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อเตรียมการจัดการประชุมฯ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ เป็นประธาน โดยมอบหมายให้สสว. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก ด้านการส่งเสริม SME ของประเทศ และมีบทบาทในฐานะผู้แทนไทยในคณะทำงาน APEC SME ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ในระหว่างวันที่5-10 กันยายน 2565 นี้ที่จังหวัดภูเก็ต  

 

 

“APEC เป็นศูนย์รวมของเขตเศรษฐกิจชั้นนำถึง 21 เขตเศรษฐกิจ มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) รวมกว่า 53 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1,700 ล้านล้านบาท หรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP โลก และมีมูลค่าการค้ารวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของการค้าโลก การจัดประชุมครั้งนี้จึงมีความสำคัญต่อการส่งเสริม SME ไทย 

 

 

ด้วยเป้าหมายเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการกำหนดท่าทีที่จะรักษาผลประโยชน์ของไทยและธุรกิจ SME ในเวทีความร่วมมือพหุภาคี พร้อมกับเชื่อมโยง SME ไทยกับพันธมิตรธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโอกาสทางเศรษฐกิจ และเสริมสร้างศักยภาพ SME ไทย เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานระดับโลก” นายวีระพงศ์ กล่าว

 

 

สำหรับการจัดประชุม APEC SME ในครั้งนี้ ประกอบด้วย 

 

1.การประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค (APEC SME Ministerial Meeting) ครั้งที่ 28 ซึ่งเป็นการประชุมระดับนโยบายด้านการพัฒนา SME 

 

2. การประชุมคณะทำงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค (APEC SME Working Group Meeting) ครั้งที่ 54 ซึ่งเป็นการประชุมระดับปฏิบัติการ และ 

 

3.การประชุมรวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

 

โดยดำเนินการภายใต้หัวข้อหลัก “โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy Model หรือ BCG Model) คือ “Inclusive Recovery of APEC MSMEs through BCG & High Impact Ecosystem” หรือ “การฟื้นตัวโดยรวมของ SME ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ผ่าน BCG และระบบนิเวศที่มีผลกระทบสูง”

 

 

ทั้งนี้ จะมีหัวข้อย่อยตามแนวทางการส่งเสริมศักยภาพ SME ภายใต้ BCG Model รวม 4 หัวข้อ ได้แก่ 

 

1.การเร่งรัดการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Accelerating BCG Adoption) 

 

2.การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลอย่างครอบคลุม (Inclusive Digital Transformation) 

 

3.การจัดหาเงินทุนและการปรับโครงสร้างหนี้ (The Next Normal MSME Financing and Debt Restructuring) และ 

 

4.การรับมือกับตลาดที่กำลังพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไป (Copingwithevolvingmarket landscape: high impact policy)

 

 

นอกจากนี้ จะมีการจัดกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพความพร้อมของจังหวัดภูเก็ต รวมถึงผู้ประกอบการ SME ไทย โดยการจัดนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ SME ไม่น้อยกว่า 20 ราย ตลอดระยะเวลาการจัดงาน และการจัดกิจกรรมคู่ขนาน โดยการนำคณะผู้แทนและผู้เกี่ยวข้องฯ เข้าเยี่ยมชมย่านชุมชนเมืองเก่า (Phuket Old Town) เพื่อให้เห็นวิถีชีวิตและสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีสอันงดงาม ที่เชื่อมภูมิภาคตะวันออกและตะวันตกเข้าไว้ด้วยกัน และกลุ่มชุมชนบ้านบางโรง ชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งมีความโดดเด่นทั้งสถานที่ท่องเที่ยว อาหาร วิถีวัฒนธรรมซึ่งเป็น Soft Power ที่มีผู้ประกอบการ SME เป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญ

 

 

“ภายใต้ความร่วมมือที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต ร่วมถึงส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) การท่าอากาศยานภูเก็ต อุตสาหกรรมจังหวัด ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด เทศบาลนครภูเก็ต ฯลฯ รวมทั้งภาคเอกชนและเครือข่ายภาคประชาสังคม ที่ร่วมกันเป็นเจ้าภาพด้วยการเตรียมการต้อนรับ การเตรียมความพร้อมทั้งด้านการจัดประชุมการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของพื้นที่และประเทศไทย รวมถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไปสู่วงกว้าง จะทำให้การจัดงานในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ ช่วยให้ไทยมีเครือข่ายในการขับเคลื่อนการส่งเสริม SME ได้ตามเป้าหมายที่มุ่งหวังไว้อย่างแน่นอน”นายวีระพงศ์ กล่าว