ดีป้า โชว์แผนดึงกลุ่มไฮ อีโคโนมิค แวลูแอดลงทุน“ไทยแลนด์ ดิจิทัล วัลเล่ย์”

17 ส.ค. 2565 | 10:42 น.

ดีป้า เผย 4 เทคโนโลยีสร้างดิสรัปชันธุรกิจ ระบุไทยขาดแพลตฟอร์มระดับชาติ ด้านบิ๊กดาต้า เอไอ และบล็อกเชน แจงความคืบหน้าไทยแลนด์ดิจิทัลวัลเล่ย์ ก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จ 40% ดำเนินการดึงนักลงทุนก้าวหน้า 80% เล็งจึบกลุ่มไฮ อีโคโนมิค แวลูแอด พัฒนา product-service Design

ผศ. ดร. ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล  หรือดีป้า  กล่าวในงานสัมมนา “EEC : NEW Chapter NEW Economy” จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ช่วงเสวนา “ก้าวต่อไปอีอีซี”ว่าหนึ่งในเอสเคิร์ฟ คือดิจิทัล เทคโนโลยี ดีป้ากำลังจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม  เสนอเข้าคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  หรือ บอร์ดดีอี ว่าประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง  4 ด้าน   เรื่องแรก คือดิจิทัล ออโตเมชัน คือการเปลี่ยนแปลงในเชิงออโตเมชันทั้งหมด มันไม่ได้มาแค่ออโตเมชัน แต่มาทั้งเทคโนโลยีโรบอติกส์   มาพร้อมกับเทคโนโลยีการดำเนินการคือ ไอโอที internet of Things บนโครงสร้างพื้นฐาน 5G

ดีป้า โชว์แผนดึงกลุ่มไฮ อีโคโนมิค แวลูแอดลงทุน“ไทยแลนด์ ดิจิทัล วัลเล่ย์”

2.ดิจิทัลบิ๊กดาต้า   เรากำลังทำบิ๊กดาต้าของประเทศไทย  ดีป้ากำลังเสนอเข้าที่ประชุม ครม. ให้มีสถาบันบิ๊กดาต้าแห่งชาติเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ   ทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูล และใช้ประโยชน์จากข้อมูล

 

3 เรื่องดิจิทัลคอนเน็ค   คือการเปิดประตูภาคการค้า ซัพพลายเชน ให้เข้าสู่โกลบอลซัพพลายเชน  ปัจจุบันเรามีการผลิตในประเทศไทย แต่ด้วยดาต้า ทำให้การผลิตใทยเชื่อมโยงกับแชริ่งอีโคโนมี ช่วยลดต้นทุน เปิดประตูการค้า   วันนี้มีการเพิ่มเติมเข้ามาในเรื่องของเมตาเวิร์ส  แต่เมตาเวิร์ส จะเข้ามาเติมเต็มปลายน้ำของอีคอมเมิร์ซกับโลกบริการในอนาคต

 

สุดท้ายคือ ดิจิทัลแอคเซส คือการเข้าถึงข้อมูล ความปลอดภัย ไซเบอร์ซิเคียวริตี้  และเรื่องของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้ง 4 เรื่องจะเป็นเรื่องสำคัญที่เข้ามาดิสรัปชันกับภาคธุรกิจ

ผศ. ดร. ณัฐพล กล่าวต่อไปว่าดิจิทัล เทคโนโลยี  เป็นซัพพอร์ตอินดัสรี  เป็นสิ่งที่เอามาทำงานกับทุกภาคอุตสาหกรรม   โดยรัฐบาลวางโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลไว้ค่อนข้างดี   ที่เหลือแต่การนำไปประยุกต์ใช้  โดยคอร์เทคโนโลยีสำคัญ คือ บิ๊กดาต้า  เอไอ และบล็อกเชน  ซึ่ง 3 เทคโนโลยีดังกล่าวนั้นไทยยังขาดเรื่องเนชันแนล แพลตฟอร์ม  ไม่ได้มองเป็นเนชันแนล แพลตฟอร์มเหมือนอีคอมเมิร์ซ หรือเป็นแบบโปรดักส์ และเซอร์วิส     แต่มองเป็นเนชันแนลแพลตฟอร์ม หลังจากที่มีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เสาสัญญาณสื่อสาร เคเบิลใต้น้ำ 5G  ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ (physical)   แต่กำลังพูดถึงดาต้าแพลตฟอร์มของประเทศ บล็อกเชนที่กำลังนำไปสู่การบริการในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และทำให้ดาต้าเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่แต่ละตัว   และเอไอ ที่เป็น AI as a service  ไม่ใช่เอไอ ที่เขียนขึ้นมาใช้ในบริษัท

 

โดยในเรื่องของ 5G นั้นไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่มีการใช้ 5G  และสร้างแรงกระเพื่อมให้เกิดแอพพลิเคชันบน 5G  ซึ่งหลายจากที่มีการพูดคุยกับหลายองค์กรในต่างประเทศ  เขามองหาตลาดใหม่โซลูชันที่เกิดจาก 5G   โดย 5G สร้างให้เกิดโอกาสธุรกิจใหม่ๆ ทั้งภาคอุตสาหกรรม บริการทางการแพทย์  และโลจิสติกส์

ส่วนความคืบหน้าไทยแลนด์ ดิจิทัล วัลเล่ย์นั้น ไทยแลนด์ดิจิทัล วัลเล่ย์ เป็นพื้นที่ที่ดี  และเป็นทางเลือกมากกว่าสิงคโปร์  แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นพื้นที่กายภาพที่มีแต่ตึกสวยงามอย่างเดียว  แต่ต้องมีภาวะแวดล้อม ที่เรียกว่าอีโคซิสเต็มส์ รองรับ กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศไปแล้วว่าพยายามที่จะแก้ไขกฎหมายเพื่อให้สตาร์ทอัพเข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทย  Capital Gain Tax  ที่กระทรวงการคลังเสนอเข้าครม.ไป เพื่อดึงนักลงทุนเข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยแล้วผลกำไรที่เกิดขึ้นไม่ต้องเสียภาษีเป็นระยะเวลา 10 ปี 

 

สมาร์ทวีซ่าก็เปลี่ยนให้สามารถอาศัยในไทยได้ในระยะยาวขึ้น เช่นกัน   และ  Personal Income tax Rate หรือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เราก็ใช้สำหรับคนที่ได้วีซ่า สำหรับผู้บริหาร  และ Talent 17%  สิ่งเหล่านั้นเป็นการสร้างภาวะแวดล้อมส่งเสริมการลงทุนควบคู่ไปกับพื้นที่กายภาพการสร้างให้นักลงทุนกับความเชื่อมั่นนอกเหนือจากพื้นที่ทางกายภาพ  ที่เกิดขึ้นแล้ว  โดยบริเวณที่เกิดขึ้นในพื้นที่อีอีซีดี    พื้นที่ในประมาณ 30 ไร่   จากพื้นที่ในอีอีซีดี ทั้งหมด 800 ไร่  โดยวางแผนใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นฟรีเทรดของดิจิทัล  ซี่งการดำเนินก่อสร้างอาคารตอนนี้ดำเนินการไปแล้วประมาณ 40%   

 

อย่างไรก็ตามมีปัญหาเรื่องงบประมาณที่ล่าช้า  โดยโครงการดังกล่าวจะประกอบด้วยอาคาร  5 อาคาร  แต่ได้รับงบก่อสร้างอาคารมาทีละ 1 อาคาร  สร้างอาคาร 1 เสร็จต้องมีคนเข้ามาอยู่เต็ม ถึงสร้างอาคาร 2 ได้  ทำให้การดำเนินการล่าช้าไปนิดหน่อย

 

เป้าหมายยังเหมือนเดิมทั้งการสร้างความแข็งแกร่ง โดยร่วมมือกับพาร์ทเนอร์   การสร้างอีโคซิสเต็ม  และอาคารที่สร้างขี้นรองรับการพัฒนา product Design กับ service Design เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัล  ไม่ได้เป็นอาคารให้คนมาเช่าอยู่ แต่พยายามเชิญชวนคนที่เป็นไฮอีโคโนมิค แวลูแอด  หรือสินค้าและบริการที่ดึงเข้ามาไม่ได้เป็นการผลิต แต่เป็นการออกแบบ

 

ส่วนการสร้างแพลตฟอร์มตอนนี้พัฒนามาแล้วประมาณ 80% ตั้งแต่การดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามา การสร้างอีโคซิสเต็มส์สำหรับสตาร์ทอัพ  การให้การสนับสนุนสิทธิประโยชน์การลงทุน ทั้งบีโอไอ ภาษี กฎหมาย  ส่วนเรื่อง Talent ความสามารถพิเศษ  ที่พยายามให้เมืองไทยเป็นศูนย์กลางสร้าง Talent  โดยการสร้างโปรแกรมบ่มเพาะ  รองรับความเสี่ยงให้ธุรกิจท้องถิ่นเติบโตต่อ และรองรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีได้  ขณะที่ดีป้าจะให้การสนับสนุนทางด้าน product Design กับ service Design  ทั้งด้านแอพพลิเคชัน 5G   คลาวด์ อินโนเวชันเซ็นเตอร์  หรือเอไอ