‘ท่าบกท่านาแล้ง’ สปป.ลาวผงาด ‘แลนด์ลิ้งก์’สินค้าไทย-จีน

13 ส.ค. 2565 | 01:47 น.

อุดรธานีจัดทีมรัฐ-เอกชนข้ามโขงไปสปป.ลาว ประชุมร่วมระดับท้องถิ่น พ่วงดูโครงการท่าบกท่านาแล้ง ศูนย์โลจิสติกส์เวียงจันทน์ จุดเปลี่ยนถ่ายรางรถไฟ 2 ระบบเชื่อมไทย หนุนลาวทะยาน “แลนด์ลิ้งก์” จี้รัฐเร่งลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ให้ทันรับความเปลี่ยนแปลงในภูมิภาค ก่อนเสียโอกาส

นายวีรพงษ์ เต็งรังสรรค์ ประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน 1 เปิดเผยว่า เมื่อปลายเดือนก.ค. 2565 นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นหัวหน้าคณะ นำผู้บริหารภาครัฐ และภาคเอกชนทุกสาขาในพื้นที่ เดินทางไปยังประเทศ สปป.ลาว โดยมีสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ

 

ในช่วงเช้าไปศึกษาดูงาน การดำเนินกิจการในด้านการขนส่งโครงการท่าบกท่านาแล้ง ของบริษัท เวียงจันทน์ โลจิสติกส์ ปาร์ค (VLP) ซึ่งมีการเชื่อมต่อการขนส่งทางราง 2 ระบบ คือ ระบบรางขนาด 1.435 เมตร ของโครงการรถไฟจีน-ลาว โดยต่อรางจากสถานีรถไฟเวียงจันทน์ มายังบริเวณท่าบกท่านาแล้ง ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร เชื่อมกับระบบรางขนาด 1 ม.ที่ต่อกับระบบรางของรถไฟไทยและได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการแล้วส่งผลให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดต้นทุนการขนถ่ายตู้สินค้า ได้อย่างสมบูรณ์มีประสิทธิภาพ

‘ท่าบกท่านาแล้ง’ สปป.ลาวผงาด ‘แลนด์ลิ้งก์’สินค้าไทย-จีน

‘ท่าบกท่านาแล้ง’ สปป.ลาวผงาด ‘แลนด์ลิ้งก์’สินค้าไทย-จีน

จากนั้นช่วงบ่ายที่ห้องประชุมสะหลองไซ โรงแรมเมืองแท็ง ลักชัวรี เวียงจันทน์ เป็นการประชุมประสานความร่วมมือในระดับท้องถิ่นอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิค-19 คลี่คลายลง ภายใต้หัวข้อ “สานสัมพันธไมตรี สปป.ลาว และเชื่อมการพัฒนาเมือง การค้า การลงทุน จากโอกาสต่างๆ” ซึ่งมีตัวแทนภาครัฐ-เอกชนของสองฝ่ายร่วมหารือ

 

นายวีรพงษ์ เต็งรังสรรค์ เปิดเผยว่า นอกจากพบปะหารือภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน สปป.ลาว และดูงานกิจการศูนย์โลจิสติกส์ พาร์ค เวียงจันทน์ ซึ่งมีระบบเชื่อมโยงรางรถไฟ 2 ขนาดเข้าด้วยกัน เกิดความสะดวก รวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพการขนถ่ายสินค้าชายแดน-ข้ามแดนระหว่างกันแล้ว ยังได้เห็นความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งในเวียงจันทน์ และตลอดตามราย ทางของเส้นทางรถไฟจีน-ลาว เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

‘ท่าบกท่านาแล้ง’ สปป.ลาวผงาด ‘แลนด์ลิ้งก์’สินค้าไทย-จีน

‘ท่าบกท่านาแล้ง’ สปป.ลาวผงาด ‘แลนด์ลิ้งก์’สินค้าไทย-จีน

นอกจากนี้ สปป.ลาวยังมีแผนร่วมทุนกับจีนอีกหลายโครงการ อาทิเช่น การก่อสร้างทางด่วน หรือมอเตอร์เวย์ จากเมืองบ่อเตน-เวียงจันทน์ จะต่อลงไปภาคใต้ของลาวจนถึงชาย แดนกัมพูชา ซึ่งจีนเข้าไปลงทุนไว้ในหลายเมืองของกัมพูชา เช่นที่เมืองสีหนุวิลล์ แผนต่อเส้นทางรถไฟ จากเวียงจันทน์-แขวงคำม่วน เลี้ยวซ้ายเข้าเวียดนาม ไปสิ้นสุดที่ท่าเรือนํ้าลึกหวุงอ๋าง ชายทะเลเมืองฮาตินห์อีกด้วย

 

โครงข่ายคมนาคมเหล่านี้เมื่อแล้วเสร็จตามยุทธศาสตร์ จะเปลี่ยนสปป.ลาว จากประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (Land lock) กลายเป็นประเทศที่เป็นข้อ ต่อ เชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งของภูมิภาค (Land link) ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง เนื่องจากสอด คล้องกับนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ของจีน ที่มีความพร้อมทั้งเงินทุนและเทคโนโลยี

‘ท่าบกท่านาแล้ง’ สปป.ลาวผงาด ‘แลนด์ลิ้งก์’สินค้าไทย-จีน

ประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน 1 กล่าวอีกว่า น่าห่วงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทยในปัจจุบัน เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-ขอนแก่น-หนองคาย โครงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ชายแดนมุกดาหาร หนองคาย ที่ยังล่าช้า และขาดการผลักดันอย่างจริงจัง อาจทำให้ไทยเสียโอกาสต่างๆ ไป โดยเฉพาะการลงทุนของภาคอีสานในอนาคต ที่เริ่มมีกระแสย้ายฐานลงทุนสู่แหล่งใหม่ที่ให้สิทธิประโยชน์ดีกว่าในประเทศเพื่อนบ้าน และบางคนก็ไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษเวียงจันทน์กันแล้ว

 

อย่างไรก็ตามไทยยังมีจุดแข็งและจุดเด่นอีกหลายด้าน เช่น โครงข่ายการคมนาคมขนส่งที่ครอบคลุม เชื่อมโยงถึงกันทุกพื้นที่ ทั้งทางบก ทางอากาศ และทางนํ้า ที่เป็นประตูสู่เพื่อนบ้าน มีแรงงานที่มีทักษะ แต่ ต้องเร่งปรับนโยบาย รักษาจุดเด่นจุดแข็งให้ยังเป็นศูนย์กลางด้านต่างๆ เอาไว้ให้ได้ นายวีรพงษ์ กล่าวยํ้า 

‘ท่าบกท่านาแล้ง’ สปป.ลาวผงาด ‘แลนด์ลิ้งก์’สินค้าไทย-จีน ยงยุทธ ขาวโกมล/รายงาน

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ  ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,809 วันที่ 14-17 สิงหาคม พ.ศ.2565