โคคิวเท็น ยิ่งลดความเสื่อมของเซลล์ในร่างกายยิ่งเพิ่ม

22 ต.ค. 2562 | 04:15 น.

เภสัชกรชี้ยิ่งอายุมากขึ้น ปริมาณโคคิวเท็นในร่างกายจะยิ่งลดน้อยลง เป็นสาเหตุหลักของความเสื่อมถอยของเซลล์ในร่างกาย รวมทั้งเป็นสาเหตุหลักของริ้วรอยและความเหี่ยวย่น เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยได้ยินโฆษณาเกี่ยวกับ “โคคิวเท็น” มาบ้าง และเชื่อว่าการรับรู้ของหลายๆ คนถึงประโยชน์ของโคคิวเท็น คงหนีไม่พ้นเรื่องของการช่วยลดความหย่อนคล้อยของผิวหนังในผู้ที่เริ่มสูงวัย   

โคคิวเท็น (CoQ10) เป็นสารอาหารธรรมชาติที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้น เพื่อเป็นตัวร่วมในการสร้างพลังงานภายในไมโตคอนเดรีย หรือพูดง่ายๆ ก็คือ “เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย”โคคิวเท็นจะพบมากในเซลล์หรืออวัยวะที่ใช้พลังงานมาก เช่น หัวใจ ไต ปอด ตับ มี 2 รูปแบบคือ ยูบิควิโนนโคคิวเท็น (Ubiquinone CoQ10) คือ รูปแบบที่ไม่พร้อมใช้งาน (Inactive form) และ ยูบิควินอล โคคิวเท็น (Ubiquinol CoQ10) คือ รูปแบบที่พร้อมใช้งาน (Active form) ซึ่งเป็นรูปแบบหลักของโคคิวเท็นที่ร่างกายต้องการ

โคคิวเท็น ยิ่งลดความเสื่อมของเซลล์ในร่างกายยิ่งเพิ่ม

ทีมเภสัชกรบริษัทไบโอฟาร์ม เคมิคัลส์ จำกัด บอกว่า ยูบิควินอล โคคิวเท็น เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายๆ ด้าน ได้แก่

๏ ประโยชน์ต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ ช่วยเพิ่มพลังงานให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจให้มีความแข็งแรง เพิ่มประสิทธิภาพในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจได้มากขึ้น ป้องกันภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

๏ เพิ่มพลังงานให้กับเซลล์ ช่วยให้เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น หัวใจ ผิวหนัง ไต ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น กระฉับกระเฉงมากขึ้น

๏ ชะลอวัย (Anti-aging) ช่วยปกป้องทุกเซลล์ของร่างกายจากอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะเสื่อมถอยของเซลล์ในร่างกาย

๏ ดีต่อผิวหนัง ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับเซลล์ผิว ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งกระจ่างสดใส

๏ ลดผลข้างเคียงจากยาลดไขมันในเลือดกลุ่ม HMG-CoA reductase inhibitor ช่วยลดอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาลดไขมันในเลือดกลุ่ม HMG-CoA reductase inhibitor โดยอาการข้างเคียงที่พบคือการอักเสบเจ็บปวดของกล้ามเนื้อและอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง

สาเหตุที่ทำให้โคคิวเท็นลดลง คือเป็นไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น นอกจากเรื่องอายุแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อการลดลงของโคคิวเท็นอีกด้วย ได้แก่ ภาวะความเครียด การรับประทานอาหารที่ไม่ครบ 5 หมู่ ความสามารถในการดูดซึมของร่างกายลดลง การรับประทานยาลดระดับไขมันในเลือดกลุ่ม HMG-CoA reductase inhibitor ที่ไม่ได้ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลลดลงเท่านั้น แต่ยังทำให้โคคิวเท็นลดลงอีกด้วย

หากโคคิวเท็นในร่างกายลดลง อาการเริ่มแรกที่จะสังเกตได้ก่อนคือ อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีแรง เป็นโรคที่เกี่ยวกับเหงือก กระบวนการคิดช้าลง รวมถึงอาการเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง เจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ แต่หากขาดโคคิวเท็นในปริมาณที่รุนแรงมาก อาจก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง ประสิทธิภาพในการมองเห็นหรือได้ยินลดลง รวมทั้งอาจเกิดภาวะไตวายได้

โคคิวเท็น ยิ่งลดความเสื่อมของเซลล์ในร่างกายยิ่งเพิ่ม

ผู้ที่ต้องการเพิ่มโคคิวเท็นให้กับร่างกาย ปกติจะได้รับโคคิวเท็นจากการรับประทานอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภท เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ รวมถึงในผลิตภัณฑ์จำพวกถั่ว ธัญพืช และผักต่างๆ แต่เราจำเป็นต้องทานอาหารดังกล่าวในปริมาณที่มากเป็นกิโลกรัม ถึงจะได้โคคิวเท็นเท่ากับ 100 มิลลิกรัม ประกอบกับจะมีข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุก็คือ ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงโคคิวเท็นที่มาจากอาหาร เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ได้นั้นน้อยลงมาก ดังนั้น วิธีที่สะดวกและได้ผลมากที่สุดคือ การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำพวกโคคิวเท็น อย่างน้อยวันละ 30 มิลลิกรัม ก็น่าจะตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มโคคิวเท็นให้กับร่างกายแล้ว

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,515 วันที่ 20 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2562

โคคิวเท็น ยิ่งลดความเสื่อมของเซลล์ในร่างกายยิ่งเพิ่ม