เปิดภาพดาวเทียม “พายุทราย” จ่อปกคลุมครึ่งทวีปยุโรปอีก 5 วันข้างหน้า

21 ก.พ. 2564 | 09:21 น.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ.ของไทย ได้รับแจ้งและเปิดภาพดาวเทียม ว่าจะมี “พายุทราย” ปกคลุมครึ่งทวีปยุโรปอีก 5 วันข้างหน้า

วันที่ 21 ก.พ. 64 เวลา 16.00 น.(ตามเวลาประเทศไทย) ห้อง 62  อินโดแปซิฟิก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้รับแจ้งเฝ้าระวังพิเศษ ทวีปยุโรป จากพายุทราย ในอีก 5 วันข้างหน้า  จากข้อมูลระบุโดยคาดว่าพายุทรายจะปกคลุมพื้นที่กว่า ครึ่งทวีปยุโรป 

เปิดภาพดาวเทียม “พายุทราย” จ่อปกคลุมครึ่งทวีปยุโรปอีก 5 วันข้างหน้า

ทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูลกลับไปยังปภ. ยังไม่มีรายงานมากกว่าข้อมูลที่เปิดเผยออกมา แต่ทั้งนี้ก็จะมีการติดตามสถานการณ์และรายงานให้ทราบต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับ พายุฝุ่น หรือ พายุทราย ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Dust storm หรือ Sandstorm) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติทางด้านบรรยากาศ ที่มักเกิดขึ้นในเขตแห้งแล้ง หรือเขตกึ่งแห้งแล้ง โดยจะเกิดขึ้นเมื่อแนวประทะลมกระโชก หรือกระแสลมแรงรูปแบบอื่นเป่าเม็ดทรายและฝุ่นออกจากพื้นดินแห้ง อนุภาคขนาดเล็กเหล่านั้นจะถูกทำให้เคลื่อนที่โดยการเคลื่อนที่เป็นช่วงและแขวนลอยอยู่ในอากาศ กระบวนการนี้เองที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายหน้าดินจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งได้[1] โดยนิยายคำว่า พายุทราย นั้นมักถูกใช้บ่อยกว่าคำว่า พายุฝุ่น โดยเฉพาะในเขตทะเลทรายสะฮาราหรือเขตทะเลทรายอื่น ซึ่งมักมีทรายเป็นหน้าดินปกคลุมมากกว่าดินหรือหิน

 

สาเหตุ

จากการที่แนวกระแสลมกระโชกได้พัดผ่านผิวดินที่อนุภาคของดินหรือทรายนั้นเกาะกันอยู่หลวมๆนั้นเร็วขึ้น ทำให้อนุภาคดินหรือทรายนั้นเริ่มสั่นสะเทือนและเคลื่อนที่ไปบนพื้นผิวดิน ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า saltation จากนั้น กระบวนการนี้จะเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนทำให้เกิดอนุภาคขนาดเล็กหรือฝุ่น ซึ่งฝุ่นนั้นสามารถแขวนลอยและเคลื่อนที่ไปกับกระแสลมได้ โดยกระแสลมจะพัดอย่างต่อเนื่องจนทำให้เกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มฝุ่นขนาดใหญ่ขึ้นมาและมีการเคลื่อนที่ไปพร้อมกับแนวกระแสลมนั้นพร้อมกับการหอบเอาฝุ่นให้ขึ้นมาด้วย

 

ผลกระทบ

พายุฝุ่นนั้นทำให้เกิดการสูญเสียหน้าดินไปเป็นเป็นจำนวนมากในทางทางผ่านของกลุ่มพายุฝุ่น ซึ่งทำให้ธาตุอาหารบนผิวดินหายไปด้วย ส่งผลทำให้การเกษตรได้ผลผลิตน้อยลง นอกจากนี้ยังทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดลง ส่งผลทำให้เดินทางได้ลำบากมากขึ้น ทั้งในส่วนของการขนส่งทางพื้นดินและทางอากาศ นอกจากนี้ในด้านสุขภาพก็ยังส่งผลทั้งในระยะสั้นและยาว โดยการสูดเอาฝุ่นจากพายุฝุ่นในระยะสั้น ทำให้การทำงานของปอดในผู้ที่เป็นหอบหืดนั้นแย่ลงและทำให้อาการกำเริบขึ้นมาได้ 

นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดความผิดปรกติกับทางเดินหายใจ อย่างเช่น ปอดบวมจากฝุ่น อันเกิดจากการหายใจเอาฝุ่นเข้าไปเป็นปริมาณมากอีกด้วย การหายใจเอาฝุ่นเอาไปในระยะยาวโดยไม่มีการป้องกันที่เหมาะสม ก็เป็นสาเหตุให้เกิดโรคฝุ่นหินจับปอด[3][4] ซึ่งถ้าทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษาก็จะนำไปสู่การขาดออกซิเจน และยังทำให้เกิดมะเร็งปอดอีกด้วย นอกจากระบบทางเดินหายใจแล้ว พายุฝุ่นยังทำให้เกิดภาวะตาแห้งหรือในรายที่รุนแรงก็สามารถทำให้ตาบอดได้ ถ้าไม่มีการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที


ดาวอังคารก่อนและหลังพายุฝุ่นพัดทั้งดาว (กรกฎาคม 2561)

พายุฝุ่นไม่ได้เกิดแค่บนโลกเท่านั้น ดาวอังคารเองก็เป็นหนึ่งในดาวที่มีรายงานการเกิดอีกด้วย โดยพายุฝุ่นบนดาวอังคารจะเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างกว่าบนโลก บางครั้งก็สามารถเกิดทั่วทั้งดาวอีกด้วย โดยลมที่เกิดขึ้นนั้นมีความเร็วค่อนข้างมาก คือ 97 กม./ชม. แต่เนื่องจากการที่ดาวอังคารมีความหนาแน่นของบรรยากาศที่ต่ำ (ประมาณ 1% เมื่อเทียบกับบนโลก) ลมที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้แรงเทียบเท่ากับพายุที่เกิดขึ้นบนโลก โดยพายุฝุ่นบนดาวอังคารนั้นเกิดจากการที่แสงอาทิตย์ ทำให้บรรยากาศของดาวอังคารอุ่นขึ้นจนเกิดการเคลื่อนที่และยกฝุ่นจากพื้นขึ้นไปในอากาศ โดยมีโอกาสขึ้นมากขึ้นบริเวณเส้นศูนย์สูตรในช่วงฤดูร้อน อันเนื่องมาจากความแตกต่างของอุณหภูมิที่มากกว่าบริเวณอื่น

ที่มาข้อมูล วิกิพีเดีย