ดับความหวังยา “เรมเดซิเวียร์”  WHO ชี้ไม่ช่วยลดการตายจากโควิด  

17 ต.ค. 2563 | 00:09 น.

WHO แถลงวานนี้ (16 ต.ค.) ว่า ผลการศึกษาพบ ยาเรมเดซิเวียร์ ( remdesivir) และยาอื่น ๆอีก 3 ชนิด ไม่มีประสิทธิภาพในการลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาล การประกาศดังกล่าวทำให้บริษัทผู้ผลิตออกมาคัดค้านในทันที

 

บริษัท กิเลียด ไซเอินเซส อิงค์ (Gilead Sciences Inc) ซึ่งเป็นบริษัทยาของสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ผลิต ยาเรมเดซิเวียร์ (remdesivir) ออกมาแถลงคัดค้านผลการศึกษาของ องค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ระบุว่า ยาดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพในการลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย โควิด-19

ดับความหวังยา “เรมเดซิเวียร์”  WHO ชี้ไม่ช่วยลดการตายจากโควิด   

ทั้งนี้ กิเลียดฯ แถลงว่า ผลการศึกษาดังกล่าวไม่สอดคล้องกับรายงานอื่น ๆที่ระบุว่า ยาเรมเดซิเวียร์มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 นอกจากนี้ ยาเรมเดซิเวียร์ยังเป็นหนึ่งในตัวยาที่ใช้รักษาอาการป่วยจากโรคโควิด-19 ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ด้วย

 

“รายงานของ WHO ยังไม่ได้ผ่านการหารือทางวิทยาศาสตร์อย่างเพียงพอ” แถลงการณ์ของกิเลียดฯ ระบุ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แคนาดาไฟเขียว "ยาเรมเดซิเวียร์" รักษาผู้ป่วยโควิด

ส่องราคาจำหน่ายยา “เรมเดซิเวียร์” รักษาผู้ป่วยโควิด 5 วัน 70,000 บาท

WHO เผยยา “เรมเดซิเวียร์” ไร้ประสิทธิภาพในการรักษาโควิด

Remdesivir ความหวังพิชิต “โควิด-19”

 

ก่อนหน้านั้นในวันเดียวกัน (16 ต.ค.) WHO ได้แถลงโดยอ้างอิงผลการศึกษา ที่พบ ดับความหวังยา “เรมเดซิเวียร์”  WHO ชี้ไม่ช่วยลดการตายจากโควิด    ว่า ยาเรมเดซิเวียร์(remdesivir) ยาไฮดรอกซีคลอโรควิน (hydroxychloroquine) ยาโลพินาเวียร์ /ริโทนาเวียร์ (lopinavir/ritonavir) และยาอินเตอร์ฟีรอน (interferon) ไม่มีประสิทธิภาพในการลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาล

 

WHOเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในรายงาน Solidarity Therapeutics Trial ซึ่งเป็นการสุ่มทดลองการรักษาโรคโควิด-19 ครั้งใหญ่ที่สุดในโลก การทดลองดังกล่าวมีขึ้นในผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 11,266 รายในโรงพยาบาลจำนวน 405 แห่งใน 30 ประเทศ

 

ผลที่ตามมาจากการแถลงดังกล่าวของ WHO ทำให้เกิดความลังเล และไม่แน่ใจเกี่ยวกับการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ของนานาประเทศ ที่ต้องการวางแผนซื้อยาเพื่อรับมือกับโรคโควิด-19 หนึ่งในนั้นคือ สหภาพยุโรป (อียู)ที่เพิ่งทำสัญญาวงเงิน 1,000 ล้านยูโร (1,170 ล้านดอลลาร์) กับบริษัท กิเลียดฯ เพื่อให้ทางบริษัทจัดส่งยาเรมเดซิเวียร์ให้กับอียูเป็นเวลา 6 เดือน

 

นายยานนิส แนตซิส ซึ่งเป็นกรรมการในสำนักงานเวชภัณฑ์ยุโรป (EMA) กล่าวว่า อียูควรจะทบทวนการทำข้อตกลงซื้อยาดังกล่าว กับทางบริษัท กิเลียดฯ หลังจากที่ WHO ออกรายงานผลการศึกษาที่ว่า ยาเรมเดซิเวียร์ ไม่มีประสิทธิภาพในการลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาล

 

ทั้งนี้ สื่อระบุว่า สัญญาซื้อยาวงเงิน 1,000 ล้านยูโรนี้ ถือเป็นสัญญาวงเงินสูงที่สุดที่อียูเคยลงนามกับบริษัทยา