ทำความรู้จัก “SpaceX”

31 พ.ค. 2563 | 01:02 น.

“SpaceX” ความใฝ่ฝันของ “อิลอน มักส์” หลังประสบความสำเร็จปล่อยจรวด “ฟอลคอน-9”

ภายหลัจาก SpaceX  ประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวด ‘ฟอลคอน-9’ ส่งแคปซูลโดยสารภายใต้ชื่อ”ครูว์ดราก้อน” ได้บรรทุกนักบินอวกาศของ นาซา 2 นาย คือ ดั๊กลาส เฮอร์ลีย์ และ บ็อบ เบห์นเคน ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) แล้ว ในความพยายามครั้งที่ 2 เมื่อวันเสาร์ที่ 30 พ.ค. 2563 หลังกำหนดการเมื่อวันพุธถูกยกเลิกเพราะสภาพอากาศเลวร้าย

แล้ว SpaceX  มีที่มาที่ไปอย่างไร “ฐานเศรษฐกิจ” มีคำตอบ SpaceX (Space Exploration Technologies Corporation – SpaceX) เป็นบริษัทเอกชนทางด้านธุรกิจการขนส่งทางอวกาศ ประเทศสหรัฐอเมริกา สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองฮาวโทรน , รัฐแคลิฟอร์เนียสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยมีเป้าหมายเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการส่งจรวดสำหรับการตั้งอาณานิคมที่ดาวอังคารในอนาคต บริษัทนี้ได้พัฒนาจรวดขนส่ง 2 แบบ คือ ฟัลคอน 1 และ ฟัลคอน 9โดยออกแบบโครงสร้างให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก และพัฒนายานอวกาศดรากอน สำหรับใช้กับจรวดแบบฟัลคอน 9 เพื่อส่งสินค้าสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศ อวกาศนานาชาติ ส่วนยานดรากอนแบบที่สามารถขนส่งมนุษย์ได้อยู่ในระหว่างการพัฒนา

 

SpaceX ก่อตั้งด้วยทุนส่วนตัวของ อีลอน มักส์ (Elon Musk) เขา มีความใฝ่ฝันต้องการสร้างจรวดและโครงการอวกาศที่จะพาคนเดินทางสู่ดาวอังคาร Elon Musk เดินทางไปรัสเซียเพื่อศึกษาการทำงานของเครื่องยนต์จรวดและพยายามจะซื้อขีปนาวุธ Dnepr เพื่อมาใช้ในการส่งยานอวกาศและดาวเทียม แน่นอนว่าเขาถูกปฏิเสธ หนทางต่อไปของ Elon คือการสร้างจรวดขึ้นมาเอง พวกเขาสร้างจรวดขนาดเล็กที่ชื่อว่า Falcon 1 และใช้ฐานปล่อยในเป็นเกาะกลางทะเล หลังจากที่พวกเขาประสบความสำเร็จในการส่งจรวด Falcon 1 พวกเขาก็มีแผนที่จะสร้างจรวดที่ใหญ่กว่านี้ ตั้งชื่อว่า Falcon 9 เที่ยวบินแรกขเกิดขึ้นเมื่อปี 2010 หลังจากเวลาเกือบ 5 ปีในการออกแบบและทดสอบ

ทำความรู้จัก “SpaceX”

ปัจจุบัน SpaceX ได้ทำการส่ง Falcon 9 จรวดที่ทันสมัยที่สุดในโลกให้บริการลูกค้าต่าง ๆ ทั้งรัฐบาลและเอกชนไปแล้วมากกว่า 50 เที่ยว ซึ่งบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ใช้บริการจาก SpaceX โดยดาวเทียมไทยคม 6 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ถูกปล่อยด้วยจรวด Falcon 9 ของ SpaceX เมื่อช่วงต้นปี 2014 อีกด้วย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

สำเร็จแล้ว SpaceX ส่งนักบินอวกาศสู่วงโคจรโลก