พฤติกรรมดิจิทัลเน้นสะดวกกระทบไซเบอร์ซิเคียวริตี้

19 มิ.ย. 2564 | 09:03 น.

ไอบีเอ็ม ซิเคียวริตี้ ประกาศผลสำรวจพฤติกรรมทางดิจิทัลของผู้บริโภค ช่วง การแพร่ระบาดโควิด รวมถึงผลกระทบระยะยาวไซเบอร์ซิเคียวริตี้ พบสังคมคุ้นชินกับการปฏิสัมพันธ์ผ่านช่องดิจิทัล เลือกความสะดวกมากกว่าความปลอดภัย นำสู่การกำหนดพาสเวิร์ดและพฤติกรรมด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ที่หละหลวม

นายชาร์ลส์ เฮ็นเดอร์สัน หุ้นส่วนผู้จัดการระดับโลกและหัวหน้าทีม IBM Security X-Force เปิดเผยว่า ความหละหลวมด้านการรักษาความปลอดภัยของผู้บริโภค ผนวกกับการการเร่งเดินหน้าดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันอย่างรวดเร็วของธุรกิจในช่วงโควิด อาจกลายเป็นการเพิ่มโอกาสในการโจมตีอุตสาหกรรมต่างๆ ให้กับอาชญากรไซเบอร์ ตั้งแต่การโจมตีแบบแรนซัมแวร์ไปจนถึงการขโมยข้อมูล ข้อมูลจาก IBM Security X-Force ระบุว่าพฤติกรรมส่วนบุคคลที่ไม่เหมาะสมในด้านการรักษาความปลอดภัย ยังอาจถูกนำไปใช้ในที่ทำงานและอาจนำไปสู่เหตุด้านซิเคียวริตี้ที่ทำให้บริษัทต่างๆ ต้องสูญเสียเงินจำนวนมาก โดยการตั้งค่าประจำตัวผู้ใช้ที่ไม่เป็นไปตามคำแนะนำด้านความปลอดภัย กลายเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการโจมตีไซเบอร์ในปี 2563

พฤติกรรมดิจิทัลเน้นสะดวกกระทบไซเบอร์ซิเคียวริตี้

การสำรวจผู้บริโภค 22,000 คนใน 22 ประเทศทั่วโลก ที่ดำเนินการโดยมอร์นิงคอนซัลท์ ในนามของ ไอบีเอ็ม ซิเคียวริตี้ ได้ระบุถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดที่มีต่อพฤติกรรมด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคไว้ดังนี้ คือ 1. การบูมของดิจิทัลจะส่งผลระยะยาว มาก กว่าผลลัพธ์ที่การแพร่ระบาดได้ทิ้งเอาไว้ ผู้บริโภคที่สำรวจระบุว่าได้สร้างบัญชีออนไลน์ใหม่เฉลี่ย 15 บัญชีในช่วงการแพร่ระบาด ซึ่งเท่ากับบัญชีใหม่หลายพันล้านบัญชีได้ถูกสร้างขึ้นทั่วโลก โดย 44% ของกลุ่มที่สำรวจไม่มีแผนที่จะลบหรือปิดบัญชีใหม่เหล่านี้ ซึ่งหมายความว่าดิจิทัลฟุตปรินท์ของผู้บริโภคเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นในอีกหลายปีที่จะถึง และกลายเป็นการเพิ่มโอกาสการโจมตีให้กับอาชญากรไซเบอร์

2. การมีบัญชีมากเกินทำให้เหนื่อยหน่ายกับการตั้งพาสเวิร์ด การเพิ่มขึ้นของบัญชีดิจิทัลนำสู่พฤติกรรมการตั้งพาสเวิร์ดที่หละหลวมของผู้บริโภคที่สำรวจ โดย 82% ยอมรับว่าใช้ข้อมูลยืนยันตัวตนซํ้าบ้างในบางครั้ง ซึ่งหมายความว่าบัญชีใหม่ส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดนั้น น่าจะใช้ชื่ออีเมลและพาสเวิร์ดซํ้ากับที่เคยใช้ก่อนหน้า และอาจเป็นอันเดียวกับที่เคยหลุดรั่วไปแล้วในเหตุข้อมูลรั่วไหลที่ผ่านมา

3. คนให้ค่ากับความสะดวกสบายมากกว่าเรื่องความปลอดภัยและไพรเวซี: มากกว่าครึ่งหนึ่ง (51%) ของกลุ่มมิลเลนเนียลชอบสั่งซื้อสินค้าผ่านแอพหรือเว็บไซต์ที่มีแนวโน้มไม่ปลอดภัย มากกว่าการโทรสั่งหรือไปซื้อที่ร้านด้วยตัวเอง การเน้นความสะดวกในการสั่งซื้อผ่านช่องทางดิจิทัลโดยมองข้ามความปลอดภัย ทำให้ปัญหาด้านความปลอดภัยต้องกลายเป็นภาระของบริษัทที่ให้บริการเหล่านี้ เพราะต้องป้องกันตัวเองจากการฉ้อโกงที่อาจเกิดขึ้น

อย่างไรก็ดี การที่ผู้บริโภคเน้นการปฏิสัมพันธ์ผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้น ก็อาจนำสู่การเพิ่มขึ้นของการใช้เทคโนโลยีเกิดใหม่รูปแบบต่างๆ ด้วยเช่นกัน ตั้งแต่การดูแลสุขภาพระยะไกลหรือเทเลเฮลท์ ไปจนถึงดิจิทัลไอดี

“การแพร่ระบาดส่งผลให้มีบัญชีออนไลน์เพิ่มขึ้นสูงมาก และการที่สังคมเลือกความสะดวกสบายทางดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ นี้ อาจส่งผลต่อความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เวลานี้องค์กรต่างๆ จะต้องพิจารณาผลกระทบจากการพึ่งพา
ช่องทางดิจิทัล ที่มีต่อความเสี่ยงด้านซิเคียวริตี้ เมื่อพาสเวิร์ดมีความน่าเชื่อถือน้อยลงเรื่อยๆ วิธีหนึ่งที่องค์กรสามารถนำมาใช้ได้ นอกเหนือจากการยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย คือการเปลี่ยนไปใช้แนวทาง ‘zero trust’ โดยใช้ระบบ AI และการวิเคราะห์ขั้นสูงตลอดกระบวนการ เพื่อระบุภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น แทนที่จะทึกทักเอาว่าสามารถไว้ใจผู้ใช้ได้หากผ่านกระบวนการการยืนยันตัวตนแล้ว”

พฤติกรรมดิจิทัลเน้นสะดวกกระทบไซเบอร์ซิเคียวริตี้

 

การสำรวจชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมหลากหลายของผู้บริโภค ที่ส่งผลกระทบ ต่อแนวโน้มด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ในขณะ ที่ผู้คนใช้ประโยชน์จากการปฏิสัมพันธ์ทางดิจิทัลมากขึ้น แต่ก็มีความคาดหวังสูงในเรื่องความสะดวกในการเข้าถึงและใช้งานด้วยเหมือนกัน

พฤติกรรมดิจิทัลเน้นสะดวกกระทบไซเบอร์ซิเคียวริตี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แนะยกระดับป้องข้อมูลเชิงรุกสกัดทุกภัยคุกคามไซเบอร์

ภัยไซเบอร์พุ่งเป้า ข้อมูลส่วนบุคคล

แนะบรูณาการคลังข้อมูลภัยไซเบอร์รับธุรกรรมการเงินพุ่ง