กระทรวงดิจิทัล บุกอยุธยา สร้างการรับรู้รับมือ "Fake News"

03 ธ.ค. 2563 | 04:34 น.

กระทรวงดิจิทัล สร้างการรับรู้ การรับมือกับ Fake News ครั้งที่ 4 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้องกรุงศรีอยุธยา2 โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดย นายภุชพงค์  โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานในการเปิดกิจกรรมสัมมนา “สร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม"  โดยมีวัตถุประสงค์สร้างการรับรู้การปฏิบัติงานศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti Fake News Center)  ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายหลัก 12 ด้านของรัฐบาล โดย
มุ่งเน้นการจัดการข้อมูลที่เป็นเท็จทาง สื่อออนไลน์ โดยเฉพาะข่าวปลอม  (Fake News)  ที่สร้างความตื่นตระหนก และ ความเสียหายกับประชาชนและสาธารณชนในวงกว้าง  

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แปลงขยะ "ตู้โทรศัพท์สาธารณะ" สู่ "ตู้ชาร์ตพลังแสงอาทิตย์"

 

‘ทีโอที’ จ่ายค่าคลื่น 26 GHz แล้วกว่า 1.9 พันล้านบาท

ทีโอที–มิวสเปซ เร่งดันเทคโนฯ อวกาศ ยิงจรวด Blue Origin ขึ้นฟ้าสำเร็จ

 

ดีอีเอส ตั้งคณะทำงานควบรวมทีโอที-แคท

 

 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม  (Anti Fake News Center: AFNC)  ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 โดยได้ร่วมกับศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (PCT) (ศปอส.ตร.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทุกกลยุทธ์เพื่อให้ประชาชนคนไทยรู้เท่าทันสื่อลวง ทั้งในแง่ของการจัดการกับข่าวปลอม และการปราบปรามดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย โดยเน้นข่าวที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 4 กลุ่มข่าว คือ  (1) กลุ่มภัยพิบัติ (น้ำท่วม แผ่นดินไหว เขื่อนแตก สึนามิ  ไฟไหม้) (2) กลุ่มเศรษฐกิจ การเงินการธนาคาร / หุ้น  (3) กลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมายอื่น และ(4) กลุ่มนโยบายรัฐบาล /ข่าวสารทางราชการ/ความสงบเรียบร้อยของสังคม/ขัดต่อศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศ 

 

 

 การสัมมนาในการสร้างการรับรู้เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอมได้มีการจัดมาแล้ว 3 แห่ง ได้แก่ ภาคเหนือ ณ โรงแรมดิเอ็มเพรสพรีเมี่ยม จ.เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โรงแรมนภาลัย จ.อุดรธานี ภาคใต้ โรงแรมเอราวัณ จ.พังงา และครั้งที่ 4  ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับครั้งที่ 5 จะดำเนินการสัมมนา ณ กรุงเทพมหานคร  การสัมมนาในการสร้างการรับรู้ เพื่อสร้างการรับรู้เพื่อให้รู้เท่าทันและสามารถรับมือ กับข่าวปลอมได้  ด้วย 12 วิธีตรวจสอบ ข่าวปลอม ดังนี้ 1.อ่านข่าวทั้งหมดโดยไม่เชื่อพาดหัวข่าวเพียงอย่างเดียว  2.ตรวจสอบ URL ของเว็บไซต์ที่นำมาเผยแพร่ 3.ตรวจสอบแหล่งที่มาตัวตนของผู้เขียน 4. ดูความผิดปกติของตัวสะกดภาษาที่ใช้หรือการเรียบเรียง 5. พิจารณาภาพประกอบข่าว 6.ตรวจสอบวันที่ของการเผยแพร่ข่าว 7.ตรวจสอบแหล่งข้อมูลที่
ผู้เขียนนำมาใช้ 8.หาข้อมูลเปรียบเทียบกับเว็บไซต์อื่น 9.ตรวจสอบว่าข่าวสารที่ส่งต่อกันมามีวัตถุประสงค์ใด 10.พิจารณาความสมเหตุสมผลของข่าว  11.ตรวจสอบอคติของตนเอง 12.หากมีคำถามหรือข้อสงสัยควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

 

กระทรวงดิจิทัล บุกอยุธยา สร้างการรับรู้รับมือ "Fake News"
 

 ในส่วนของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)  ได้รับความไว้วางใจจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มอบหมายให้ดำเนินการ โดยมีภารกิจหลักคือการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่เป็นเท็จ ซึ่งถูกเผยแพร่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินและความสงบเรียบร้อยของสังคม โดยเฉพาะข่าวที่สร้างความเข้าใจผิดต่อสังคม ตลอดจนข่าวที่ทำลายภาพลักษณ์และความมั่งคงภายในประเทศ พร้อมกับเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ที่ถูกต้องสู่ประชาชนและสาธารณชน เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสารที่ถูกต้องอย่างรวดเร็ว