"อินทัช" และพันธมิตรร่วมทุน "พาโรนีม" สตาร์ทอัพญี่ปุ่นรายแรก รวมมูลค่า 200 ล้านบาท

27 ต.ค. 2563 | 03:21 น.

"อินทัช" ลงทุนรอบ Series B ใน"พาโรนีม" สตาร์ทอัพสัญชาติญี่ปุ่นรายแรกในพอร์ต InVent

ดร.ณรงค์พนธ์ บุญทรงไพศาล หัวหน้าโครงการบริษัทร่วมทุนอินเว้นท์ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อินทัช ลงทุนรอบ Series B ใน Paronym (พาโรนีม) สตาร์ทอัพสัญชาติญี่ปุ่น เนื่องจากทำธุรกิจด้านวิดีโอแพลตฟอร์มที่ต่อยอดด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) เป็นรายแรกในพอร์ตของโครงการธุรกิจร่วมลงทุน InVent (อินเว้นท์) การลงทุนในรอบนี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“อินเว้นท์” ร่วมลงทุนสตาร์ทอัพ “ชมชอบ” เข้าสู่สังคมไร้เงินสด

อินเว้นท์ ร่วมทุน นินจาแวน รับอี-คอมเมิร์ซรุ่ง

อินเว้นท์ ทุ่ม 12 ล้าน หนุนแพทย์ออนไลน์

 อินเว้นท์ ทุ่มทุนกว่า 350ล้านร่วมทุนสตาร์ทอัพ

 

นอกจาก อินเว้นท์ แล้ว ยังมีนักลงทุนชั้นนำจากหลากหลายธุรกิจของประเทศญี่ปุ่น เช่น Japan Post Capital และ NTT Docomo เข้าร่วมลงทุนด้วยรวมมูลค่า 6.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 200 ล้านบาท 

 

ดร. ณรงค์พนธ์ กล่าวว่า พาโรนีม มุ่งเน้นพัฒนาแพลตฟอร์มภายใต้ชื่อ “TIG” ซึ่งเป็นวิดีโอเทคโนโลยีโต้ตอบอัตโนมัติที่นำ AI มาต่อยอดในเรื่องของ Object tracking และ Heat map tool ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของพาโรนีม เพื่อยกระดับการใช้งานวิดีโอที่ผู้ใช้สามารถสัมผัสภาพหรือวัตถุบนวิดีโอที่ตนเองสนใจ เพื่อดูคำอธิบาย เข้าถึงข้อมูลเพิ่มเติม หรือ ซื้อสินค้าได้ทันที ช่วยสร้างประสบการณ์แบบไร้รอยต่อให้กับผู้ใช้งาน และเป็นเทคโนโลยีวิดีโอแห่งโลกอนาคต

 

“พาโรนีม เป็นสตาร์ทอัพสัญชาติญี่ปุ่นรายแรกเข้ามาใน Portfolio ของเรา ทั้งนี้ เรามองเห็นว่า TIG เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพและใช้งานง่าย สามารถเพิ่มจำนวนยอดผู้ซื้อและยอดขายได้ ดังนั้น เรามองว่าเทคโนโลยีนี้จะเป็นประโยชน์ต่อวงการโฆษณาและการตลาดแบบดิจิทัล ซึ่งสามารถช่วยสร้างโอกาสให้กับ SMEs และองค์กรต่างๆ ทั้งในไทยและญี่ปุ่น รวมทั้งเกิดการแลกเปลี่ยนทางด้านเทคโนโลยีและวัฒนธรรมอีกด้วย”

"อินทัช" และพันธมิตรร่วมทุน "พาโรนีม" สตาร์ทอัพญี่ปุ่นรายแรก รวมมูลค่า 200 ล้านบาท

ขณะที่ นายมิชิโอะ โคบายาชิ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของพาโรนีม กล่าวว่า นับเป็นก้าวสำคัญของสตาร์ทอัพญี่ปุ่นที่ได้รับเงินลงทุนจากอินเว้นท์ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อวงการสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระดมทุนในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพาโรนีมเป็นสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพที่จะเติบโตต่อไปได้ในสถานการณ์ New Normal

 

“เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ของพาโรนีม เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ในตลาดวิดีโอและการตลาดแบบดิจิทัล โดยเฉพาะการขยายธุรกิจมายังประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอัตราการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce rate) มากกว่า 40% และมีการคาดการณ์การเติบโตของมูลค่าตลาดจาก 900 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2558 เป็น 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2567 ดังนั้น ด้วยความร่วมมือทั้งทางด้านเงินลงทุนและความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ ทางพาโรนีมจะเร่งขยายตลาดไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะตลาดในประเทศไทย โดยร่วมมือกับอินทัช และเอไอเอสเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ในตลาดวิดีโอ เราต้องการให้พาโรนีม เป็นที่รู้จักในประเทศไทยก่อน และตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาบริการใหม่ๆ เพื่อขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป”

 

เนื่องจากตลาดวิดีโอและอีคอมเมิร์ซมีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงเห็นได้ว่า Digital Transformation เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ผ่านมา TIG ได้พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้งานอันหลากหลาย ได้แก่ สื่อประชาสัมพันธ์ทางจอภาพรูปแบบใหม่ (Digital Signage) การโปรโมทและโฆษณาวิดีโอผ่าน LINE Official Account และการถ่ายทอดสดผ่านระบบ Live Streaming เพื่อตอบรับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปในยุค New Normal โดย TIG ให้บริการในหลากหลายธุรกิจ เช่น การท่องเที่ยว การศึกษา การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย  สนับสนุนการการรับรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้งานด้วยโชลูชั่นดีที่สุดของพาโรนีม นอกจากนี้ พาโรนีมยังมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีวีดีโอใหม่ๆ ให้ตอบสนองกับความต้องการของตลาดทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศในโลกยุคของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล รวมไปจนถึงเพื่อตอบรับการมาถึงของเทคโนโลยี 5G อีกด้วย

 

เกี่ยวกับ พาโรนีม 

Paronym Inc. ตั้งอยู่ที่โตเกียว ประเทศญี่ปึ่น เป็นบริษัทที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีวิดีโอโต้ตอบ ก่อตั้งเมื่อปี 2560 โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อ TIG ซึ่งเป็น เทคโนโลยีวิดีโอ IP เชิง Augmented Imaging โดยผู้ใช้สามารถสัมผัสหรือแตะที่ภาพบนวิดีโอ เพื่อดูข้อมูล กดซื้อสินค้าได้ทันที ลดขั้นตอนการค้นหาข้อมูลของสินค้านั้นๆ  TIG ให้บริการแบบ Business to Business (B2B) โดยการให้ใบอนุญาตซอฟต์แวร์ผ่าน อินเทอร์เน็ต เป็นบริการแบบ Software as a service (SAAS) ที่สามารถใช้งานได้ทั่วโลก โดยผู้ใช้ไม่ต้องทำการลงซอฟต์แวร์ (Install) และดูแลรักษา (Maintenance) ตัวอย่างกลุ่มลูกค้าได้แก่ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ สถานีโทรทัศน์ ร้านค้าปลีกและการท่องเที่ยวของรัฐบาล และให้บริการครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม ตัวอย่าง เช่น e-Commerce ด้านบันเทิง การศึกษา การท่องเที่ยว และด้านสุขภาพ