กระทรวงดิจิทัลฯ ไม่มีอำนาจปิดกั้นสื่อใดแต่เป็นอำนาจของศาลพิจารณา

21 ต.ค. 2563 | 06:49 น.

"พุทธิพงษ์" ยัน กระทรวงดิจิทัลฯ ไม่มีอำนาจปิดกั้นสื่อใด แต่เป็นอำนาจของศาลพิจารณา ย้ำ ไม่ได้เลือกปฏิบัติ หากเปิดช่องทางใหม่ไม่ละเมิดกฎหมายสามารถทำได้

21 ตุลาคม 2563 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) กล่าวถึงกรณีที่ศาลสั่งปิด แพลทฟอร์มทั้งเว็บไซต์ และเพจเฟซบุ๊คของ Voice TV ว่า กระทรวงไม่ได้มีนโยบายปิดกั้นสื่อ หรือดำเนินการเฉพาะใคร หรือมีเจตนาอื่น กรณี Voice TV เกิดจากการที่ทางตำรวจซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบควบคุมสถานการณ์ และการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในขณะนี้ซึ่งต่างจากสถานการณ์ปกติ และมีข้อที่เกี่ยวกับการเผยแพร่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง การยุยง ปลุกปั่น เนื้อหาผิดกฎหมาย หากเข้าข่ายตามกรอบความมั่นคง ทางตำรวจก็จะแจ้งมายังกระทรวงเพื่อให้รวบรวมข้อมูลเพื่อส่งศาลตามกระบวนการยุติธรรม เมื่อศาลมีคำสั่ง ทางกระทรวงก็จะแจ้งกลับไปยังตำรวจ ตำรวจจึงแถลงในรายละเอียดตามที่เห็น 


นายพุทธพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าวยืนยันว่า กระทรวงฯไม่มีนโยบายเจาะจงว่า เป็นสื่อหรือไม่ มีโพสอื่นๆที่ยื่นส่งศาลไปทั้งที่เป็นนักข่าวและไม่ใช่ ซึ่งอะไรที่เข้าข้อกฎหมายและผิดจริงๆ เราไม่ได้อยากดำเนินคดี แต่เมื่อเกิดขึ้น ก็ต้องบังคับใช้กฎหมาย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

"ธนกร" วอนทุกฝ่ายเห็นแก่ประเทศ จี้ ม็อบเลิกจาบจ้วงสถาบัน

เยาวชนปลดแอก ผุดเพจสำรอง หลังศาลสั่งปิดทุกแพลตฟอร์ม

แจงทูตปม "ม็อบคณะราษฎร"ไม่มีคุยเรื่องชาติไหนหนุนเบื้องหลัง

ม็อบประกาศนัดรวมพลทุกสถานีรถไฟฟ้า 14.00 น. 

 

ส่วนกรณีอีก 3 สื่อยังไม่มีคำสั่ง ซึ่งกระทรวงไม่ได้มีอำนาจ เมื่อส่งไปศาล หากศาลมีคำสั่งก็แจ้งต่อ หลายอันเป็นการโพสภาพต่อกันมา เมื่อมีคำสั่งก็ได้ติดต่อไปทุกหน่วยทุกสำนักงาน แจ้งว่าหากมีอะไรที่ลบได้ ไม่ได้มีเจตนา มีความสุ่มเสี่ยง เราก็แจ้งเตือน หากไม่หยุดเราก็ต้องส่งต่อ 

ทั้งนี้ ข้อมูลที่ตรวจสอบทั้งหมด ได้ดำเนินการส่งศาลหมด ในเรื่องการพิจารณาหรือคำสั่งศาล กระทรวงไม่สามารถก้าวก่ายหรือก้าวล่วงได้ มีหลายชิ้นที่เรายังไม่ได้นำเสนอ แต่ก็ดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายทั้งหมด ไม่ได้ดูว่าเป็นใคร แต่ส่งเท่าที่มีข้อมูลหลักฐาน และคำสั่งศาลอาจลงมาไม่พร้อมกัน โดยพยายามรวบรวมและรายงานให้ ภาพรวมตั้งแต่วันที่ 14ต.ค. ที่เข้าข่ายตามกรอบกฎหมายมีประมาณ 400,000 กว่า URLs โพสต์ที่เห็นเป็นหลักฐานทั้งหมด ให้เจ้าหน้าที่คัดกรองตรวจสอบที่เข้าข่ายความผิดและทยอยดู ไม่ได้เลือกปฏิบัติ หรือเจาะจง 

 

ขณะเดียวกันข้อมูลที่ส่งไปแล้วและมีคำสั่งศาลออกมา ทุกอย่างต้องเดินหน้าต่อไปตามกระบวนการยุติธรรม ส่วนอันอื่นๆ พยายามอธิบายขั้นตอนตามที่เราเข้าใจ ด้วยความเป็นสื่อมวลชน แต่ละคนทราบดีว่าอะไรทำได้ ทำไม่ได้  เพราะวงการสื่อมวลชนมักจะรู้กฏหมายอยู่แล้ว แต่หากยังละเมิด เราก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย

 

นายพุทธิพงษ์ ระบุว่า การไลฟ์สดสามารถทำได้ แต่หากไลฟ์สดแล้วมีข้อมูลเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมปรากฏอยู่ในไลฟ์ หากเป็นไปได้ก็ไม่ควรไลฟ์สดตอนนั้น อาจจะเอาลง ปิดเสียง เพื่อไม่ให้เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหรือเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมาย เพราะจะถือว่ามีความผิดด้วย  เมื่อพูดว่าสื่อ หลายๆคนทำตัวเป็นสื่อออนไลน์  ตามที่มีชื่อในคำสั่งจากตำรวจ ว่าเป็นกรณีที่มีความสุ่มเสี่ยง เรามีหน้าที่เก็บรวบรวมหลักฐานและส่งไป ที่เหลือ ขึ้นอยู่กับทางศาลจะพิจารณา

 

ส่วนกรณีที่ Voice TV ต้องดูว่าคำสั่งศาลออกมาว่าอย่างไร หากต้องการเปิดบัญชีใหม่ ช่องทาง เพจใหม่ โดยไม่ได้ละเมิดกฎหมาย ก็ถือว่าสามารถทำได้