กสทช.ถกค่ายมือถือ"ลดค่าโทร"เหลว

16 เม.ย. 2563 | 10:41 น.

รายงานพิเศษ

แม้จะเป็นความตั้งใจของ "ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.อยากจะแบ่งเบาภาระของประชาชนในช่วงวิกฤิตโควิด ด้วยการเพิ่มเน็มมือถือ 10GB ฟรี 30 วัน มีเงื่อนไขอยู่ที่ว่า 1 คนรับ 1 สิทธิ์ (มีเบอร์มือถือหลายค่ายได้แค่ 1 เบอร์) สำหรับ ซิมแบบรายเดือน (postpaid) เฉพาะผู้ใช้งานแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตไม่เกิน 10 GB และ ซิมแบบเติมเงิน (prepaid) จะได้รับสิทธิ์ทั้งหมด ยกเว้นผู้ที่ซื้อแพ็คเกจอินเทอร์เน็ต 10GB 

ความตั้งใจดีครั้งนี้กลับถูกวิพากวิจารณ์อย่างหนักในโลกโซเชียลมีเดีย และ องค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) ถูกตั้งคำถามว่า? ถ้าจะลดควรจะลดค่าบริการให้กับผู้ใช้บริการ และ ที่สำคัญ คือ การนำเงินกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ(กองทุน กทปส.) ไปใช้ไม่ถูกวัตถุประสงค์

ทำให้ "ฐากร" ออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนในระลอกสอง หลังการแจกเน็ตฟรี 10 GB มาสู่การปรับลดราคาค่าโทรทั้งระบบรายเดือนและเติมเงินทุกโปรโมชั่นลง 30%

โดยเมื่อวันพุธที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา สำนักงาน กสทช.เปิดโต๊ะประชุมกับผู้ประกอบการมือถือ 6 ราย ค่าย คือ เอไอเอส,ทรู,ดีแทค,ทีโอที,แคท และ เพนกวิน กับไร้ข้อสรุป เพราะบรรดาผู้ประกอบการค่ายมือถือต้องขอนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เพราะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทก่อน และ ให้มาประชุมอีกรอบในวันนี้ 

อย่างไรก็ตามการประชุมในวันนี้(16 เม.ย.) ยังไม่มีข้อสรุปเหมือนเดิมน โดยนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. กล่าว่า สำนักงาน กสทช.ได้เชิญตัวแทนผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (โอเปอเรเตอร์) ทั้ง 5 รายได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)  หรือ เอไอเอส, บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)  หรือ ดีแทค ,บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มาหารือร่วมกันตั้งแต่เวลา 14.00 น.

โดยการเจรจาครั้งนี้เป็นการหาทางออกร่วมกันเป็นครั้งที่สอง เกี่ยวกับมาตรการเยียวยาเพิ่มเติมให้แก่ประชาชนในช่วงวิกฤติโควิด เพื่อให้ลดอัตราค่าบริการให้กับประชาชนนั้นราว 10-30%
ผลปรากฏว่ายังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ เนื่องจากตัวแทนค่ายมือถือขอนำไปเจรจากับผู้บริหารของบริษัทก่อนจึงยังไม่ขอให้เปิดเผยผลการประชุมเกรงว่าจะมีผลกระทบต่อบริษัท
ในวันพรุ่งนี้ (17 เม.ย.) ทั้งนี้มาตรการที่ได้มีการเสนอและได้ข้อสรุปร่วมกันเป็นมาตรการที่จะมีประโยชน์กับประชาชน

 

ด้านแหล่งข่าวจากบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การประชุมในวันนี้ยังไม่จบ ต้องพิจารณาหลายอย่างประกอบทั้งต้นทุน และ ผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อนำเสนอต่อนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริษัทฯ เพื่อนำในเรื่องนี้

สำหรับจำนวนผู้ที่กดรับสิทธิ์ ณ.เวลา 8.00 น.ของวันที่ 16 เมษายน จำนวน 11,756,617 เลขหมาย และ ได้รับสิทธิ์ 11,224,395 เลขหมาย