แนะ 3 ทักษะต้องมีรับเทรนด์ S-Curve

27 ก.พ. 2563 | 07:58 น.

โกลบิช (Globish) สตาร์ทอัพ EdTech ผู้พัฒนา แนะสร้าง S-Curve พัฒนา ทักษะคนก้าวข้าม Personal Disruption เผย 3 ทักษะที่คนทำงานยุคนี้ต้องมีทักษะการเรียนรู้ ทักษะความรู้ ความเข้าใจ และเทรนด์ทักษะการใช้ชีวิต ชี้ภาษาอังกฤษ เป็นหัวใจสำคัญของการเพิ่มทักษะ พบเยาวชนเอเชีย 48.6% มุ่งพัฒนาทักษะสร้างโอกาสการทำงานทั้งในและต่างประเทศ ในขณะที่ประเทศไทย พบผู้มีทักษะ ภาษาอังกฤษเป็นที่ต้องการของตลาด ส่วนทางสถิติการใช้ภาษาอังกฤษของประเทศไทยหล่น 3 ปีซ้อน ล่าสุดปี 2019 รั้งลำดับที่ 74 ของโลก หวั่นคนไทยประสบปัญหาขาดทักษะ และไม่ตอบโจทย์ ตลาดแรงงาน ยุคใหม่ มุ่งเดินหน้านำแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ภาษา Postmethod Pedagogy แนวทางการสอน แบบใหม่ ที่จะเปลี่ยนให้คนไทยเก่งภาษาอังกฤษได้ง่าย และเร็วขึ้นบนแพลตฟอร์มการเรียน Live English Classroom ตั้งเป้าพัฒนาคนไทยกว่า 100,000 คน ภายใน 5 ปี

แนะ 3 ทักษะต้องมีรับเทรนด์ S-Curve

นางสาวชื่นชีวัน วงษ์เสรี เจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายธุรกิจ และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้พัฒนา แพลตฟอร์มการเรียน Live English Classroom  ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เผยว่า ปัจจุบันหลายธุรกิจ รวมถึงแรงงานไทย กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง บนเศรษฐกิจท่ามกลางการแข่งขัน และการดิสรัปชัน (Disruption) หลายธุรกิจมุ่งพัฒนา ขับเคลื่อน ธุรกิจให้สามารถแข่งขันและก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วชนิดพลิกฝ่ามือ ซึ่งการสร้าง S-Curve เป็นหนทางความสำเร็จของธุรกิจ โดยการทำ S-Curve แบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ S-Curve ในธุรกิจ และ องค์กร ด้วยการลงทุนในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมใหม่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลง รูปแบบของสินค้า บริการ และช่องทางการเติบโตใหม่ ๆ และ S-Curve ในด้านการพัฒนาทักษะความ สามารถของคนเพื่อก้าวข้ามปัญหา Personal disruption ด้วยการพัฒนาทักษะของตนเองให้รองรับ กับความต้องการของธุรกิจยุคใหม่

 

 

 

ทั้งนี้ 3 ทักษะที่จำเป็นในโลกยุคใหม่ ด้วยเทรนด์การพัฒนา และเสริมสร้างทักษะตนเองรวมทั้งบุคลากร ขององค์กรในทศวรรษ 2020 ประกอบด้วย

  1.            ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills ประกอบด้วย 4 ทักษะสำคัญ คือ Critical thinking: ทักษะ การคิดวิเคราะห์, Creativity: ทักษะการคิดนอกกรอบและความคิดสร้างสรรค์, Collaboration: ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และ Communication: ทักษะการสื่อสาร
  1.            ทักษะความรู้ความเข้าใจ Literacy Skills (IMT) ประกอบด้วยทักษะสำคัญ 3 ด้าน คือ Information literacy: ความสามารถในการเข้าใจตัวเลข สถิติ การวิเคราะห์เดต้า, Media literacy: ความสามารถในการเข้าใจวิธี และผลลัพธ์ของการเผยแพร่ของข้อมูลผ่านสื่อ และ Technology literacy: ความสามารถในการเข้าใจเทคโนโลยีเพื่อก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว
  1.            ทักษะการใช้ชีวิต Life Skills (FLIPS) มีทักษะที่จำเป็น 5 ด้านคือ Flexibility: มีพร้อมสำหรับ การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา, Leadership: สามารถกระตุ้นให้ทีมบรรลุเป้าหมายที่กำหนดได้ อย่างมีประสิทธิภาพ, Initiative: สามารถเริ่มโปรเจ็กต์ พร้อมวางกลยุทธ์และแผนการด้วยตนเองได้, Productivity: สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งรบกวน และSocial skills: สามารถสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายระหว่างบุคคลเพื่อประโยชน์ทางการงาน

 

“โดยหัวใจสำคัญของการพัฒนา 3 ทักษะที่จำเป็นในโลกยุคใหม่ที่ต้องมีในทศวรรษ 2020 คือการมีพื้นฐาน ภาษาอังกฤษที่ดี เพราะภาษาอังกฤษเป็น “หัวใจสำคัญ” ในการช่วยส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ให้มีความเชี่ยวชาญ มากขึ้น การขาดทักษะที่ดีด้านภาษาอังกฤษจะส่งผลให้คนทำงานสูญเสียโอกาสในการทำงาน และอาจถูกดิสรัปชันได้เช่นกัน” นางสาวชื่นชีวัน กล่าว

อย่างไรก็ดี จากสถิติของสถาบันภาษา British Council ระบุว่าปัจจุบันมีผู้ใช้ภาษาอังกฤษ รวมถึงผู้ที่ต้องการ เรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษกว่า 2,000 ล้านคนทั่วโลก โดยมี 48.6% ของเยาวชนจากเอเชียที่เลือกพัฒนาทักษะ ภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานทั้งใน และต่างประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการทำงาน ของเยาวชนที่เลือกทำงานในสายงานที่ต้องใช้ทักษะภาษาอังกฤษมากขึ้นในปัจจุบัน สอดคล้องกับข้อมูล จากบริษัทจัดหางานในประเทศไทย โดย บริษัท จ๊อบส์ดีบี (ประเทศไทย) ที่ชี้ชัดว่า ผู้ที่มีทักษะภาษาอังกฤษ นั้นเป็นที่ต้องการค่อนข้างสูงในตลาดแรงงาน จากการสำรวจผู้ประกอบการ 400 กว่าบริษัท พบว่าทักษะที่ นายจ้างต้องการจากนักศึกษาที่จบใหม่ประกอบด้วย ทักษะด้านการสื่อสารฟัง พูด อ่าน เขียน ทักษะภาษา อังกฤษ และทักษะในการทำงานที่ตรงกับสาขาวิชาชีพพบว่าทักษะด้านภาษาเป็นสิ่งที่นายจ้างต้องการมาก ที่สุดติด Top 3 หรือคิดเป็น 62% โดยต้องการผู้มีทักษะด้านภาษาเทียบเท่ากับผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน มาแล้ว

ขณะที่ปัจจุบันการใช้ภาษาอังกฤษของประชากรในประเทศไทยปีล่าสุด 2019 ยังตกอันดับ จากสถิติของ EF ( Education First ) ระบุว่าระดับทักษะทางภาษาอังกฤษของประเทศไทยตกอันดับลงตลอด 3 ปีซ้อน ลงมาอยู่ที่ลำดับที่ 74 จาก 100 ประเทศ ด้วยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 47.62 คะแนน ซึ่งถือว่าน้อยมากในขณะที่ปี 2018 ประเทศไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 64 จาก 88 ประเทศ ด้วยคะแนนเฉลี่ย 48.54 คะแนนนับเป็นคะแนน ต่ำสุดเป็นอันดับ 3 สุดท้ายในประเทศแถบเอียเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นอันดับที่ 17 จาก 25 ของ เอเชีย จากสถิติวิเคราะห์เจาะลึกลงในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย พบว่าในกรุงเทพฯ มีประชากรที่มีความ สามารถด้านภาษาอังกฤษมากที่สุด ตามด้วยจังหวัดนนทบุรี เชียงใหม่ ชลบุรี และขอนแก่น ตามลำดับ รองลงมาเป็นภาคเหนือ และภาคกลาง มีความสามารถทางภาษาอังกฤษที่สูงกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้เพียงเล็กน้อย พร้อมกันนี้ยังพบสถิติที่กล่าวถึงประชากรเพศชายมีความสามารถทางภาษา อังกฤษสูงกว่าเพศหญิงเพียงเล็กน้อย ด้วยคะแนนเฉลี่ย 48.68 คะแนน และ 47.59 คะแนน

ทั้งนี้ จากตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าหากคนไทยไม่พัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น อาจจะส่งผลต่อ การจ้างงานในอนาคต Globish มีเป้าหมายยกระดับพัฒนาศักยภาพด้านภาษาอังกฤษของคนไทยให้สูงขึ้น รองรับสำหรับธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้แข็งแรง และยั่งยืน ได้ในอนาคต จึงได้พัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนการสอน Live English Classroom โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ แบบใหม่ Postmethod Pedagogy การเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่จะเปลี่ยนให้คนไทยเก่งภาษาอังกฤษ ได้ง่าย และเร็วขึ้น หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ โดยมุ่งปลดล็อกข้อจำกัด พร้อมเสริมทักษะ ในการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยได้อย่างตรงจุดด้วยแแนวคิดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ Postmethod Pedagogy โดยเสนอแนวคิดการจัดการเรียนการสอนภาษาที่ไม่ยึดระเบียบแผนเดิม แต่คำนึงถึง 3 ประเด็นหลัก คือ ความเฉพาะเจาะจง (particularity) การนำไปใช้ได้จริง (practicality) และความเป็นไปได้ (possibility) โดย เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านบริบทที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวันให้ภาษาอังกฤษกลายเป็นสิ่งที่อยู่ รอบตัว เพิ่มการเปิดรับทางภาษาด้วยแนวคิดการใช้หลักสูตรที่ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญชาวไทยเพื่อคนไทย โดยเฉพาะ พร้อมมอบอำนาจให้กับผู้สอนและผู้เรียน โดยอาจใช้วิธีการออกแบบใหม่การสร้างบริบทเนื้อหา หรือเลือกบทเรียนจากหลาย ๆ แหล่งที่คิดว่าเหมาะสมกับนักเรียนในบริบทนั้นมากที่สุด โดยคำนึงถึง context-sensitive เช่น Live English Classroom แบบตัวต่อตัวที่เหมาะกับคนที่ไม่มั่นใจ เป็นผู้บริหาร หรือผู้มีชื่อเสียงที่ไม่ต้องการเรียนร่วมกับคนอื่น Live English Classroom แบบกลุ่มที่เหมาะสำหรับ คนที่ต้องการอภิปรายร่วมกับคนไทยคนอื่น ๆ  e-Learning เพื่อเรียนรู้เรื่องไวยากรณ์ เป็นต้น ซึ่ง Globish มี เป้าหมายพัฒนาคนไทยจำนวนกว่า 100,000 ภายใน 5 ปี เจาะกลุ่ม ผู้บริหาร ผู้นำธุรกิจ ผู้จัดการ คนวัยทำงาน เป็นเป้าหมายหลัก

แนะ 3 ทักษะต้องมีรับเทรนด์ S-Curve

ด้านนายธกานต์ อานันโทไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) จำกัด เผยว่า Globish ในปี 2562 ที่ผ่านมามีสถิติการเติบโตขึ้นกว่าปี 2561 เพิ่มขึ้นกว่า 190% โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็นเด็ก 10% กลุ่มคนวัยทำงาน 90% และคาดว่าในปี 2563 นี้ ด้วยทิศทางการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของ Globish จะช่วยผลักดันการเติบโตเพิ่มสูงขึ้น โดยตั้งเป้าการเติบโต 120% ทั้งนี้ ในปีนี้ Globish มีแผนที่จะพัฒนาคอร์สเรียนใหม่ที่เหมาะสมกับความต้องการในการใช้งาน ที่หลากหลายขึ้น โดยมุ่งเน้นพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษในกลุ่มอาชีพที่นอกเหนือจากกลุ่มสายธุรกิจ ไปยังกลุ่มอาชีพเฉพาะทาง เช่น กลุ่มอาชีพทางการแพทย์ หรือกลุ่มอาชีพเฉพาะมากขึ้น

“นอกจากนี้ เทคโนโลยี 5G เป็นปัจจัยสำคัญที่จะเข้ามาช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยให้ก้าวหน้าในระดับสากล ด้วยความเร็วของเครือข่าย 5G สามารถพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่ทันสมัย และเข้าถึงผู้เรียนแบบไร้ขีดจำกัด ดังนั้นเราจึงถือโอกาสตอกย้ำนโยบายมุ่งยกระดับการศึกษาไทย ด้วยการพัฒนาแอปพลิเคชัน Globish ให้สามารถเข้าถึงรูปแบบการเรียนได้ในทุกเทคโนโลยี ทุกเครื่องมือสื่อสาร เพื่อตอบรับพฤติกรรมการใช้งานของผู้เรียนให้ได้มากที่สุด ในปัจจุบันผู้เรียน Live English Classroom นิยมเรียนบนสมาร์ทโฟน (Smartphone) เป็นอันดับแรกกว่า 50 % ตามด้วยเดสก์ทอป (Desktop) 45% และแท็บเล็ต (Tablet) อยู่ที่ 5%” นายธกานต์ กล่าวทิ้งท้าย