66 ปี "ทีโอที" ชื่อนี้กำลังจะกลายเป็นตำนาน

24 ก.พ. 2563 | 06:31 น.

หลังควบรวมกับ แคท เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "NT"

  ก้าวสู่ปีที่ 66  แล้วสำหรับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จะเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงภายหลังจาก คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. มีมติเห็นชอบแผนควบรวมบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ แคท ควบรวมเป็นบริษัทเดียวกันโดยใช้ชื่อว่า บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT 


      โดยหลังจากควบรวมแล้วกระทรวงการคลังจะถือหุ้น 100% ส่วนแผนควบรวมดังกล่าวต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือนหลัง ครม.อนุมัติ (13 มกราคม 2563)

                                            66 ปี "ทีโอที" ชื่อนี้กำลังจะกลายเป็นตำนาน
    ดังนั้นถ้าควบรวมสำเร็จชื่อของ "ทีโอที" และ "แคท" กลายเป็นตำนาน ถ้าจำกันได้ย้อนไปกว่า 40 ปี กว่าจะขอโทรศัพท์บ้านจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ ทศท. สมัยนั้นได้แต่ละครั้งต้องใช้เวลานานนับเดือน หรือ เป็นปีกันเลยทีเดียว
                                                                  66 ปี "ทีโอที" ชื่อนี้กำลังจะกลายเป็นตำนาน

     ส่วนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 470 MHz ในสมัยนนั้นเป็นทั้งเครื่องติดตั้งภายในรถและเป็นลักษณะเครื่องหิ้ว (Portable Set) มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก และที่สำคัญราคาสูงลิ่ว ในยุคนั้นถ้าใครได้ถือเครื่องรุ่นนี้เรียกได้ว่ามีฐานะเพราะราคาเครื่องกว่าแสนบาทเลยทีเดียว

                                                           66 ปี "ทีโอที" ชื่อนี้กำลังจะกลายเป็นตำนาน
    แต่ทว่าหลังจาก ทีโอที และ แคท ปลดล็อกระบบผูกขาดก้าวสู่ระบบสัมปทาน ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากราคาเครื่องปรับตัวลดลงแตะลงมาอยู่ระดับที่หนึ่งหมื่นบาท 
    

    เพราะทั้งสามค่ายมือถือ คือ เอไอเอส ทรูมูฟเอช และ ดีแทค จัดแคมเปญส่งเสริมการขายทั้งลด แลก แจก แถม กันแบบดุเดือด ณ ปัจจุบัน เอไอเอส มีจำนวนผู้ใช้บริการ 42 ล้านราย, ทรูมูฟ เอช จำนวน 30.1 ล้านราย,ดีแทค จำนวน 2 แสนราย และ แคท จำนวน 2 ล้านราย 

 

     ครั้นสิ้นสุดสัมปทานคลื่น 1800 MHz ในปี 2556 และ 900 MHz ในปี 2558 ตามลำดับ ก่อนที่จะมีการจัดประมูลคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ในช่วงปลายปี 2558 ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของ ทีโอที และ แคท เมื่อสัมปทานสิ้นสุดลงรายได้ที่เคยได้รับจากระบบสัมปทานที่เคยรับเป็นกอบเป็นกำ ต้องปรับตัวด้วยการทำตลาดด้วยตัวเอง
 

     และยิ่งเข้าสู่ยุคโซเชียลมีเดียทั้ง แคท และ ทีโอที ยิ่งต้องปรับตัวหนัก เพราะยุคนี้ถือว่าเป็นยุคดิสรัปชั่นหากไม่ปรับตัวคงจะอยู่ยาก เพราะในยุค 5G ไม่ได้แข่งเฉพาะคู่แข่งในประเทศอย่าง เอไอเอส,ทรู และ ดีแทค เท่านั้น แต่ยังต้องแข่งกับผู้ให้บริการ OTT(Over The Top; การให้บริการใดๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตเปิด โดยที่ผู้ให้บริการโดยที่ผู้ให้บริการ OTT ไม่ได้ลงทุนหรือเป็นเจ้าของโครงข่ายอินเทอร์เน็ตเอง เช่น facebook Uber AirBnb เป็นต้น)


    นั้นจึงเป็นที่มาที่ ครม.ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมีมติให้ควบรวม ทีโอที และ แคท ให้เกิดความแข็งแกร่ง และ ลดลงทุนซ้ำซ้อน


    การครบรอบ 66 ปีครั้งนี้ นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ประธานกรรมการ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ทิศทางการดำเนินงานปี 2563 นี้ ทีโอที มุ่งเดินหน้าสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transform) เต็มรูปแบบเพื่อยกระดับขีดความสามารถขององค์กรในทุกมิติ ทั้งกระบวนการทำงาน พัฒนารูปแบบธุรกิจดิจิทัลใหม่ๆ โดยจะพลิกบทบาทเป็น "ผู้ให้บริการดิจิทัลเต็มรูปแบบ" ภายในเวลา 3-5 ปีข้างหน้า 
                                                              66 ปี "ทีโอที" ชื่อนี้กำลังจะกลายเป็นตำนาน

      อย่างไรก็ตาม ทีโอที วางกลยุทธ์การทำธุรกิจตามกลุ่มบริการทั้งบริการโครงสร้างพื้นฐาน บริการบรอดแบนด์ทั้งทางสายและไร้สาย บริการดิจิทัล บริการเครือข่าย 5 G พัฒนาการให้บริการบรอดแบนด์ทางสายด้วยเทคโนโลยี FTTx และไร้สายบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ย่านความถี่ 2300 MHz เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563  ทีโอที สามารถประมูลใช้คลื่น 26 GHz จำนวน 4 ชุด เป็นจำนวนรวม 400 MHz มูลค่า 1,795 ล้านบาท  คาดว่าการลงทุนเครือข่าย 5G นำไปพัฒนาบริการสาธารณประโยชน์ต่อสังคมในพื้นที่ห่างไกล ต่อการแพทย์ สาธารณสุข การศึกษา ความมั่นคง และยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0  อาทิ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) การบริการทางการแพทย์ 

    แต่หลังจากนี้อีกไม่นานชื่อของ "ทีโอที" กำลังจะกลายเป็นตำนาน เพราะแผนควบรวมธุรกิจ แต่เท่าที่เช็คกระแสจากพนักงาน ทีโอที ดูเหมือนว่าจะเห็นด้วยกับการควบรวมกับ แคท ในครั้งนี้!

 

รายงานพิเศษ