3 นวัตกรรมรับมือ ภัยพิบัติไวรัสโคโรนา

19 ก.พ. 2563 | 08:40 น.

 

สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ “COVID-19” ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย หนึ่งในแนวทางการรักษาและป้องกันคือ การนำเทคโนโลยีมาพัฒนา สร้างเป็นนวัตกรรม ล่าสุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้คิดค้นนวัตกรรม 3 รูปแบบ เพื่อรับมือกับไวรัส COVID-19 รวมถึงภัยพิบัติจากสารเคมีหรือกัมมันตรังสีที่อาจเกิดขึ้นด้วย

 

หุ่นยนต์แพทย์อัจฉริยะ

3 นวัตกรรมรับมือ ภัยพิบัติไวรัสโคโรนา

นวัตกรรมแรก ที่ใครเห็นต้องสะดุดตาคือ “หุ่นยนต์แพทย์อัจฉริยะ” หรือ DoctoSight นายจักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เล่าให้ฟังว่า DoctoSigh จะช่วยวินิจฉัยและรักษาผ่านระบบโทรเวช (Telemedecine) ทำให้แพทย์และบุคลากรไม่ต้องเข้าใกล้หรือสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ โดยจุดเด่นของหุ่นยนต์นี้สามารถทำงานร่วมกันได้มากกว่าหนึ่งตัวเพื่อตอบสนองคำสั่ง ในการตรวจสอบข้อมูลการทำงานในเชิงดิจิทัลในรูปแบบของการทำงานหุ่นยนต์ เช่น เวลาการบังคับของผู้ใช้งาน การระบุตำแหน่งหุ่นยนต์ที่มากกว่า 1 ตัวในระบบควบคุม ทั้งนี้ หุ่นยนต์ทั้งหมดในระบบนั้นจะมีหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเพื่อทำการอัพเดตสถานะ

3 นวัตกรรมรับมือ ภัยพิบัติไวรัสโคโรนา

โดยระบบควบคุมประกอบด้วย 1. ระบบควบคุมหุ่นยนต์แบบสั่งการพิกัดตำแหน่งเป้าหมายสำหรับหุ่นยนต์มากกว่า 1 ตัวในระบบปฏิบัติการและระบบนำทางอัตโนมัติของหุ่นยนต์แพทย์อัจฉริยะภายในสภาพแวดล้อมที่กำหนด 2. ระบบควบคุมหุ่นยนต์ทางไกลแบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับหุ่นยนต์มากกว่า 1 ตัวในระบบปฏิบัติการ 3. ระบบติดตามการทำงานของหุ่นยนต์มากกว่า 1 ภายในระบบปฏิบัติการ 4. ระบบผสานงานข้อมูลพื้นฐานของหุ่นยนต์มากกว่า 1 ตัวในระบบปฏิบัติการ เช่น การอัพเดตสิ่งกีดขวางหรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยน แปลงไป

 

ถุงเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

3 นวัตกรรมรับมือ ภัยพิบัติไวรัสโคโรนา

หากเกิดการติดเชื้อแล้ว กรณีการขนย้ายผู้ป่วยก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะอาจเกิดอันตรายและสามารถแพร่เชื้อได้ ดังนั้น นวัตกรรมถุงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในการป้องกันเชื้อโรคและสารเคมี จึงเป็นอีกทางเลือก ด้วยคุณสมบัติในการป้องกันไม่ให้อากาศด้านในไหลสู่ด้านนอกเพื่อเป็นการป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมีหรือสิ่งปนเปื้อนในถุงไปสู่ภายนอกถุง ถุงมีขนาดมาตรฐาน 60 x 200 x 70 ซม. มีที่จับสามารถขนย้ายผู้ป่วยได้สะดวก ปลอดภัยและติดตั้งระบบกรองและถ่ายเทอากาศ รวมถึงปรับความดัน

3 นวัตกรรมรับมือ ภัยพิบัติไวรัสโคโรนา

 

“ถุงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบ คือ 1. ถุงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อ หรือ Negative Pressure Bag : NPB (ถุงสีใส) ป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อสู่ผู้อื่น โดยเก็บอากาศภายในเพื่อป้องกันอากาศออก 2. ถุงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ไม่มีเชื้อ หรือ Positive Pressure Bag : PPB (ถุงสีเขียว) สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ไม่มีเชื้อในพื้นที่ ปรับความดันภายในถุงให้เป็นบวก ดังนั้นอากาศภาย นอกจะไม่สามารถเข้าด้านในได้”

 

AI คัดกรองข่าวปลอม

ปัญหาหนึ่งที่พบเมื่อเกิดการระบาดของไวรัสคือ ข่าวปลอม (FAKE NEWS) นายสุเมธ ยืนยง อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการ บอกว่า ข่าวสารมีบทบาทสำคัญยิ่งในการกู้วิกฤติ โดยเฉพาะโซเชียลเน็ตเวิร์ก ส่งผลให้ประชาชนเกิดการตื่นกลัวและหวาดวิตก การคิดค้นนวัตกรรมระบบ AI คัดกรองข่าวปลอม เป็นการใช้ปัญญาประดิษฐ์ตรวจจับข่าวปลอม

3 นวัตกรรมรับมือ ภัยพิบัติไวรัสโคโรนา

ระบบการทำงานจะเริ่มต้นด้วย การดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น Facebook ทางการของหน่วยงาน โดยจะดึงข้อมูลส่วนเนื้อความ วันที่ เวลา จากนั้นทำการประมวลผลข้อความที่ดึงมาได้ในแต่ละวันเวลาเพื่อสกัด Name Entity ออกมา รวมทั้งหาคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การระบาดของโรค เช่น จำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เฝ้าระวัง พื้นที่พบผู้ต้องสงสัย เป็นต้น หลังจากนั้นทำการทดสอบโพสต์ในสื่อออนไลน์ โดยสกัด Name Entity จากข้อความ และทำการค้นหาโดยใช้คำเหล่านั้นเป็นฐานข้อมูล ในส่วนที่เป็นวันที่วันเดียวกันกับวันที่ของบทความ หากไม่พบข้อความที่สอดคล้องกันเลย บทความดังกล่าวจะเป็นข่าวปลอมทันที

นวัตกรรมต่างๆ เหล่านี้ ถือเป็นหนึ่งในผลงานที่คิดค้นขึ้นแบ่งเบา และช่วยให้สังคมเดินหน้าได้ต่อไป 

หน้า 25 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,549 วันที่ 16 - 19 กุมภาพันธ์ 2563

3 นวัตกรรมรับมือ ภัยพิบัติไวรัสโคโรนา