แคทรุกธุรกิจดิจิทัลโซลูชัน ลั่น! ปีหน้าสร้างรายได้มากกว่า 3.9 หมื่นล.

02 ธ.ค. 2562 | 03:00 น.

พร้อมเผยทิศทางมุ่งเน้นโครงสร้างระบบพื้นฐานเป็นหลัก ทั้งระบบดาต้าเซ็นเตอร์ คลาวด์ เพื่อให้ด้านแพลตฟอร์มแบบครบวงจร ขณะที่ประมูล 5G รอไฟเขียวจากคณะกรรมการบริหาร

พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เปิดเผยว่า สำหรับกลยุทธ์ธุรกิจในปี 2563 จะมุ่งเน้นไปที่เรื่องของดิจิทัล โซลูชัน อาทิ ดาต้าเซ็นเตอร์, คลาวด์เซอร์วิส, ความปลอดภัยด้านไอที (IT Security) และการให้บริการด้านดิจิทัล เนื่องจากปัจจุบันแคทให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก แต่ปัจจุบันจะเริ่มหันมาให้บริการด้านแพลตฟอร์ม อาทิ แพลตฟอร์มด้านสาธารณสุข, ด้านการท่องเที่ยว, การเกษตร บริการภาครัฐ เพื่อเปลี่ยนจากการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานไปสู่อุตสาหกรรมแนวดิ่ง (Vertical Industry) โดยตั้งเป้าในอีกประมาณ 3 ปีเรื่องของรายได้ของการให้บริการด้านดิจิทัล (Digital Service) จะสามารถเติบโตได้ถึงหลัก 100 ล้าน

แคทรุกธุรกิจดิจิทัลโซลูชัน  ลั่น! ปีหน้าสร้างรายได้มากกว่า 3.9 หมื่นล.

ทั้งนี้คาดการณ์ว่าสิ้นปี 2562 รายได้ของแคทจะอยู่ที่ 87,000 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิ 37,000 ล้านบาท ซึ่งมียอดประมาณการหนี้สินทางบัญชี เป็นค่าชดใช้ตามคำพิพากษา และตามสัญญา FTTX อยู่ที่ราว 5,000 ล้านบาท จาก 12 คดี ขณะที่เรื่องของการให้บริการสถานีฐานในปีนี้จะค่อยๆ ลดจำนวนลงเพราะเป็นเสาสำหรับคลื่นความถี่ 2G, 3G นอกจากนี้ยังมีโครงการที่เพิ่มเติมเข้ามาคือ ระบบ คลาวด์กลางภาครัฐ หรือ GDCC ซึ่งเป็นโครงการระยะยาว ใช้งบลงทุนราว 900 ล้านบาท คาดการณ์รายได้อยู่ที่เดือนละกว่า 100 ล้านบาท หรือ 1,200  ล้านบาทต่อปี โดยคาดการณ์รายได้ ในปี 2563 อยู่ที่ราว 39,600 ล้านบาท รายจ่าย 39,200 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิ 400 ล้านบาท

แคทรุกธุรกิจดิจิทัลโซลูชัน  ลั่น! ปีหน้าสร้างรายได้มากกว่า 3.9 หมื่นล.

นอกจากนี้ ..สรรพชัย ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า แคท เตรียมเสนอคณะกรรมการบริหารเพื่อเข้าร่วมประมูล 5G โดยแคทจะมีการเสนอต่อที่ประชุมบอร์ดเพื่อขอความเห็นชอบและแนว ทางในการประมูลคลื่นความถี่ จากนั้นจึงจะเสนอต่อกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวควบคู่ไปกับการว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมทั้งในเรื่องของย่านความถี่และราคาที่เหมาะสมต่อการประมูล ซึ่งหากมีราคาที่สูงเกินไปก็จะไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้ ทั้งนี้การพัฒนาเทคโนโลยี 5G ในพื้นที่ที่ต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจะขยายกว้างขึ้น ครอบ คลุมทั้งภาคพื้นดิน ทางนํ้าและอากาศ ซึ่งระบบสื่อสารภาคพื้นดินในปัจจุบันไม่สามารถรองรับได้อย่างทั่วถึง จำเป็นที่ประเทศจะต้องนำการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่มีศักยภาพรองรับการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ได้เข้ามาเสริม เพื่อให้เทคโนโลยี 5G เข้าถึงได้ในทุกพื้นที่อย่างทั่วถึง

 

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,527 วันที่ 1-4 ธันวาคม 2562

แคทรุกธุรกิจดิจิทัลโซลูชัน  ลั่น! ปีหน้าสร้างรายได้มากกว่า 3.9 หมื่นล.