ผู้ช่วยนักบินอวกาศ AI "ตัวแรกของโลก" เดินทางสู่สถานีอวกาศนานาชาติแล้ว!

12 ก.ค. 2561 | 11:06 น.
ไอบีเอ็ม เผย 'ไซมอน' ผู้ช่วยนักบินอวกาศระบบปัญญาประดิษฐ์ตัวแรกของโลก เดินทางสู่สถานีอวกาศนานาชาติแล้ว

นายกิตติพงษ์ อัศวพิชยนต์ รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจไอบีเอ็ม คลาวด์ และโซลูชันส์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยถึงความสำเร็จของแอร์บัส (Airbus) ในการพัฒนา 'ไซมอน' (Crew Interactive Mobile Companion หรือ CIMON) ในนามของศูนย์อวกาศยานเยอรมัน (German Aerospace Center : DLR) สำหรับไซมอนนั้น เป็นหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้เทคโนโลยีไอบีเอ็ม วัตสัน ที่ได้ติดตามนักบินอวกาศ อเล็กซานเดอร์ เกิร์สต ไปสู่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) เมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจสำคัญ 3 ประการ คือ การร่วมกันทำการทดลองกับคริสตัล การแก้ไขปัญหาลูกบาศก์ของรูบิก โดยอาศัยวิดีโอต่าง ๆ และการทดลองทางการแพทย์ที่ซับซ้อน โดยใช้ไซมอนทำหน้าที่กล้องบินได้แบบ 'อัจฉริยะ'

 

[caption id="attachment_297418" align="aligncenter" width="503"] CIMON against the backdrop of the International Space Station CIMON against the backdrop of the International Space Station[/caption]

ไซมอนเป็นระบบอัจฉริยะแบบอินเตอร์แอคทีฟที่พกพาได้ ที่จะเป็นผู้ช่วยนักบินอวกาศเกิร์สตในภารกิจครั้งที่ 2 สู่สถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้บังคับการสถานีอวกาศในช่วงที่ 2 ของการปฏิบัติการระยะเวลา 6 เดือน โดยไซมอนได้รับการพัฒนาโดยแอร์บัสในนามของศูนย์อวกาศยานเยอรมนี และจะได้รับการทดสอบบนสถานีอวกาศนานาชาติ ภายใต้ภารกิจ 'ฮอไรซันส์' ขององค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency)

หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ไซมอน มีลักษณะเป็นอุปกรณ์กลม ๆ ขนาดเล็ก มีน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม ใบหน้าและเสียงดิจิทัล รวมถึงการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ของไซมอน ทำให้ไซมอนเป็นเหมือน "เพื่อนร่วมงาน" ของบรรดาลูกเรือบนอวกาศ โดยกลุ่มนักพัฒนาที่รับผิดชอบการพัฒนาไซมอน คาดการณ์ว่า ไซมอนจะช่วยลดความเครียดของบรรดานักบินอวกาศ ขณะเดียวกัน ก็ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน และทำหน้าที่เป็นระบบเตือนล่วงหน้าในกรณีที่เกิดปัญหาทางเทคนิค ซึ่งถือเป็นการเข้ามาช่วยปรับปรุงเรื่องความปลอดภัย


'ไซมอน' เรียนรู้อย่างไร?
ปัจจุบัน ไซมอนได้รับการฝึกอบรมให้สามารถระบุสภาพแวดล้อมของตนและสามารถระบุคู่สนทนาที่เป็นมนุษย์ที่กำลังมีปฏิสัมพันธ์กับตนได้ โดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยให้ไซมอนสามารถประมวลผลข้อความ คำพูด และรูปภาพ รวมถึงช่วยดึงข้อมูลและข้อค้นพบต่าง ๆ ได้อีกด้วย ทักษะเหล่านี้ (ซึ่งสามารถฝึกฝนทีละส่วนและเพิ่มความลึกซึ้งในบริบทของงานที่ได้รับมอบหมายเข้าไปได้) ได้รับการพัฒนาขึ้นบนหลักการของการทำความเข้าใจ การให้เหตุผลและการเรียนรู้

เทคโนโลยีด้านการมองเห็นภาพและการโต้ตอบด้วยคำพูดของวัตสัน ช่วยให้ไซมอนสามารถจดจำอเล็กซานเดอร์ เกิร์สต์ ได้ ผ่านการฝึกจากตัวอย่างเสียงและรูปภาพของเกิร์สต์ รวมทั้งรูปภาพของบุคคลที่ "ไม่ใช่เกิร์สต์" นอกจากนี้ ไซมอนยังอาศัยความสามารถในการจำแนกแยกแยะภาพ (Visual Recognition) ของวัตสัน เพื่อเรียนรู้ผังโครงสร้างของโมดูลโคลัมบัสบนสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งทำให้ไซมอนสามารถเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ได้อย่างไร้ปัญหา

ไซมอนยังได้เรียนรู้ขั้นตอนการดำเนินการทั้งหมด เพื่อให้สามารถช่วยทำการทดลองต่าง ๆ บนยานอวกาศได้อีกด้วย โดยบางครั้งการทดลองอาจประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ มากกว่า 100 ขั้นตอน ที่แตกต่างกัน ซึ่งไซมอนรู้จักขั้นตอนเหล่านั้นทั้งหมด


ปัญญาประดิษฐ์บนระบบคลาวด์-ข้อมูลที่ได้รับการปกป้อง
บริการไอบีเอ็ม วัตสัน บนไอบีเอ็ม คลาวด์ ช่วยให้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนและมีกรรมสิทธิ์ของสถานีอวกาศนานาชาติได้รับการปกป้องไว้ ไม่ว่าข้อมูลจะถูกสร้างขึ้นบนเซิร์ฟเวอร์ ดาต้าเบส หรือที่ใดก็ตาม โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องอัพโหลดข้อมูลไปไว้ที่ระบบคลาวด์ภายนอก เพื่อใช้ความสามารถด้าน AI อย่างเต็มประสิทธิภาพแต่อย่างใด

โมเดลข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของไอบีเอ็ม ช่วยให้องค์กรสามารถฝึกโมเดล AI ด้วยเทคโนโลยีของวัตสัน โดยไม่จำเป็นต้องผสานรวมข้อมูลที่ละเอียดอ่อน หรือ มีกรรมสิทธิ์เข้ากับโมเดลแบบสาธารณะแต่อย่างใด และจะไม่มีองค์กรใด (หรือแม้แต่ไอบีเอ็ม) ที่สามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้พัฒนาแอพพลิเคชัน AI อื่น ๆ เพิ่มเติมได้ ช่วยให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่า จะสามารถเก็บรักษาข้อมูลที่สำคัญมากของตนไว้เป็นส่วนตัวและภายใต้กรรมสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงข้อมูลของบริษัทจะถูกนำไปใช้สร้างความได้เปรียบให้แก่ตัวบริษัทเองเท่านั้น ซึ่งถือเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้แอร์บัสเลือกไอบีเอ็มเป็นพันธมิตรในการพัฒนาไซมอนในระยะกลาง โครงการไซมอนจะมุ่งที่ผลของกลุ่มทางจิตวิทยา ซึ่งสามารถเกิดขึ้นกับทีมเล็ก ๆ ระหว่างภารกิจระยะยาวบนอวกาศ โดยผู้สร้างสรรค์ไซมอนมีความมั่นใจว่า การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์ หรือ ในกรณีนี้ คือ ระหว่างนักบินอวกาศกับผู้ช่วยอัจฉริยะบนอวกาศที่ได้รับการติดตั้งภาวะความฉลาดทางอารมณ์ จะส่งผลสำคัญต่อความสำเร็จของภารกิจ และจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับงานในโรงพยาบาล หรือ การสนับสนุนบริการด้านพยาบาลต่อไป


……………….
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
“ประยุทธ์” ชี้พร้อมหนุนสตาร์ทอัพ ด้านอวกาศ
แจกทุนค้นพบนักบินอวกาศไทย สจล.ร่วม ‘สเปซ แคมป์’ มะกัน


e-book-1-503x62