สจล.พลิกโฉมสู่มหา’ลัยดิจิทัล

23 ก.ย. 2560 | 10:53 น.
สจล. ผนึก “หัวเว่ย-จีเอเบิล” นำร่องติดตั้งโครงข่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 100 กิกะบิต พร้อมเครือข่าย Wi-Fi 3,000 จุดทั่วสถาบัน ตั้งเป้าภายใน 5 ปีเป็นมหาวิทยาลัย ดิจิทัล หวังพลิกโฉมการศึกษาไทยสู่ Education 4.0

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาด กระบัง หรือ สจล. เปิดเผยว่า ขณะ นี้ สจล. ได้ร่วมกับ บริษัท หัวเว่ย ประเทศไทย จำกัด และ กลุ่มบริษัทจีเอเบิลฯ ได้ร่วมกันพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนที่นักศึกษาสามารถบูรณา การความรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม บนพื้นฐานโครงสร้างเทคโนโลยีเครือข่ายที่ครบวงจรที่สุด เร็วที่สุด และ ทันสมัยที่สุด ตั้งเป้าสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยดิจิทัล (Digital University)” ที่เป็นศูนย์กลางการผลิตบุคลากรคุณภาพแห่งอนาคตอย่างเต็มตัวภายใน 5 ปี

อย่างไรก็ตามความร่วมมือระหว่าง สจล. หัวเว่ย และจีเอเบิลถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่จะพลิกโฉมวงการการศึกษาไทย โดยสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากความร่วมมือในครั้งนี้ ไม่เพียงมีการนำร่องติดตั้งโครงข่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ตความเร็ว ระดับ 100 กิกะบิต พร้อมเครือข่าย Wi-Fi 3,000 จุดทั่วสถาบัน ซึ่งจะช่วยยกประสิทธิภาพการเรียนการสอนในรั้ว สจล. สู่ความเป็นดิจิตอล มากขึ้น ในทางปฏิบัติยังช่วยอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อสู่โลกออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว อันสอดคล้องกับเป้าหมายและภารกิจของมหาวิทยาลัยในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการ สอนยุค Education 4.0 ที่ความรู้ไม่ได้จำกัดแค่เพียงในห้องเรียนเท่านั้น

ในอนาคตจะมีการเปิด สอนออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเรียนทางไกลจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่มีความร่วมมือกับ สจล. ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะเดียวกันตามแผนความร่วมมือยังจะมีการพัฒนา Software-Defined Network (SDN) และการพัฒนา ดาต้า คอนเทนเนอร์ (Data Container) แบบครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย รวมทั้งจัดตั้งห้องปฏิบัติการและสถาบันฝึกอบรมในขั้นต่อไปเพื่อผลิตบุคลากรคุณภาพที่มีทักษะและความสามารถด้านดิจิตอลป้อนตลาดแรงงาน

MP20-3298-B ด้านนายสุเทพ อุ่นเมตตาจิต กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทจีเอเบิลฯ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า กลุ่ม บริษัทจีเอเบิลฯในฐานะ Agent of Digital Transformation ที่เป็นพันธมิตรกับทางสจล. มามากกว่า 20 ปี โดยทีมผู้เชี่ยวชาญของจีเอเบิลได้พิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ในการมองหาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์กับสจล. อันได้แก่ แนว โน้มของเทรนด์เทคโนโลยี หรือ ดิจิตอลเทคโนโลยีใหม่ๆ ความคุ้มค่าในการลงทุน

โดยเลือกใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับสจล. พร้อมร่วมกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงาน เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม มีความคล่องตัวและใช้เวลาในการติดตั้งเทคโนโลยีที่มีความกระชับ ซึ่งเทคโนโลยีของหัวเว่ยสามารถตอบ โจทย์ได้ครบ จึงเป็นที่มาความร่วมมือของ 3 ขุมพลังผู้พัฒนาเทคโนโลยีระบบเครือข่ายชั้นนำของโลกและของไทยในครั้งนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรายึดมั่นจุดมุ่งหมายร่วมกันในเรื่อง Digital Transformation มองเห็นความสำคัญแบบเดียวกัน คือการปฏิรูปวงการการศึกษาไทยไปสู่ยุคดิจิตอล

ขณะที่นายจาง หลิน (เอิร์นเนส) ประธานบริหาร กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ หัวเว่ย ตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า สำหรับระบบที่นำมาติดตั้ง คือ ระบบโครงข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถส่งถ่ายข้อมูลที่ความเร็ว 100 กิกะบิตต่อวินาที ทำให้นักศึกษากว่า 1 หมื่นคนในมหาวิทยาลัย สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายและแบบต่อสายเพื่อการเรียนการสอนแบบสตรีมมิ่งออนไลน์ได้ในเวลาเดียวกันแบบไม่สะดุด
ส่วน SDN (Software-Defined Network) for Campus and Data Center Convergence แห่งแรกในประเทศไทย คือระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงทุกเครือข่ายในมหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งเดียวและรวมความเป็น Data Center เข้ากับ Campus Network เพื่อผู้ดูแลเครือข่ายสามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น และเอื้อต่อการขยายตัวของโครงข่ายในอนาคต

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,298 วันที่ 21 - 23 กันยายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1