เคาะราคาเน็ตชายขอบ กสทช.เก็บแค่200บาท

16 ก.ย. 2560 | 12:37 น.
ส่วนค่าบริการเน็ตชายขอบเก็บไม่เกิน 200 บาทเตรียมเซ็นสัญญากับเอกชนดีเดย์ 20 ก.ย.นี้ ด้าน ดีอี อยู่ระหว่างเปิดโต๊ะเจรจาเพื่อให้เกิดสมดุลทั้ง 2 ฝ่าย

[caption id="attachment_207500" align="aligncenter" width="503"] ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.[/caption]

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กสทช.ได้ทำหนังสือลับชี้แจงต่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. กรณีที่มีการท้วงติงค่าบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ชายขอบตํ่าเกินไปที่ราคา 200 บาทต่อเดือนนั้น ทาง กสทช.ได้ชี้แจงสูตรการคำนวณการคิดค่าบริการที่ กสทช.กำหนดให้เอกชนเก็บค่าบริการได้ไม่เกิน 200 บาท/เดือน บนพื้นฐานที่รัฐลงทุน 70% และเอกชนลงทุน 30% ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขทีโออาร์ตามประกาศไว้ก่อนหน้าที่จะมีการประมูล
การดำเนินงานโครงการเน็ตชายขอบ ขณะนี้ล่าช้ากว่าแผนเดิมที่กำหนดไว้กว่า 10 วัน คาดว่าจะลงนามสัญญาอย่างช้าที่สุดไม่เกินวันที่ 20 กันยายนและปลายเดือนธันวาคมจะสามารถเปิดให้บริการ 15% ก่อนที่จะครบหมดในปี 2561 โดยมี 700,000 ครัวเรือนในพื้นที่เน็ตชายขอบ

[caption id="attachment_151499" align="aligncenter" width="503"] ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี[/caption]

ขณะที่ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี กล่าวว่า สำหรับอัตราค่าบริการเน็ตประชารัฐที่กระทรวงและ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้กำหนดราคาไว้ที่ 399-599 บาทและได้มีการเจรจาในหลายราคา แต่หลักการคือ การตั้งราคาเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงและสามารถใช้งานได้จริง แต่ไม่ใช่ของฟรี ซึ่งยังต้องคำนึงถึงการสร้างสมดุลของทั้ง 2 อย่างระหว่างให้ชาวบ้านเข้าถึงและธุรกิจที่ไม่ขาดทุน นั่นคือโจทย์ที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน โดยมีข้อได้เปรียบอยู่ที่การวางสายจากศูนย์กลางของโครงข่ายหลักไปจนถึงหมู่บ้าน ที่เป็นเงินลงทุนจากทางภาครัฐ ที่ทีโอทีสามารถนำไปหักลดต้นทุนได้ ซึ่งทางเราจะพยายามบีบราคาให้อยู่ในระดับที่ชาวบ้านสามารถชำระไหว เมื่อเปรียบเทียบกับราคาอินเตอร์เน็ตที่ใช้กันในเมืองแล้วต้องถูกกว่า

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1 ตอนนี้โจทย์ของ กสทช. และทีโอทีทำอยู่นั้นเป็นคนละโจทย์ ซึ่งอยู่ในระหว่างการหารือ ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากได้ตัวเลขเดียว ซึ่งคนละกรณีกับเน็ตชายขอบหรือ USO net เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ก็จะได้ในราคาที่ถูกกว่า โครงการเน็ตประชารัฐนั้น ทีโอทีจะได้รับงบประมาณจากรัฐในการติดตั้ง รวมถึงต้นทุนค่าอุปกรณ์หรือค่าแรงงานต่างๆ แต่ทาง กสทช. ใช้วิธีเหมาแล้วให้เอกชนเข้ามาประมูล จึงต้องมาดูรายละเอียดของทาง กสทช. อีกครั้งว่ารายละเอียดอะไรมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันตรงไหนบ้าง ซึ่งต้องมีการประสานงานกันเพื่อหารือกันอีกสักระยะ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,296 วันที่ 14 - 16 กันยายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1