โซลาร์ฟาร์มกับฟาร์มเห็ด

16 ก.ย. 2560 | 11:21 น.
MP27-3296-3 ซัสเทนเนอร์จี (Sustainergy) บริษัทสตาร์ตอัพด้านพลังงานหมุนเวียนในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น กำลังผุดโครงการโซลาร์ฟาร์มนำร่องที่ผสมผสานประโยชน์ทางด้านพลังงานเข้ากับประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม โดยหลายโครงการที่ผ่านมา เรามักจะพบว่า โซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่มักจะผุดขึ้นในพื้นที่โล่งกว้างไร้ต้นไม้หรือไม่มีการทำเกษตรกรรมในบริเวณดังกล่าว เนื่องจากไม่ต้องการให้มีสิ่งใดมาบดบังแสงอาทิตย์ แต่ในโครงการของบริษัท ซัสเทนเนอร์จี ซึ่งร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจคือบริษัท ฮิตาชิ แคปปิตอลฯ และไดวะ เฮาส์ อินดัสทรี ผู้ประกอบการกลุ่มนี้ค้นพบทางออกที่ลงตัว นั่นคือการทำเกษตรกรรมในพื้นที่โซลาร์ฟาร์มโดยไม่มีสิ่งใดมาบดบังแสงอาทิตย์ ขณะเดียวกัน สิ่งที่เพาะปลูกยังได้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คือความร่ม มีแสงเพียงรำไร และไออุ่นใต้แผงโซลาร์เซลล์นั่นเอง

MP27-3296-2 ผลิตผลการเกษตรภายใต้แผงโซลาร์เซลล์ที่ว่านี้ก็คือเห็ดหูหนู สถานที่ตั้งอยู่ในจังหวัดมิยากิ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่น เงินลงทุนเบื้องต้นนั้นอยู่ที่ประมาณ 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราวๆ 1,200 ล้านเยน ในส่วนของโซลาร์ฟาร์มทางบริษัทมีพื้นที่จัดทำ 2 แห่งตั้งอยู่ใกล้ๆ กัน โดยแต่ละแห่งมีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า 2,000 กิโลวัตต์ หากโครงการผสมผสานโซลาร์ฟาร์มและฟาร์มเห็ดไปด้วยกันได้ดี นี่ก็จะเป็นโครงการสาธิตที่เกษตรกรหรือผู้ประกอบการด้านพลังงานรายอื่นๆ สามารถใช้เป็นต้นแบบในการปฏิบัติตามหรือนำไปต่อยอด

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1 ผู้บริหารของซัสเทนเนอร์จีเปิดเผยว่า โครงการนี้ไม่เพียงทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตัวเองได้ในด้านพลังงาน แต่ยังมีรายได้เสริมทั้งจากการขายกระแสไฟฟ้าและจากผลผลิตการเกษตรคือเห็ดหูหนู นับเป็นการเพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตัวเองด้านอาหารของญี่ปุ่นอีกด้วย เนื่องจากปัจจุบัน เห็ดหูหนูส่วนใหญ่ที่บริโภคกันอยู่ในตลาดประเทศญี่ปุ่น เป็นเห็ดหูหนูที่ต้องนำเข้ามาจากประเทศจีน เป็นที่คาดหมายว่า โครงการของซัสเทนเนอร์จี จะให้ผลผลิตเห็ดหูหนูปีละ 40 ตัน ส่วนกระแสไฟฟ้าก็น่าจะขายได้คิดเป็นเงิน 140 ล้านเยน หรือ 1.27 ล้านดอลลาร์ฯต่อปี

MP27-3296-1 กระทรวงสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่นมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้ประกอบการพลิกฟื้นพื้นที่การเกษตรที่รกร้างว่างเปล่า ให้กลายมาเป็นพื้นที่สร้างผลผลิตโดยผนวกโซลาร์ฟาร์มเข้าไปในโครงการด้วย ปัจจุบัน มีพื้นที่การเกษตรที่ถูกทิ้งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ราว 10% ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด (ส่วนใหญ่เนื่องจากคนหนุ่มสาวเข้าหางานทำในเมือง ทำให้ขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตร) หากนำพื้นที่เหล่านี้มาทำเป็นโซลาร์ฟาร์ม ก็คาดว่าจะให้กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าถึง 70,000 เมกะวัตต์ เพียงพอป้อนความต้องการใช้ไฟฟ้าของ 20 ล้านครัวเรือนเลยทีเดียว

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,296 วันที่ 14 - 16 กันยายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1