มธ. ผุดแอพตรวจอัลไซเมอร์ด้วยเสียงพูด รับสังคมผู้สูงอายุ

11 ก.ค. 2560 | 08:38 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) คิดค้นแอพพลิเคชัน “การตรวจคัดกรองโรคอัลไซเมอร์และการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยอย่างอัตโนมัติด้วยเสียงพูด” โดยสามารถใช้งานได้ผ่านสมาร์ทโฟน ทราบผลภายในครึ่งชั่วโมง และมีความแม่นยำร้อยละ 99 พร้อมช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและโรงพยาบาลได้มาก

 

[caption id="attachment_177613" align="aligncenter" width="503"] รศ.ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต รศ.ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต[/caption]

รศ.ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่าปัจจุบันสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ โดยจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการสำรวจผู้สูงอายุมาแล้ว 5 ครั้ง ผลการสำรวจที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นรวดเร็วอย่างเห็นได้ชัด สัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 ซึ่งหมายความว่าประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ภาพประกอบข่าวแอปฯคัดกรองโรคอัลไซเมอร์

โดยพบว่าผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 50-70 กำลังเผชิญกับโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s) สาเหตุของภาวะสมองเสื่อม บางรายไม่รู้ตัว ส่วนบางรายรู้ตัวช้าและต้องพบว่ารักษาไม่ได้แล้วอันเกิดจากการตายของเซลล์สมองเร็วกว่าวัยอันควร ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงและเป็นภาระต่อผู้ใกล้ชิดมากขึ้น ประกอบกับการคัดกรองโรคใช้เวลานานและค่าใช้จ่ายสูงตลอดจนการขาดแคลนของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลห่างไกล  ตัวอย่างแบบทดสอบในแอปฯคัดกรองโรคอัลไซเมอร์ด้วยเสียงพูด

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้คิดค้นแอพพลิเคชัน “การตรวจคัดกรองโรคอัลไซเมอร์และการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยอย่างอัตโนมัติด้วยเสียงพูด” สำหรับผู้ที่เข้ารับการคัดกรองโรคทำการตอบคำถาม 21 ข้อ ใช้เวลาประมาณ 20 นาที  เมื่อตอบคำถามครบ เสียงพูดของผู้เข้ารับการคัดกรองจะถูกนำไปวิเคราะห์  ภาพตัวอย่างการใช้แอปฯคัดกรองโรคอัลไซเมอร์

จากนั้นปัญญาประดิษฐ์จะประมวลผลออกมา 3 ระดับ คือผู้มีภาวะปกติ, ผู้มีภาวะความจำบกพร่องเล็กน้อยและผู้ป่วยอัลไซเมอร์  ซึ่งถือว่าสามารถประหยัดเวลาได้มากจากเดิมใช้เวลา 2-3 ชั่วโมงและมีความถูกต้องเพียงร้อยละ 70-90 ซึ่งแอพพลิเคชันนี้สามารถใช้งานได้ผ่านสมาร์ทโฟนและมีความแม่นยำถึงร้อยละ 99