รถไฟฟ้าแรงลมในแดนกังหัน

28 ม.ค. 2560 | 15:00 น.
1 มกราคม 2560 เป็นฤกษ์งามยามดีที่บริษัทการรถไฟแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ แดนกังหัน ได้ประกาศความก้าวหน้าด้านพลังงานหมุนเวียนที่ไม่เป็นสองรองประเทศไหนๆ นั่นคือการปรับเปลี่ยนให้รถไฟโดยสาร (passenger train) ทุกคันที่เป็นรถไฟไฟฟ้าใช้ไฟจากพลังงานลมในอัตรา 100% นั่นหมายถึงการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการคมนาคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ปล่อยพ่นควันพิษจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงอีกต่อไป

นับจากปลายปี 2558 เป็นต้นมา รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้ประกาศแผนจะใช้พลัง

[caption id="attachment_126762" align="aligncenter" width="503"] รถไฟฟ้าแรงลมในแดนกังหัน รถไฟฟ้าแรงลมในแดนกังหัน[/caption]

งานลมเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับรถไฟไฟฟ้าทุกขบวนภายในปี 2561 แต่พอลงมือปฏิบัติจริงๆ ปรากฏว่าสามารถทำได้เร็วกว่าแผนการที่วางไว้ โดยในปี 2559 ที่ผ่านมาก็สามารถขับเคลื่อนรถไฟด้วยไฟฟ้าพลังงานลมถึง 75% ของทั้งหมดแล้ว พอย่างเข้าต้นปี 2560 จึงสามารถบรรลุเป้าหมาย 100% ทำให้บริษัทการรถไฟแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือที่รู้จักกันในชื่อย่อ NS (NederlandseSpoorwegen) ผู้ให้บริการรถไฟรายใหญ่ที่สุดของประเทศ กลายเป็นต้นแบบในวงการขนส่งมวลชนระบบรางที่ใช้พลังงานหมุนเวียนในการเดินรถอย่างเต็มรูปแบบ บริษัทยังมีแผนจะนำระบบรถไฟความเร็วสูงที่ใช้ไฟฟ้าพลังงานลมไปเสนอในงานประมูลในต่างประเทศ รวมทั้งในสหรัฐอเมริกาด้วย

รถไฟฟ้าของ NS ให้บริการขนส่งผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 6 แสนคน และใช้ไฟฟ้าในการเดินรถเฉลี่ยปีละประมาณ 1,200 ล้านกิโลวัตต์ ซึ่งเทียบเท่าความต้องการใช้ไฟฟ้ารวมทุกครัวเรือนในกรุงอัมสเตอร์ดัม ความก้าวหน้าในเรื่องดังกล่าวทำให้เนเธอร์แลนด์สามารถลดการปล่อยไอพิษจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงในระบบคมนาคมลงได้มาก

ทั้งนี้ กระแสไฟฟ้าที่บริษัท NS นำมาใช้ในการเดินรถไฟนั้น มาจากฟาร์มกังหันลมในประเทศเนเธอร์แลนด์เอง และจากต่างประเทศ คือ เบลเยียมและฟินแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,230 วันที่ 26 - 28 มกราคม 2560