ไทยคมซื้อดาวเทียมดวงใหม่จีน รองรับขยายฐานธุรกิจ-บริการคลุมเอเชีย

28 ต.ค. 2559 | 08:00 น.
ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมสื่อสารเปิดประเด็นสดใหม่ให้ติดตามอีกเรื่อง เมื่อบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ได้ชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทอินเตอร์- เนชั่นแนลแซทเทลไลท์จากัด (ISC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้น100 % ได้ลงนามในสัญญา Satellite Procurement Contract กับบริษัท China Great Wall Industry Corporation (CGWIC) เพื่อทำข้อตกลงในการจัดซื้อดาวเทียมตามที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท

[caption id="attachment_108978" align="aligncenter" width="700"] คู่สัญญาที่เกี่ยวข้อง คู่สัญญาที่เกี่ยวข้อง[/caption]

 ไทยคมซื้อดาวเทียมดวงใหม่

นางสาวยุพาพรรณ ปานเคลือบทอง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สำนักประธานกรรมการบริหาร และ เลขานุการ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ ไทยคม ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า บริษัทอินเตอร์- เนชั่นแนลแซทเทลไลท์จากัด (ISC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้น 100 % ได้ลงนามในสัญญา Satellite Procurement Contract กับบริษัท China Great Wall Industry Corporation (CGWIC) เป็นผู้ ผลิตดาวเทียมในประเทศจีน โดยเป็นกิจการที่รัฐบาลจีนเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว และได้รับอนุญาตจากรัฐบาลจีนเพื่อเป็นผู้ผลิตดาวเทียมให้บริการจัดส่งดาวเทียม และดำเเนินความร่วมมือในด้านกิจการอวกาศนานาชาติ เพื่อทำข้อตกลงในการจัดซื้อดาวเทียมตามที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท

นอกจากนี้บริษัทมีการได้มาซึ่งทรัพย์สินอื่นในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา คือ การเข้าซื้ออุปกรณ์โทรคมนาคมเพื่อการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ของบริษัท ทีซี บรอดคาสติ้ง จำกัด มูลค่ารวมประมาณ 12.35 ล้านบาท และ มีขนาดรายการเท่ากับ 0.04% โดยเมื่อนับรวมรายการนี้กับรายการเข้าทำข้อตกลงในการจัดซื้อดาวเทียมข้างต้น จะมีขนาดรายการรวมเท่ากับ 21.43%

ดังนั้น รายการดังกล่าวข้างต้นเข้าข่ายเป็นรายการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทที่2 กล่าวคือ เป็นรายการที่มีมูลค่าเท่ากับ 15% หรือสูงกว่า แต่ต่ากว่า50% ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 20/2551 เรื่องหลักเกณฑ์ในการท ารายการที่มีนัยส าคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน และประกาศของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์พ.ศ. 2547 ดังนั้น บริษัทจึงมีหน้าที่ต้องจัดทารายงาน และ เปิดเผยรายการต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลาดหลักทรัพย์ฯ) และจัดส่งหนังสือแจ้งผู้ถือหุ้นภายใน 21วันนับแต่วันที่เปิดเผยรายการต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ

 แจงเหตุผลเพื่อขยายฐานธุรกิจ

สำหรับเหตุผลที่ ไทยคม ได้ลงทุนในดาวเทียมดวงใหม่ ซึ่งเลือกใช้บริษัทฯประกอบและนำส่งของจีนในครั้งนี้เป็นการลงทุนเพื่อขยายฐานการบริการและธุรกิจดาวเทียมของบริษัทฯ ในลักษณะการใช้บริษัทฯ ลูกดำเนินการ นอกเหนือจากที่ บริษัทฯดำเนินกิจการดาวเทียมในระบบสัมปทานของไทย

อย่างไรก็ตามดาวเทียมดวงดังกล่าวเป็นการลงทุนเพื่อให้บริการกับพันธมิตรต่างประเทศ รวมถึงมีการระบุว่าใช้สิทธิ์วงโคจรของพันธมิตรต่างประเทศด้วย ส่วนการใช้ย่านความถี่ Ka-band ก็เป็นย่านความถี่ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะดาวเทียมที่ผลิตและใช้งานในจีน ซึ่งเป็นความถี่ที่สูงกว่า Ku-band จานดาวเทียมมีขนาดเล็กกว่า แต่หากใช้ในเขตมรสุมเช่นบ้านเราอาจมีปัญหาการลดทอนคลื่นเวลาฝนตก ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยใช้หน้าจานที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าที่ใช้ในแถบประเทศที่ไม่ค่อยมีฝนฟ้าคะนอง

 คลุมพื้นที่หลายประเทศเอเชีย

ขณะที่ ดาวเทียม ดวงดังกล่าวที่ได้ทำการจัดซื้อในครั้งนี้ เป็นดาวเทียมที่มี Ka-Band Capacity รวมประมาณ 37 กิกะเฮิร์ซ หรือเทียบเท่า กับ 53 กิกะบิตโดยประมาณ มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปีและมีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมหลายประเทศในเอเชียได้แก่ประเทศจีน ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิ ลิปปินส์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา และไทย

 ต่อยอดรายได้

อย่างไรก็ตาม นางสาวยุพาพรรณ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การซื้อดาวเทียมครั้งนี้เพื่อเสริมสร้างรายได้ของบริษัทจากการให้บริการเช่า Ka-Band Capacityของดาวเทียมที่จัดซื้อโดย ISC ได้บรรลุข้อตกลงกับลูกค้ารายหนึ่งในการเช่าใช้ Capacity (การรองรับการใช้งาน) ทั้งหมดบนดาวเทียมดวงนี้ ตลอดอายุดาวเทียม และตกลงจะชำระค่าเช่าใช้ทั้งหมดเป็นการล่วงหน้า

ขณะที่แหล่งเงินทุน ISC ได้ตกลงให้ลูกค้ารายหนึ่งเช่าใช้ เครือข่ายทั้งหมดของดาวเทียมดวงดังกล่าว ตลอดอายุการใช้งานดาวเทียม โดยได้รับเงินค่าบริการทั้งหมดเป็นการล่วงหน้า ซึ่งจะเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับการชำระค่าก่อสร้างดาวเทียม

 นักวิชาการชี้ขยายการลงทุน

ด้านนายสืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิจัยโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ แสดงความคิดเห็นกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ในเรื่องนี้ว่า การที่ ไทยคม ลงทุนในดาวเทียมดวงใหม่ ซึ่งเลือกใช้บริษํทฯประกอบและนำส่งของจีนนั้น มองว่าเป็นการลงทุนเพื่อขยายฐานการบริการและธุรกิจดาวเทียมของบริษัทฯในลักษณะการใช้บริษัทฯ ลูกดำเนินการ นอกเหนือจากที่บริษัทฯ ดำเนินกิจการดาวเทียมในระบบสัมปทานของไทย ทั้งนี้ ไทยคม ระบุว่า ดาวเทียมดวงดังกล่าวเป็นการลงทุนเพื่อให้บริการกับพันธมิตรต่างประเทศ รวมถึงมีการระบุว่าใช้สิทธิ์วงโคจรของพันธมิตรต่างประเทศด้วย ส่วนการใช้ย่านความถี่ Ka-band ก็เป็นย่านความถี่ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะดาวเทียมที่ผลิตและใช้งานในจีน ซึ่งเป็นความถี่ที่สูงกว่า Ku-band จานดาวเทียมมีขนาดเล็กกว่า แต่หากใช้ในเขตมรสุมเช่นบ้านเราอาจมีปัญหาการลดทอนคลื่นเวลาฝนตก ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยใช้หน้าจานที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าที่ใช้ในแถบประเทศที่ไม่ค่อยมีฝนฟ้าคะนอง

 บริหารความเสี่ยง

นอกจากนี้แล้วต่อข้อถามที่ว่า การซื้อดาวเทียมครั้งนี้เป็นเพราะข้อพิพาทกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ไม่ นายสืบศักดิ์ กล่าวว่า คงมีประเด็นนี้บางส่วน เนื่องจาก ไทยคม ประกอบธุรกิจดาวเทียม ที่ผ่านมาในช่วงสัญญาสัมปทานที่มีระยะเวลาคุ้มครองและไม่มีข้อพิพาทการดำเนินธุรกิจอาจไม่มีความเสี่ยงมากนัก แต่เมื่อสัญญาสัมปทานใกล้สิ้นสุด รวมถึงการมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องความชัดเจนในการดำเนินกิจการ ในทางธุรกิจย่อมมองเป็นความเสี่ยงในการดำเนินกิจการ (risk) ซึ่งการบริหารความเสี่ยงอาจออกมาในรูปการหาช่องทางทางธุรกิจใหม่ๆ หรือการกระจายการลงทุนไปยังธุรกิจแบบเดียวกันที่ตนถนัด ซึ่งการลงทุนดังกล่าวไทยคมคงมองเป็นผลตอบแทนไว้แล้วในระยะยาวนอกเหนือจากรายได้ที่เกิดจากการทำธุรกิจบนสัมปทานดาวเทียมไทยคม

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,204 วันที่ 27 - 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559