ยึดศาสตร์พระราชา “อ่างพวง” เพื่อความยั่งยืนน้ำตะวันออก

15 ต.ค. 2563 | 09:13 น.

กรมชลประทานได้ยกโครงข่ายน้ำภาคตะวันออก ใน 8 จังหวัด เป็นชุดตัวอย่างของ “อ่างพวงตามแนวศาสตร์พระราชา” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระราชทานแนวทางไว้ เพื่อความมั่นคงของทรัพยากรน้ำ เพราะอ่างพวงจะมีระบบ แบ่งสรร เติมเต็ม ระหว่างกัน มิใช่อ่างโดดเดี่ยวไร้ที่พึ่ง แม้ว่าปัจจุบันยังไม่เต็มรูปแบบที่วางไว้เพื่อรองรับปริมาณความต้องการใช้น้ำในอนาคต แต่ขณะนี้ก็สามารถที่จะบริหารจัดการโครงการให้มีการแบ่งน้ำ ส่งน้ำ เพื่อช่วยเหลือกันข้ามลุ่มเพื่อประโยชน์ของทุกภาคส่วนในพื้นที่ได้จนพ้นวิกฤติมาหลายครั้ง

ยึดศาสตร์พระราชา “อ่างพวง” เพื่อความยั่งยืนน้ำตะวันออก

นายสุชาติ เจริญศรี รองอธิบดีกรมชลประทาน  ในฐานะได้รับการแต่งตั้งจากคณะอนุกรรมการบริหารจัดการน้ำในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่มี พลเรือเอก พิเชฐ ตานะเศรษฐ คณะทำงานรองนายกรัฐมนตรี พลเอก ประวิตรวงษ์สุวรรณ เป็นประธานอนุกรรมการ แต่งตั้งให้รับหน้าที่ในการวางแผนการพัฒนาและบริหารการจัดสรรน้ำให้เพียงพอต่อทุกภาคส่วนเพื่อรองรับฤดูแล้งปี 2563/64 เปิดเผยว่า ในฤดูแล้งปี2562/63 ที่ผ่านมาถือว่าเป็นปีที่วิกฤติมากเทียบกับปี 2548 แต่สามารถที่จะผ่านวิกฤติขาดแคลนน้ำมาได้ ก็เพราะกรมชลประทานบริหารจัดการโครงข่ายน้ำภาคตะวันออก ที่ได้มีการจัดการบริหารไว้ในรูปแบบอ่างพวงตามแนวทางศาสตร์พระราชาในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงให้แนวพระราชดำริไว้  

ทั้งนี้ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกและพื้นที่พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีความต้องการใช้น้ำในฤดูแล้ง ( 1 พ.ย.62- 30 เม.ย. 63) ประมาณ 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อปี แบ่งเป็นภาคเกษตร 1,500 ล้านลบ.ม. ภาคอุตสาหกรรมประมาณ 500 ล้านลบ.ม. (อีอีซี 3 จังหวัดคือฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยองใช้ประมาณ 400 -500 ล้านลบ.ม.) 

ยึดศาสตร์พระราชา “อ่างพวง” เพื่อความยั่งยืนน้ำตะวันออก

อย่างไรก็ตามคาดกว่าในปี 2578 ข้างหน้าความต้องการใช้น้ำที่อีอีซีเพิ่มเป็นประมาณ 1,000 ล้านลบ.ม. หมายถึงต้องหาแหล่งน้ำเพิ่มประมาณ 500-600 ล้านลบ.ม. เพื่อตอบโจทย์การขยายตัวของภาคเศรษฐกิจ ทำให้คณะรัฐมนตรีได้มีการวางโครงการเพิ่มปริมาณน้ำและเส้นโครงการข่ายน้ำไว้เพิ่มขึ้นนับแต่ปี 2560 เป็นต้นมา

เหตุที่กรมชลประทานได้ยกให้ระบบบริหารอ่างเก็บน้ำภาคตะวันออกเป็นตัวอย่าง ของระบบอ่างพวงที่น่าจะสมบูรณ์ที่สุด ก็เพราะในการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ปัญหาแล้งในหลายปีที่ผ่านมา เหตุจากอ่างเก็บน้ำบางพระที่ใช้ในพื้นที่อีอีซี และในจังหวัดชลบุรีที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวมีนักท่องเที่ยวนับสิบล้านคน มีน้ำกักเก็บน้อย กรมชลประทานได้ใช้อ่างเก็บน้ำประแสร์ จังหวัดระยองเป็นฮับหรือศูนย์บริหารน้ำอ่างน้ำ โดยประสานกับกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำวังโตนด จ.จันทร์บุรี เพื่อขอน้ำส่วนเกินหรือขอจัดสรรน้ำบ้างส่วนมาเติมที่อ่างประแสร์ ซึ่งในปี 63 มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุที่มีประมาณ 290 ล้านลบ.ม. น้อยมาก เพื่อส่งต่อไปอ่างบางพระผ่านระบบท่อและโครงข่าย ขณะที่จันทบุรีครม.ได้อนุมัติให้สร้างเก็บน้ำเพิ่มประมาณ 4 อ่าง โดย 1 อ่างอยู่ระหว่างการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อม 

ยึดศาสตร์พระราชา “อ่างพวง” เพื่อความยั่งยืนน้ำตะวันออก

นอกจากนั้นในระยะยาวจะมีการสร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่มอีกหลายแห่งเช่นอ่างคลองโพล้ และอ่างขนาดเล็กเพื่อเป็นอ่างพวงให้กับอ่างเก็บน้ำคลองสียัด เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำคัญให้กับพื้นที่การเกษตรและอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา รวมถึงการสร้างเครือข่ายอ่างเก็บน้ำประแสร์ อ่างหนองค้อ และอ่างบางพระ ซึ่งคาดว่าจะสามารถวางโครงการได้ครบทั้งหมดประมาณปี 2566 การก่อสร้างจะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 3-5 ปี ซึ่งก็จะทำให้ระบบครบสมบูรณ์

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาภูมิภาคนี้แล้งซ้ำซากแม้ว่าจะมีน้ำท่าหรือฝนตกมากแต่อ่างมีน้อยและมีขนาดเล็ก ขณะที่ความต้องการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับนโยบายการพัฒนาพื้นที่อีอีซีเพื่อพัฒนาประเทศ ทำให้ต้องมีการขยายศักยภาพของอ่างเก็บน้ำ พัฒนาระบบโครงข่ายน้ำทั้งระท่อ ระบบสูบกลับ คลองสะพานและการวางโครงการใหม่ๆเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำส่วนที่ขาดอีกประมาณ 500-700 ล้านลบ.ม.  ซึ่ง 8 จังหวัดภาคตะวันออก พื้นที่รวม 23.47 ล้านไร่ พื้นที่การเกษตร 10.6 ล้านไร่ พื้นที่ชลประทาน 2.14 ล้านไร่ (20%) มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 7 แห่ง ความจุรวม 1,600 ล้านลบ.ม. ของปริมาณน้ำท่ารวม 24,082 ล้านลบ.ม.ต่อปี

ยึดศาสตร์พระราชา “อ่างพวง” เพื่อความยั่งยืนน้ำตะวันออก

สำหรับการบริหารน้ำภาคตะวันออก จะมีการตั้งคณะทำงานใน KEY MAN WARROOM ซึ่งเป็นการบูรณาการทุกภาคส่วนประชุมทุก 15 วัน  เป็นไปตามข้อห่วงใยของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ ที่ต้องการให้บริหารจัดการน้ำโดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม

นายแอ๋ ผลศิริ ประธานกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานตำบลกระแสบนปี 2551 กล่าวว่า ในปี 2548 แล้งจัดมากขณะนั้นไม่มีเขื่อนประแสร์ เกษตรกรต้องซื้อน้ำมาปลูกทุเรียน ปลูกยางพารา คิวละ 600 บาท เกษตรกรเดือดร้อนมาก หลังจากมีอ่างประแสร์ ความจุ 295 ล้านลบ.ม. เกษตรกรดีขึ้น ปัจจุบันเกษตรกรในกลุ่มซึ่งมีประมาณ 32 คนได้รับประโยชน์ทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายทุเรียนรายละประมาณ 6 แสนถึง 5 ล้านบาทต่อปี เพราะราคาทุเรียนดีไม่มีราคาตก ซึ่งกรมจะมีการจัดสรรน้ำให้กลุ่มผู้ใช้น้ำต่อเนื่องตามข้อตกลง ในช่วงแล้งที่ผ่านมาทางกลุ่มก็รับทราบว่าทางกลุ่มผู้ใช้น้ำวังโตนดแบ่งน้ำให้ประแสร์ ซึ่งก็ต้องขอบคุณคนจันทบุรีที่แบ่งน้ำให้และเมื่อมีระบบเชื่อมโยงน้ำก็เชื่อว่าทุกภาคส่วนจะดีขึ้น