KCT Academy ชี้ ดิสรัปองค์กรต้องเทเลอร์เมด

13 ธ.ค. 2562 | 06:30 น.

ในยุคที่โลกธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงสูง แต่ละองค์กรต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง โดยความต้องการของแต่ละองค์กรที่ต่างกัน ด้วยสภาพแวดล้อม ปัจจัยปัญหา และรูปแบบธุรกิจที่ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น การทำหลักสูตรการพัฒนาที่เป็น Ready Pack จึงน้อยลง ความต้องการโปรแกรมการพัฒนาที่เฉพาะเจาะจงแบบ tailor-made program จึงเป็นที่ต้องการมากขึ้น

KCT Academy ชี้ ดิสรัปองค์กรต้องเทเลอร์เมด

"ความรู้ทั่วไปทุกองค์กรเรียนรู้เหมือนกันหมด แต่ความเชื่อของแต่ละองค์กร และเป้าหมายสุดท้ายของแต่ละองค์กรต่างกัน" ผู้อำนวยการสถาบัน KCT Academy "ไกรกิติ ทิพกนก" อธิบายว่า ความต้องการขององค์ส่วนใหญ่แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นกลุ่มที่ต้องการนำความรู้และทักษะไปทำงานจริง โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนความคิด มีการทำเวิร์คช้อป กลุ่มที่สอง สำหรับผู้บริหาร เพื่อใช้ในการบริหารคน การเงิน องค์กร ซึ่งจะเน้นเรื่องกลยุทธ์

ปี 2562 เป็นปีที่หลายองค์กรต้องการความรู้และเครื่องมือ เพื่อบริหารความขัดแย้งภายในองค์กร และการทำ Design Thinking เพื่อนำมาปรับกระบวนการทำงาน ที่ไม่ใช่แค่การสร้างโปรดักส์ แต่เป็นการปรับองค์กรให้เร็วขึ้น และมีความคิดสร้างสรรค์ทั้งกระบวนการ และอีกหนึ่งทักษะที่องค์กรต้องการมากในปีนี้ และจะมากยิ่งขึ้นในปีหน้า คือ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking Skills) เป็นการคิดให้เข้าใจง่ายๆ มีความเป็น Localized โดยผู้ที่จะเข้ามาเสริมสร้างทักษะนี้ได้ ต้องมีความเข้าใจในแต่ละบิซิเนส ซึ่ง KCT Academy นอกจากมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละธุรกิจแล้ว ยังเน้นการใช้เกม กิจกรรม การทำเวิร์คช้อป เพื่อทำให้เข้าใจง่ายขึ้น

นอกจากนี้ สิ่งที่จะได้เห็นต่อเนื่อง คือ การปรับตัวของหน่วยงานราชการ ซึ่งปีนี้เริ่มทยอยเข้ามาใช้บริการ เช่น สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) หรือ สสปท. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต)  เนื่องจากโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้น หน่วยงานราชการก็ต้องปรับตัวให้เร็วขึ้น และยังมีฝั่งเอกชนที่เข้ามาร่วมบริหารในหน่วยงานราชการ ทำให้นำแนวคิดใหม่ๆ เข้ามาเสริม ส่วนเอกชนที่ให้ความสำคัญ และเข้าใจบริการเทรนนิ่ง จะมีทั้งกลุ่มออโต้โมบิล ไอที อสังหาริมทรัพย์ โรงแรม

เรื่องสำคัญของการเทรนนิ่ง กับสิ่งที่ต้องได้กลับไป คือ การปรับ กระบวนการความคิด (Mindset) เพื่อให้นำกลับไปใช้ได้จริง อย่างการปรับกระบวนการความคิดของคนในระบบราชการ ก็ให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้เช่นกัน สถาบัน KCT จะตั้งความต้องการหรือเป้าหมายของหน่วยงานนั้นๆ ก่อน ดูว่าสิ่งที่เขาต้องการคืออะไร แล้วเริ่มดีไซน์ออกมาเป้นหลักสูตร และอธิบายใหม่ให้เข้าใจง่าย

KCT Academy ชี้ ดิสรัปองค์กรต้องเทเลอร์เมด

การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มของภาครัฐ ต้องการอะไร แล้วเราจะเริ่มมาดีไซน์หลักสูตรใหม่ เช่น การใส่ใจกับเสียงของประชาชน การใส่ใจต่อเสียงของประชาชน ต้องตั้งว่า ประชาชนจะได้อะไร และจะร่วมมือกับประชาชนอย่างไร แล้วนำมาวิเคราะห์ จนได้จุดแข็งขององค์กร แล้วไปสร้างเป็นจุดเก่งใหม่ของคุณว่าคืออะไร (new competitiveness) หลังจากนั้นคือการเข้าไปโฟกัส ปรับองค์กร เพิ่มทักษะความรู้ ปรับจูนทัศนคติ และสุดท้าย คือ การเข้าสู่ดิขจิทัลทรานสฟอร์มที่สมบูรณ์


ความท้าทาย และการถูกดิสรัปของการเทรนนิ่ง คือ คนติดโทรศัพท์มือถือ วิทยากรหากไม่เก่งจริง คนจะหายไปเรื่อยๆ การสอนจะเอาแค่ตำรามาสอนไม่ได้แล้ว ลักษณะของการเทรนนิ่ง ต้องเป็นการแบ่งปันเหมือนพี่สอนน้อง ผู้เรียนต้องเป็นศูนย์กลาง รูปแบบของการทำเวิร์คช้อปก็ต้องเปลี่ยน การทำเวิร์คช้อปแบบเดี่ยวๆ ออกแบบให้ผู้เรียนแต่ละคนได้ฝึกตัวเอง จะมีความสำคัญมากขึ้น การทำบริษัทเทรนนิ่ง มันจะยากขึ้น และใช้ต้นทุนมากขึ้น เช่น บางคลาส ต้องใช้วิทยากร 2 คน คนหนึ่งทำหน้าที่ออกแบบสิ่งที่ลูกค้าจะได้ หลังกระบวนการเกิดขึ้น อีกคนจะไปพูดถึงกระบวนการ ว่าจะได้ LEAN บริษัทให้มากที่สุด จะทำให้ได้ประสิทธิภาพประสิทธิผลมากที่สุด ต้องทำอย่างไร วิทยากรคนหนึ่งต้องเก่งที่งสองด้าน หรือต้องมีทีมที่ทำทั้งได้ทั้งสองด้าน คือ ทำด้าน Emotional และ Structure