อาเซียนระดมสมอง กำจัดขยะพลาสติก

08 ธ.ค. 2562 | 03:10 น.

องค์กรโอเชียน รีคัฟเวอรี่ อัลไลแอนซ์ (Ocean Recovery Alliance) องค์กรพัฒนาเอกชนที่อุทิศตนเพื่อการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของมหาสมุทรผ่านความร่วมมือและการลงมือทำ จัดงานประชุม Bangkok Plasticity Day2 @ Sea of Solutions week ภายในงาน @SEA of Solutions 2019 ซึ่งได้รับความร่วมมือในการจัดโดยโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (UNEP) ร่วมด้วย สำนักงานประสานงานทางทะเลภูมิภาคเอเชียตะวันออก (COBSEA) ที่องค์การสหประชาชาติ

 สาระสำคัญของการประชุมครั้งนี้คือ ประสิทธิภาพและความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ของการซื้อขายพลาสติกแบบหมุนเวียน จากขยะไปสู่ธุรกิจ นับจากการประชุมสุดยอดความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(RCEP) ครั้งที่ 3 โดยมีการประเมินมูลค่าตลาดพลาสติกรีไซเคิล
ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่าอยู่ที่ประมาณ 16.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่มูลค่าตลาดจริงตํ่ากว่าตัวเลขประมาณการซึ่งอยู่ที่ 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อ้างอิงการประเมินมูลค่าตลาดโดยใช้ข้อมูลจาก Orbis Research, Acumen Consulting, HSI Market

อาเซียนระดมสมอง กำจัดขยะพลาสติก

ในการพูดคุย “Douglas Woodring” ผู้ริเริ่มการประชุมระดมความคิด Plasticity และผู้ก่อตั้งองค์กรไม่หวังผลกำไร Ocean Recovery Alliance กล่าวถึง ต้นทุนในการสร้างพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงด้าน Recycle ขยะ ที่อยู่ในอัตราค่อนข้างสูง เพราะนอกจากเรื่องการจัดการ
ขยะแล้ว ยังต้องมีกิจกรรมต่อเนื่องที่ต้องดำเนินควบคู่ไปด้วยกัน อาทิ การจัดการสิ่งแวดล้อมบนผิวดิน ในนํ้า ในอากาศ ขณะเดียวกัน การตื่นตัวกับการจัดการลดมลภาวะขยะพลาสติกในทะเลของภาครัฐ และเอกชน ที่มีการทำโครงการมากมาย แต่ยังขาดการติดตามผล และการประเมินผลที่เป็นระบบ ดังนั้น องค์กรจึงได้คิดค้นพัฒนาระบบหรือเครื่องมือที่มี scorecards ชัดเจนและนำไปใช้ได้จริง นั่นคือ “Commitments 2.0” ซึ่งเป็นแนวทางและดัชนีชี้วัดตัวใหม่ ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม สหประชาชาติ ที่คาดว่า จะสามารถสร้างประสิทธิภาพต่อการลดมลภาวะพลาสติก

“Belinda Ford” Public Affairs, Comms and Sustainability Director, Coca-Cola ASEAN  ผู้นำเสนอแนวคิดพันธะสัญญาระดับโลกสู่การปฏิบัติในระดับท้องถิ่น (Global Commitments, Local Action) พูดถึงแผนงานของโคคา-โคล่า กับการดำเนินธุรกิจเพื่อลดมลภาวะขยะพลาสติก ด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่า “โลกที่ปราศจากขยะ” เป็นสิ่งที่สามารถช่วยกันทำให้เกิดขึ้นได้ โดยแบ่งเป้าหมายของการดำเนินงานออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่

ส่วนที่ 1. การออกแบบ - โคคา โคล่า ต้องการให้บรรจุภัณฑ์ของบริษัทจากทั่วโลกสามารถนำไปรีไซเคิลได้ 100% ภายในปี 2025 และใช้วัสดุุรีไซเคิลได้ มาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อย่างน้อย 50% ภายในปี 2030 ส่วนที่ 2. การเก็บ - บริษัทมุ่งให้เกิดการรวบรวมและจัดเก็บ เพื่อนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลขวดและกระป๋องทุกๆ ปีและนำกลับมาขายภายในปี 2030 และส่วนที่ 3 เครือข่ายพันธมิตร ผ่านการทำงานร่วมกันกับองค์กรอื่นๆ เพื่อก่อให้เกิดสภาวะที่ปราศจากสิ่งตกค้างในสิ่งแวดล้อมและในทะเล

อาเซียนระดมสมอง กำจัดขยะพลาสติก

  Sumangali Krishnan, Chief Business Officer, GA Circular ผู้นำเสนอแนวคิดวัฏจักรระดับภูมิภาค มุมมองจากปัจจุบัน กล่าวถึงรายงาน Full Circle ซึ่งได้ร่วมกับหลายองค์กร เรียบเรียงแนวโน้มที่เป็นประโยชน์ต่อการลดมลภาวะพลาสติก โดยมุ่งประเด็นไปที่ขวด PET ซึ่งหมุนเวียนอยู่ในสิ่งแวดล้อมของประเทศในภูมิภาคอาเซียน 6 ประเทศ  ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย เมียนมา และมาเลเซีย

ข้อมูลที่ได้พบว่า ขวดพลาสติก PET เป็นพลาสติกที่ถูกนำกลับมารีไซเคิลมากที่สุด ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก จากสถิติ มี 5 ใน 6 ประเทศ ที่พบว่ามีปริมาณขยะตกค้างมากที่สุด

“Dr. Steve Wong” MD Fukutomi Ltd./ Chair China Scrap Plastics Association ผู้นำเสนอแนวคิดและมุมมองผ่านการค้าระดับโลก กล่าวว่า สิ่งที่ควรคำนึงคือเก็บรวบรวม วิธีการแยกขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ และหาวิธีการนำกลับไปใช้ใหม่ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และนำไปสู่กระบวนการ recycle ที่ถูกต้อง โดยปัจจุบันมีพลาสติกเพียง 4 ชนิดที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ได้แก่ HIPS 40% PE PP 15%ABS 15% และอื่นๆ 30% 

หน้า 22-23 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,524 วันที่ 21 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

อาเซียนระดมสมอง กำจัดขยะพลาสติก