สกสว.ขับเคลื่อนแนวคิด'เศรษฐกิจสีน้ำเงิน' ยุทธศาสตร์ทางทะเล

09 ก.ค. 2562 | 01:07 น.

สกสว.ขับเคลื่อนวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ทางทะเล ชู "เศรษฐกิจสีน้ำเงิน" ส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการใช้ทรัพยากรให้มีความยั่งยืนและนำไปสู่การเติบโตของระบบเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว 

สกสว.ขับเคลื่อนแนวคิด'เศรษฐกิจสีน้ำเงิน' ยุทธศาสตร์ทางทะเล

จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติระบุว่าในปี2557 ประชากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกว่า84% จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรจากทะเลและชายฝั่ง เพื่อดำรงชีพและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจขณะที่สถานภาพของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะลและชายฝั่งของไทย กลับมีแนวโน้มเสื่อมโทรมลงทั้งจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งปะการังฟอกขาวขยะทะเลฯลฯโดยไทยยังขาดการบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ

สกสว.ขับเคลื่อนแนวคิด'เศรษฐกิจสีน้ำเงิน' ยุทธศาสตร์ทางทะเล

รองศาสตราจารย์ดร.ชนาธิปผาริโนผู้อำนวยการฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) กล่าวว่าเนื่องจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) ในปัจจุบันให้ความสำคัญการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่จะนำไปใช้ในการป้องกันและจัดการปัญหาจากความเสี่ยงใหม่ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติด้านความปลอดภัยสาธารณะด้วยเป้าหมายเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันที่เสมอภาพและเท่าเทียมทางสังคมสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สกสว. ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทะเลโดยการขับเคลื่อนประเด็นวิจัยเชิงยุทธศาสตร์(Strategic Research Issues : SRI) ในเรื่องของผลประโยชน์แห่งชาติและความมั่นคงทางทะเลอาทิชุดโครงการยุทธศาสตร์การจัดการผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล, ชุดโครงการแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลบนฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน, ชุดโครงการความรู้เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายทางทะเลแห่งชาติสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDG14) และการจัดทำแผนที่นำทางการวิจัยประเด็นวิจัยยุทธศาตร์ด้านผลประโยชน์แห่งชาติและความมั่นคงทางทะล(Roadmap of SRI7) 

สกสว.ขับเคลื่อนแนวคิด'เศรษฐกิจสีน้ำเงิน' ยุทธศาสตร์ทางทะเล

นอกจากนี้ยังมีโครงการสถานการณ์และข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศไทยเพื่อความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน, โครงการการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายฉบับย่อในประเด็นเร่งด่วนเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศไทย, โครงการการพัฒนาแผนที่เขตแดนทางทะเลระหว่างจังหวัดชายทะเลของประเทศไทยเป็นต้น

รองศาสตราจารย์ดร.โสภารัตน์จารุสมบัติผู้ประสานงานชุดโครงการความรู้เพื่อขับเคลื่อนนโยบายทางทะเลแห่งชาติสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDG 14) กล่าวว่าการมีระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งที่สมบูรณ์ย่อมมีผลโดยตรงต่อการขับเคลื่อนให้เกิดการเติบโตทางสังคมและเศรษฐกิจและยังเป็นหลักประกันความยั่งยืนในอนาคตของมนุษย์และระบบนิเวศของโลก 

สกสว.ขับเคลื่อนแนวคิด'เศรษฐกิจสีน้ำเงิน' ยุทธศาสตร์ทางทะเล

ดังนั้นการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้สามารถดำรงไว้ซึ่งความสมดุลทางนิเวศและความสามารถในการรองรับการใช้ทรัพยากรจากมนุษย์ย่อมต้องอาศัยการบูรณาการองค์ความรู้และกลไกการจัดการที่หลากหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการร่วมมือระหว่างภาครัฐเอกชนและประชาสังคมที่ต้องร่วมกันบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้มีความยั่งยืนต่อไปในอนาคตได้

สกสว.ขับเคลื่อนแนวคิด'เศรษฐกิจสีน้ำเงิน' ยุทธศาสตร์ทางทะเล

ทิศทางการพัฒนาในระดับนานาชาติว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติที่มุ่งให้ภายในปี2573 โลกจะสามารถสร้างสมดุลการพัฒนาระหว่างความมั่นคงของมนุษย์ความมั่นคั่งทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมตามเป้าหมายที่14 (SDG14 Life below Water) ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้เกิดความยั่งยืน 

ประเทศไทยถือเป็นรัฐชายฝั่งที่ตั้งอยู่ในทำเลเชื่อมต่อกับทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดียซึ่งถือเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาคและกำลังเผชิญความท้าทายสำคัญจากประเด็นการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างต่อเนื่องอาทิการการทำประมงที่ผิดกฎหมายขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU Fishing) ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งการท่องเที่ยวทางทะเลเกินขีดความสามารถของระบบนิเวศความเสี่ยงจากภัยพิบัติเป็นต้น 

สกสว.ขับเคลื่อนแนวคิด'เศรษฐกิจสีน้ำเงิน' ยุทธศาสตร์ทางทะเล

จากประเด็นดังกล่าว ทำให้เห็นได้ว่า ไทยมีความเสี่ยงและกำลังเผชิญความท้าทายที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ต้องได้รับการพิทักษ์ปกป้องและบริหารจัดการให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

สกสว.ขับเคลื่อนแนวคิด'เศรษฐกิจสีน้ำเงิน' ยุทธศาสตร์ทางทะเล

หนึ่งในแนวคิดที่สามารถนำมาประยุกต์สำหรับการขับเคลื่อนให้เกิดความยั่งยืนต่อการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทยคือแนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน(Blue Economy) ที่เน้นส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการใช้ทรัพยากรให้มีความยั่งยืนและนำไปสู่การเติบโตของระบบเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว 

สกสว.ขับเคลื่อนแนวคิด'เศรษฐกิจสีน้ำเงิน' ยุทธศาสตร์ทางทะเล

การบริหารจัดการผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล จะต้องอยู่บนหลักการความมั่นคงของระบบนิเวศที่ว่า“ทะเลเป็นทรัพยากรสาธารณะประชาชนมีสิทธิเข้าถึงและได้รับประโยชน์” หรืออีกนัยหนึ่งคือความยั่งยืนของการใช้ประโยชน์ทางทะเลประกอบด้วย3 มิติที่เชื่อมโยงกันคือเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม 

สกสว.ขับเคลื่อนแนวคิด'เศรษฐกิจสีน้ำเงิน' ยุทธศาสตร์ทางทะเล

เศรษฐกิจสีน้ำเงินเป็นวิธีคิดแบบใหม่ที่เป็นระบบมากขึ้นอาศัยความเข้าใจ และความร่วมมือระดับนานาชาติคำนึงถึงบริบทของเศรษฐกิจสีน้ำเงินที่แตกต่างจากเศรษฐกิจบนแผ่นดินอย่างมีนัยสำคัญ