'เอสซีจี รวมใจสู้ภัยแล้ง' พร้อมสร้างชุมชนต้นแบบแก้ปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน

13 มี.ค. 2559 | 12:00 น.
เอสซีจี ร่วมกับ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และกองทัพบก ดำเนินโครงการ “เอสซีจี รวมใจสู้ภัยแล้ง” อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2558 ด้วยเล็งเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนผู้ประสบภัย โดยวางแนวทางช่วยเหลือชุมชนที่ประสบภัยแล้งแบบเร่งด่วน และสนับสนุนชุมชนดำเนินการลดผลกระทบจากภัยแล้งอย่างยั่งยืน

[caption id="attachment_37432" align="aligncenter" width="370"] อาสา สารสิน  กรรมการ และประธานคณะกรรมการกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี อาสา สารสิน
กรรมการ และประธานคณะกรรมการกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี[/caption]

นายอาสา สารสิน กรรมการ และประธานคณะกรรมการกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจี มีความห่วงใยพี่น้องในชุมชนที่ได้ผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง และเล็งเห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะมีส่วนร่วมบรรเทาความเดือดร้อนนี้ มุ่งมั่นสานต่อโครงการ “เอสซีจี รวมใจสู้ภัยแล้ง” เพื่อร่วมบรรเทาวิกฤติภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ ด้วยการมอบถังเก็บน้ำขนาด 2,000 ลิตร จำนวน 500 ใบ ในพื้นที่ที่ประสบภัยแล้ง โดยมอบให้กับจังหวัดขอนแก่น จำนวน 150 ใบ ขณะเดียวกัน ยังร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สนับสนุนให้ชุมชนบริหารจัดการน้ำเพื่อบรรเทาภัยแล้งอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการเพิ่มแหล่งน้ำสำรอง อาทิ ชุมชนบ้านโนนเขวา อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น ขุดคลองเชื่อม ขุดลอกคลอง ซึ่งสามารถบรรเทาปัญหาภัยแล้ง และขาดแคลนน้ำอุปโภคได้เป็นอย่างดี พร้อมผลักดันให้เป็นชุมชนต้นแบบการบริหารจัดการน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน เพื่อส่งต่อองค์ความรู้ไปสู่ชุมชนใกล้เคียงต่อไป”

[caption id="attachment_37431" align="aligncenter" width="500"] เอสซีจี รวมใจสู้ภัยแล้ง เอสซีจี รวมใจสู้ภัยแล้ง[/caption]

เพราะว่าน้ำคือทรัพยากรของทุกคน ไม่ใช่ของรัฐ หรือของคนใดคนหนึ่ง เมื่อทุกคนมองว่าวัดคือสถานที่ของชุมชน เวลาจะสร้างโบสถ์ สร้างศาลา เรายังหาวิธีการหาเงินมาช่วยกันสร้างได้ แล้วทำไมน้ำซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญ เราจะหาแหล่งสนับสนุนมาจัดการไม่ได้ ถามว่าเราอยากให้รัฐช่วยเหลือด้านงบประมาณไหม ก็อยากให้ช่วย แต่เราไม่ได้อยากได้แค่ตัวเงิน เพราะหากรัฐแค่จะโยนเม็ดเงินลงมาแล้วไม่สอนชาวบ้านให้เอาปัญหามาเรียนรู้ ความยั่งยืนในการบริหารจัดการน้ำไม่เกิดขึ้น ที่สำคัญนอกจากเงินแล้วก็คือการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น คือถ้อยคำจาก นายพิชาญ ทิพย์วงษ์ ผู้ประสานงานลุ่มน้ำชีและคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต (บ้านป่าเป้ง-บ้านโนนศิลา) ได้เล่าถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น “เมื่อก่อนชาวบ้านในหมู่บ้านโนนเขวาต้องเจอกับภาวะทั้งน้ำท่วมน้ำแล้งตลอด จนกระทั่งเรามาสังเกตว่าช่วงไหนที่น้ำท่วม แล้วช่วงไหนที่น้ำแล้ง ลองมาเก็บข้อมูลกันในพื้นที่โดยให้ชาวบ้านทุกคนช่วยกันสังเกตแล้วทำบันทึกเก็บข้อมูลว่า เวลาน้ำหลากน้ำท่วมกี่เดือน แล้วเวลาน้ำแล้งช่วงเดือนไหนบ้าง ซึ่งเมื่อก่อนชาวบ้านไม่ได้สนใจ คือ น้ำท่วมก็ปล่อยท่วมไป ในฐานะที่เราสนใจเรื่องนี้ เจ็บปวดเมื่อยามเกิดอุทกภัย เราจึงต้องให้ความสำคัญ”

[caption id="attachment_37429" align="aligncenter" width="500"] เอสซีจี รวมใจสู้ภัยแล้ง เอสซีจี รวมใจสู้ภัยแล้ง[/caption]

เขายังบอกด้วยว่า ความเจ็บปวดที่ชาวบ้านโนนเขวาได้เรียนรู้มานับสิบปี เป็นยาขนานหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านเข้มแข็งและพร้อมที่จะลุกขึ้นมาเรียนรู้กระบวนการในการจัดการปัญหา ซึ่งการรวมกลุ่มในการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารน้ำในหมู่บ้านโนนเขวาให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมนั้น ผู้นำท้องถิ่นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะชาวบ้านรู้ว่าปัญหาเกิดขึ้นได้อย่างไร มีวิธีการทำแบบไหนจะแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ แต่ชาวบ้านไม่กล้าขับเคลื่อนและจัดการเรื่องเหล่านั้น หากไม่มีผู้นำ เพราะติดอยู่ในสภาวะของความกลัว แต่ในวันนี้ บ้านโนนเขวา ต.ท่านางแนว อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น คืออีกหนึ่งชุมชนตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้วการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพประชาชนก็สามารถทำได้ด้วยตัวเอง สำหรับหมู่บ้านโนนเขวามั่นใจเกิน 100% ว่าตลอดหน้าแล้งปี 2559 เราจะมีน้ำใช้อย่างเพียงพอแน่นอน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,139 วันที่ 13 - 16 มีนาคม พ.ศ. 2559