ซัมซุงเพาะพันธุ์ผลผลิต ‘ห้องเรียนแห่งอนาคต’

12 ส.ค. 2560 | 00:22 น.
จากแนวคิดเรื่อง “การค้นพบ” (Discovery) ที่ซัมซุงเชื่อว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษยชาติก้าวเดินไปข้างหน้า ซัมซุงจึงนำแนวคิดนี้ มาเป็นหนึ่งในหลักที่ยึดถือปฏิบัติ และเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้ซัมซุงพัฒนาองค์กรจนเติบโต และยังนำมาใช้เป็นแนวคิดที่นำไปสู่นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านโครงการ ซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคต (Samsung Smart Learning Center) ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2556

[caption id="attachment_191741" align="aligncenter" width="335"] “ครูเจ้ง หรือ ครูกัณจนา อักษรดิษฐ์” “ครูเจ้ง หรือ ครูกัณจนา อักษรดิษฐ์”[/caption]

เป้าหมายของโครงการ คือ การส่งเสริม “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” ให้เยาวชนไทย ผ่านการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ในชื่อ “ห้องเรียนแห่งอนาคต” ด้วยการนำเทคโนโลยีของซัมซุงมาเป็นเครื่องมือ ซึ่งปีนี้ถือเป็นปีที่ 5 ที่ซัมซุงได้ดำเนินโครงการมาต่อเนื่อง โดยการพัฒนาเด็กจากการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) เพื่อให้เด็กๆ ได้ลงมือทำจริง เปลี่ยนการเรียนรู้ของเด็กๆ จากผู้รับฟัง (Passive Learner) มาเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง (Self Learner) ด้วยการสำรวจปัญหาในชุมชน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา โดยมีเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการค้นพบ และมีคุณครูเป็นผู้สนับสนุนและที่ปรึกษา

 

MP32-3286-2 “ครูเจ้ง หรือ ครูกัณจนา อักษรดิษฐ์” คุณครูที่ปรึกษาชุมนุม Samsung Discovery Club โรงเรียนเทิงวิทยาคม จังหวัดเชียงราย คือคุณครูต้นแบบ ที่ทำให้โรงเรียนเทิงวิทยาคม กลายเป็นโรงเรียนแม่ข่ายที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ของโครงการ “ซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคต” ให้กับโรงเรียนลูกข่ายอื่นๆ ในพื้นที่ใกล้เคียง

“วรรณา สวัสดิกูล” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการตลาด บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด กล่าวว่า ในปีนี้ซัมซุงได้เปิดประตูห้องเรียนแห่งอนาคต ที่โรงเรียนเทิงวิทยาคม เปิดโอกาสให้คุณครูจากต่างพื้นที่ ต่างบริบท จำนวน 60 คน ได้ศึกษาวิธีการเรียนการสอน รวมถึงตัวอย่างการวิพากษ์ อันนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักเรียน โดยยกตัวอย่างโครงการเรือธงของเด็กนักเรียนในโรงเรียนเทิงวิทยาคม ที่ได้ผลิต “กูรูกบ” รุ่นเยาว์ขึ้นมาเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจลุ่มน้ำอิง จ.เชียงราย ในอนาคต เพื่อเล่าให้เห็นภาพของกระบวนการเรียนรู้

MP32-3286-1 “กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ค้นพบปัญหาที่เกิดขึ้นใกล้ตัวภายในชุมชนของพวกเขา โดยเริ่มต้นนำเอาหัวข้อต่างๆ มาพูดคุยกัน วิพากษ์ข้อดีข้อเสียของแต่ละหัวข้อ ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีกว่าการโหวตตามเสียงข้างมาก เพราะเป็นการหาข้อตกลงร่วมกันด้วยเหตุผล จะทำให้เด็กๆ ยอมรับเหตุผลของอีกฝ่ายแล้วทำให้สามารถช่วยกันทำงานต่ออย่างเต็มใจ โดยไม่มีใครวางมือกลางคัน” ครูเจ้ง ครูต้นแบบอธิบายกระบวนการเรียนรู้ของเด็กๆ

4 ปีที่ผ่านมา ซัมซุงขยายเครือข่ายสู่โรงเรียนต่างๆ ไปแล้ว 47 โรงเรียนทั่วประเทศ โดยสร้างประโยชน์ให้กับครูจำนวนกว่า 3,000 คน และนักเรียนกว่า 70,000 คน ซัมซุงมีเป้าหมายชัดเจนในการขยายต้นแบบห้องเรียนแห่งอนาคตต่อไป รวมถึงการจัดเวิร์กช็อปให้ผู้บริหารโรงเรียนและคุณครู และขยายผลไปสู่เครือข่ายและภาคีในภาคส่วนต่างๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาไทยให้เข้มแข็ง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,286 วันที่ 10 -12 สิงหาคม พ.ศ. 2560