สคช. รับนโยบายรัฐเร่งเดินแผนพัฒนาวิชาชีพ ขับเคลื่อนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 59-60

11 ก.พ. 2559 | 07:13 น.
นอกจากปัจจัยทางด้านการลงทุ นทางเศรษฐกิจของภาครัฐและเอกชนแล้ว อีกปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กันในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตและสร้างความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน คือ “ทรัพยากรบุคคล” ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่รัฐบาลใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจและจีดีพีของประเทศ ดังนั้น การพัฒนากำลังคนเพื่อเป็นฐานความรู้และฝีมือให้มี สมรรถนะวิชาชีพตามมาตรฐานอาชีพบนฐานความรู้ทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้เป็นไปตามความต้องการของภาคธุรกิจ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อการแข่งขันในระดับสากล

พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รองนายกฯ กล่าวว่า ในฐานะที่ตนกำกับดูแล สคช. ที่มีภารกิจส่งเสริมและสนับสนุ นหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพั ฒนากำลังคนให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรั บของสากล เพื่อเป็นการผลิตบุคลากรเข้าสู่ สายงานวิชาชีพในกลุ่มต่างๆ ให้ตรงต่อความต้องการของตลาดแรง งานมากยิ่งขึ้น ได้กำหนด แผนการดำเนินการตามนโยบายของ สคช. ปี 59-60 โดยมุ่งเน้นไปที่ 10 อาชีพ นำร่องที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ได้แก่ สาขาช่างซ่อมอากาศยาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แมคคาทรอนิกส์ บริการยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์ ผู้สอนภาษาอังกฤษและผู้ใช้ ภาษาอังกฤษ รถไฟความเร็วสูงและระบบราง โลจิสติกส์ ปิโตรเลียมและปิโตรเคมี เพื่อนำไปสู่การเพิ่มขี ดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้าน วีระชัย ศรีขจร ผอ. สคช. กล่าวว่า สคช. มุ่งเน้นเป้าหมายการรองรับองค์ กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะบุ คคลตามมาตรฐานอาชีพมากขึ้น 50 แห่งต่อปี ทำให้ปัจจุบัน สคช. ได้รับรองไปแล้ว 70 แห่ง ใน 18 สาขาวิชาชีพ และจัดให้มีการประเมินสมรรถนะบุ คคลไปแล้ว 15 สาขาวิชาชีพ ที่ผ่านมามีผู้ผ่านการรองรับจาก สคช. 11,412 คน เป็นบุคคลที่เข้ารับการประเมิ นในปีงบประมาณ 2559 จำนวนทั้งสิ้น 4,191 คน จากเป้าหมายที่ สคช. ตั้งไว้ 16,000 คน

ในปีนี้ คสช. มีการวางแผนการดำเนินการต่ อยอดให้สอดคล้องกับนโยบาลของรั ฐบาล โดยเฉพาะในเรื่องของเศรษฐกิจ โดยในปีนี้ได้วางแผนนำวิชาชี พใหม่ 10 สาขา ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้มีการพั ฒนามาตรฐานการประเมินวิชาชี พเหล่านั้นให้อยู่ในระดับเดี ยวกับประเทศชั้นนำตามมาตรฐาน ISO 17024 โดยเน้นสายอาชีพที่มีส่ วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ได้มีการร่วมมือกับหลายหน่วยงาน เพื่อพัฒนาการประกันคุณวุฒิวิ ชาชีพให้มีมาตรฐานรอบด้าน

ส่วน พล. อ. เลิศรัตน์ รัตนวาณิชย์ ประธานกรรมการ บริหาร สคช. กล่าวว่า นอกเหนือจากการทดสอบบุคลากรเพื่ อป้อนสู่ตลาดแรงงานแล้ว ภารกิจที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การร่วมมือกับภาคการศึ กษาในการพัฒนาหลักสูตร และระบบการเรียนการสอน โดยมีเป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างแรงงานที่เมื่อสำเร็ จการศึกษามาแล้วสามารถทำงานได้ ทันที ทั้งในระดับมหาลัย และระดับอาชีวะ โดยมีแผนในการวางต้นแบบหลักสู ตรการศึกษาตามประเทศชั้นนำที่ ระบบการศึกษามีทั้งการเรียน และการทำงานควบคู่กันไป  โดยได้รับความร่วมมือจากหลายหน่ วยงาน ทั้งในส่วนของกระทรวง ทบวง กรม และภาคเอกชน โดย สคช. มีบทบาทหลักเปรียบเสมือนตั วกลางในการเชื่อมโยงความร่วมมื อเหล่านั้น ทั้งนี้ การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาอาชี วะได้รับความร่วมมือจากประเทศชั ้นนำกว่า 10 ประเทศ ในการสร้างระบบการศึ กษาในระยะยาวที่มีมาตรฐานอยู่ ในระดับสากล นอกจากนี้ รองนายกฯ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า แม้ว่าระบบวิชาชีพเป็นที่รู้จั กกันมายาวนาน แต่การเรียนการสอนในปัจจุบันยั งไม่สามารถสร้างบุคลากรได้ตรงต่ อความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง ในตอนนี้รัฐได้มีการจับมือกั บสถาบันการศึกษา 11 แห่ง ที่มีเป้าหมายในการวางแผนให้นั กศึกษาได้ศึกษา และทำงานควบคู่กันไป และเมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึ กษาแล้วนอกจากจะได้ใบประกาศนี ยบัตรการศึกษา ยังได้ใบรับรองคุณวุฒิ ตามสายงานของตนด้วย โดยสคช. ได้มีการมุ่งเน้นในสองด้าน ทั้งในระยะสั้น คือ การทดสอบบุคลากรเพื่อป้อนสู่ ตลาดแรงงาน และในระยะยาว คือ การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาให้สร้ างบุคลากรเพื่อตอบสนองต่อความต้ องการในตลาดแรงงานได้

“ขณะนี้ สคช. ต้องเข้าไปจัดการตั้งแต่ต้นน้ำ คือ วางระบบการศึกษา เพื่อปูพื้นฐานและยกระดั บมาตรฐานสายวิชาชีพ เพื่อให้เยาวชนได้มีทางเลื อกในการศึกษา  เราต้องการที่จะแสดงให้ ภายนอกได้รับรู้ว่า ณ ปัจจุบัน เรามุ่งเน้นในการผลักดันและสนั บสนุนการศึกษาสายวิชาชีพ หน้าที่ของ สคช. คือการจัดหาปลายทางการศึกษา เพื่อการันตีให้ภาคธุรกิจได้รั บรู้ว่า พวกเขาเหล่านี้มีทักษะ สมรรถนะและขี ดความสามารถตรงตามความต้ องการเพื่อพัฒนาภาคธุรกิจ โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ ยกระดับเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดี ขึ้น เมื่อทั้งสองอย่างนี้ดีขึ้นก็ จะนำไปสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืนต่อไป”  รองนายกฯ กล่าวในตอนท้าย