“ในหลวง” พระราชทาน รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ ค้นหาโควิดเชิงรุก

24 ม.ค. 2564 | 13:50 น.

“ในหลวง" พระราชทาน "รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ" ตันแบบใช้งานคู่กับรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยฯ ค้นหาเชิง รุกแบบเบ็ดเสร็จในพื้นที่ ทราบผลภายใน 3 ชั่วโมง

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ที่ทรงติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด-19) อย่างใกล้ชิด ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกและทรงคำนึงถึความยากลำบากของราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารและในพื้นที่แออัดให้สามารถเข้ารับการบริการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างรวดเร็ว

 

การกลับมาแพร่ระบาดรอบใหม่อีกครั้งในประเทศไทย ในลักษณะเป็นกลุ่มก้อนที่คนมารวมตัวกันอยู่จำนวนมาก เช่นชุมชนแออัด ที่พักอาศัยแรงงานต่างด้าว ตลาด และบ่อนทั้งนี้ ด้วยสายวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ทรงให้ความสำคัญการวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ว่าเป็นขั้นตอนจำเป็นที่ต้องดำเนินการให้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อให้ทราบผลและจำนวนผู้ติดเชื้อ และสามารถออกมาตรการหรือควบคุม

 

สถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที ทรงมีพระราชดำริให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีมผู้เชี่ยวชาญ สร้างห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่เพื่อออกไปตรวจวิเคราะห์ผลได้นอกโรงพยาบาล หรือหน่วยงาน จะช่วยลดปัญหาการขนส่งตัวอย่างและระยะเวลาในการรอผลการวิเคราะห์

รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ

 

นอกจากนี้ ได้พระราชทาน "รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ"ตันแบบ ใช้งานคู่กับรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยฯ คันหาเชิงรุกแบบเบ็ดเสร็จในพื้นที่ ทราบผลที่รวดเร็ว เพื่อให้ปวงชนรอดพ้นจากโรคโควิด 19 ซึ่งได้นำมาใช้เป็นครั้งแรกในสถานการณ์จริงในการปฏิบัติการค้นหาเชิงรุกทันที

 

 

 

นอกจากนี้ ได้พระราชทาน "รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ"ตันแบบ ใช้งานคู่กับรถก็บตัวอย่างชีวนิรภัยฯ คันหาเชิงรุกแบบเบ็ดเสร็จในพื้นที่ ทราบผลที่รวดเร็ว เพื่อให้ปวงชนรอดพ้นจากโรคโควิด 19 ซึ่งได้นำมาใช้เป็นครั้งแรกในสถานการณ์จริงในการปฏิบัติการค้นหาเชิงรุกทันที กรณีพบผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ช่อง 1 (NBT) ถนนวิภาวดีกรุงเทพฯ ติดเชื้อโควิด 19 ในวันที่ 22 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ตรวจจำนวน 222 ตัวอย่าง ได้ผลที่รวดเร็วตามที่ี่คาดหมาย

รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ

 

อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของรถพระราชทานนี้ เพื่อเสริมการปฏิบัติงนของบุคลการด้านสาธารณสุข สามารถก็บตัวอย่าง และวิเคราะห์ผลการตรวจในพื้นที่ที่รวดเร็ว แม่นยำ และมีความปลอดภัยต่อบุคลากรทางการแพทย์สูงสุด

 

อันเป็นการลดปัญหาความล่าช้าในการขนส่งสิ่งส่งตรวจกลับมาตรวจที่หน่วยงาน ที่โดดเด่นคือสามารถนำไปใช้วิเคราะห์เชื้ออื่น ๆ ที่วิเคราะห์ด้วยเทคนิคการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอด้วยปฏิกิริยาโพลีเมอเรส (Real Time Polymerase ChainReaction (PCR)) โดยใช้เวลาวิเคราะห์เพียง 3 ชั่วโมงและวิเคราะห์ได้ 70 ตัวอย่างต่อ 1 รอบต่อเครื่อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"บิ๊กตู่" ไม่ปิดกั้นเอกชนนำเข้าวัคซีนโควิด-19แต่ต้องขอขึ้นทะเบียนกับอย.ก่อน

ยอดติดเชื้อโควิด 24 ม.ค.64 รายใหม่ 198 ราย เสียชีวิต1ราย

ยอดโควิด 24 ม.ค.64 ทั่วโลกผู้ป่วยเพิ่ม 5.55 แสนราย รวม 99.27 ล้านราย

ข่าวปลอม! อย.เอื้อให้มีการผูกขาดวัคซีนป้องกัน"โควิด-19"

รวมข่าว "โควิด-19" วันที่ 23 ม.ค.64 แบบอัพเดทล่าสุด