มท.ยันไม่แพงBTSสีเขียว65บาทยาวกว่าMRT

20 พ.ย. 2563 | 11:01 น.

  มท. ยันBTS สายสีเขียว ค่าโดยสาร 65 บาท ไม่แพง เส้นทางยาวกว่า สายสีน้ำเงิน ขณะคำสั่งคสช. รักษาผลประโยชน์รัฐมากกว่า พรบ.ร่วมทุนปี 62 คาดครม.ไฟเขียวขยายสัมปทานก่อนเปิดเดินรถทั้งระบบ16ธ.ค.นี้

 

 

 ซัดกันนัวระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับคมนาคมกรณีต่ออายุสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าBTS สายสีเขียวทั้งระบบให้กับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี แลกกับภาระหนี้ กว่า1 แสนล้านบาทของกรุงเทพ มหานคร และลดค่าโดยสารจากเพดาน 158 บาทเหลือ 65 บาทตลอดสาย ซึ่งประเด็นราคา เป็น 1 ในข้อท้วงติงที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไม่เห็น ด้วยเมื่อเทียบกับ MRT สีนํ้าเงินแล้วเพดานสูงสุดที่ 42บาท เท่านั้น

 

 อย่างไรก็ตาม กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือชี้แจงว่า สายสีเขียวเพดานราคา 65 บาทครอบคลุมการให้บริการ 66 กิโลเมตร เฉลี่ยค่าโดยสาร กิโลเมตรละ 0.97 บาท ขณะสายสีนํ้าเงินเพดาน 42 บาท ถูกกว่าก็จริงแต่ มีระยะทางเพียง 48 กิโลเมตร สั้นกว่าสายสีเขียว สะท้อนต้นทุนที่สูงกว่าและการให้บริการเข้าถึงผู้โดยสารมากกว่าขณะประเด็นความครบถ้วนตามหลักพระราชบัญญัติ (พรบ.) ร่วมทุน ปี 2562 มองว่าคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2562 กำหนดหลักเกณฑ์เหมือนกันกับการแก้ไขสัญญาในมาตรา 46 และมาตรา 47ของพรบ.ร่วม ทุนปี 62 และรักษาผลประโยชน์ของรัฐมากกว่าเช่น กรณีที่ Equity IRR ของเอกชนปีใดเกินกว่า 9.6% จะแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนทางด้านการเงินเพิ่มเติมให้กทม.เช่นเดียวกับ

                เช่นเดียวกับทรัพย์สินที่อาจมีมูลค่าลดลง เรื่องนี้ได้กำหนดดัชนีชี้วัดผลงานหรือ KPI ที่เข้มข้นไม่ต่างจากรถไฟฟ้าสายอื่นโดยกทม.บังคับให้เอกชนลงทุนเพิ่มตลอดเวลาจนครบสัญญาปี 2602 ส่วนข้อพิพาททางกฎหมายสายสีเขียวใต้ มองว่าไม่จำเป็นต้องรอคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.) เพราะทำสัญญาผูกพันไว้แล้ว

               

 

 

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ยืนยันว่า บีทีเอสมีต้นทุนที่สูงกว่า ทั้งนี้สายสีนํ้าเงิน รัฐลงทุนงานโยธาและระบบอาณัติสัญญาณทั้งหมด ขณะสายสีเขียวบีทีเอส รับผิดชอบ รวมทั้งราย ได้ที่ต้องแบ่งให้กทม.หากแต่ละปีมีกำไร เกิน 9.6% บีทีเอสต้องแบ่งรายได้เพิ่มให้กทม.ทั้งนี้ราคาค่าโดยสารตลอดสาย 65 บาท บีทีเอสขาดทุนแน่นอน เมื่อเทียบกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งที่ผ่านมากทม.ไม่ได้ตั้งงบประมาณเพื่อจ่ายค่าเดินรถให้กับบีทีเอส ทั้งงบปี 2563 และ ปี 2564 เพราะเข้าใจว่าครม.จะขยายสัมปทานเรื่องนี้แต่ เวลาได้ล่วงเลยกว่า 1 ปี หากครม.ไม่อนุมัติขยายสัมปทาน กทม.ต้องหาเงินจ่ายค่าจ้างเดินรถโดยเร็ววัน แต่มองว่า ครม.น่าจะเห็นชอบให้ขยายสัมปทานไม่เกินวันที่16ธันวาคมนี้ เนื่องจากมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอแล้ว

                สำหรับการจัดเก็บค่าโดยสารเพดาน 65 บาท พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) สะท้อนว่า ที่ผ่านมาได้หารือกับบีทีเอสแล้ว ค่าโดยสารที่ 59 บาท+6 บาทตลอดสาย ซึ่งคำนวณจากระยะทางรวมกว่า 70 กิโลเมตร ทั้งส่วนต่อขยายสายเหนือ (หมอชิต-คูคต) และสายใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ทำให้กทม.ต้องรับภาระหนี้เกือบ 80,000-100,000 ล้านบาท

               

 

 

ทั้งนี้ยอมรับว่าหากเก็บค่าโดยสารที่ 65 บาท บีทีเอสอยู่ไม่ได้ เพราะได้อัตราค่าโดยสารเพียง6 บาทจากเดิม 158 บาท อย่างไรก็ตาม หากค่าโดยสารสูงขนาดนั้นจะทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการเดือดร้อน ขณะเดียวกันเชื่อว่าประชาชนต้องใช้บริการสายสีเขียวอยู่แล้ว เมื่อคำนวณตลอดระยะเส้นทางกว่า 70 กม.ค่าโยสารไม่ถึง 1 บาทต่อกม.

 

ผู้ว่ากทม.ยํ้าตอนท้ายว่าหากบีทีเอสอยู่ไม่ได้ก็ไม่ต้องรับวิ่งรถที่ผ่านได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบและตีความกว่า 5 รอบ ซึ่งผลออกมาคือถูกต้องตามกฎหมายทั้งหมด ที่ผ่านมาบีทีเอสทวงถามค่าจ้างเดินรถกับกทม. 8,000 ล้านบาท หลายครั้งเพราะส่วน ต่อขยายสายใต้ (แบริ่งสมุทร ปราการ) เปิดมา 2 ปี ขณะสายเหนือ (หมอชิต-วัดพระศรีมหาธาตุ) เปิดให้บริการ 7-8 เดือนยังไม่เก็บค่าโดยสารจากประชาชน