“อิตาเลียนไทย”โผล่ ซื้อซอง ชิง "รถไฟฟ้าสายสีส้ม" พาร์ทเนอร์ "ไฮสปีดซีพี"

13 ก.ค. 2563 | 14:34 น.

 ขายซองชิง  “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” วันที่2  “อิตาเลียนไทย” โผล่ซื้อ  เพิ่ม   ดีกรี 1ในพันธมิตร ไฮสปีด ซีพี ร่วมกับบีอีเอ็ม   เผย 2วัน รวม 5 ราย เมื่อรวมวันแรก  4 ราย  “บีทีเอส –บีทีเอสซี- ซิโน-ทัย –บีอีเอ็ม” ดีเดย์ 23ก.ย. ลุ้นสนุก ใครยื่นซอง –ใครจับขั้วใคร แย้ม ซอง ราคา สำคัญสุดใครให้รัฐมากสุด

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดขายเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Documents: RFP)  ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วันที่ 2 (วันที่ 13 กรกฎาคม 2563)  มีเอกชนให้ความสนใจซื้อซองเพิ่ม จำนวน 1 ราย ได้แก่ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และเมื่อรวมจำนวนตั้งแต่วันแรกที่เปิดขายเอกสารฯ มีผู้ให้ความสนใจติดต่อขอซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ จำนวนทั้งสิ้น 5 ราย ดังนี้

1. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

2. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

3. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

4. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

5. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ รฟม.เปิดขายซอง ในราคาซองละ 1ล้านบาท แต่  เอกชน จะกลับมายื่น ประมูลตามกำหนด ในวันที่ 23 กรกฎาคม หรือ ไม่ขึ้นอยู่ที่ว่าให้ความสนใจรถไฟฟ้าเส้นนี้มากน้อยแค่ไหน

สำหรับ บมจ .อิตาเลียนไทย  เป็นบริษัทรับเหมารายใหญ่  มีงานโครงการขนาดใหญ่ภาครัฐในมือหลายรายการ รวมถึงเค้ก จัดซื้อจัดจ้าง  รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ( ช่วงศูนย์วัฒนธรรม –มีนบุรี ) สัญญาที่ 3  งานโยธาใต้ดินช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า  วงเงิน  18,655.7 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้าง มองว่าเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่เชี่ยวชาญ งานอุโมงค์ใต้ดิน  ที่น่าจับตายิ่ง  สำคัญท่ี่สุดยังเป็นหนึ่งในพันธมิตร โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ –อู่ตะเภา ) กับกลุ่มซีพี เช่นเดียวกับบีอีเอ็ม และบีอีเอ็ม เองเป็นคู่สัญญากับรฟม.มาอย่างยาวนาน สำหรับ MRTใต้ดินสายสีน้ำเงิน  และส่วนต่อขยาย รวมถึงการรับจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง

ขณะ ซีกบีทีเอสกรุ๊ป เคยมีประสบการณ์ให้ผลตอบแทนรัฐสูง อย่างรถไฟฟ้า สายสีเหลือง, สายสีชมพู  ของรฟม. และ  มหานครการบิน อู่ตะเภา  ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี  แม้ กลุ่มบีทีเอสจะออกมายอมรับว่าไม่มีประสบการณ์ด้านการขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน แต่หากได้พันธมิตรที่มีขีดความสามารถด้านนี้ถือว่าน่าจะสอบผ่าน  

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข รองผู้ว่าการด้านวิศวกรรมและก่อสร้าง รฟม. ระบุว่า รฟม.เปิดกว้างให้เอกชนผู้สนใจ ซื้อซองประมูลไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วง บางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์)  ระยะทาง 35.9กิโลเมตร มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท  ทั้งไทยและต่างชาติที่จอยเวนเจอร์กับบริษัทรับเหมาก่อสร้างของไทย  การกำนหดระยะเวลาขายเอกสารฯ (วันที่ 10-24 กรกฎาคม)มีเวลาค่อนข้างมาก เชื่อว่า เอกชนจะเดินทางมาติดต่อซื้อซองอย่างต่อเนื่อง  

"ช่วงการเปิดขายซองใครซื้อ บ้าง มองว่า ไม่น่าสนใจเท่า วันยื่นซองประมูล(วันที่23กันยายน) มีใครยื่นบ้างที่น่าจับตา มีเพียง2ราย  ที่ เชี่ยวชาญและช่วงชิงกันมาตลอด  แต่ เอกชนรายใดจะจับขั้วกับใคร คงได้เห็นในวันดังกล่าว"

สำหรับการเปิดเอกชนร่วมลงทุนรฟม.จะรวม งานโยธาและการเดินรถ สายสีส้ม (บางขุนนนท์- มีนบุรี ) ระยะทาง 35.9กิโลเมตร มูลค่า 1.4แสนล้านบาท ไว้ด้วยกัน แยกเป็น การเดินรถ 3หมื่นล้านบาท  และงานโยธา รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ( บางขุนนท์ –มีนบุรี) 1.1แสนล้านบาท   

แยก 4 ซอง ได้แก่ ซอง1.คุณสมบัติ ซอง2. เทคนิกซอง3. ราคา และซอง4. ข้อเสนอพิเศษ ทั้งนี้  เรื่องคุณสมบัติเข้าใจว่า น่าจะผ่านแทบทุกราย  แต่ ซองสำคัญที่สุดคือ ซอง3 ราคาหากรายใด ให้ผลตอบแทน รฟม.ดีที่สุด เอกชนรายนั้นจะได้โครงการนี้ไป  ส่วนซอง 2.ซองเทคนิกหาก ได้พันธมิตรที่ชำนาญด้านอุโมงค์ ถือว่า น่าจะผ่านไปได้ คาดว่าภายในเดือนตุลาคม น่าจะ ทราบว่าใครชนะประมูล