"ทำลายก็ฟื้นได้" อาคาร "บอมเบย์ เบอร์มา"แพร่ อายุ131ปี

27 มิ.ย. 2563 | 09:51 น.

“ต่อตระกูล ยมนาค”โพสต์เฟซบุ๊ก  “ เมื่อมีผู้ทำลาย ก็จะมีผู้สร้างสรรค์ปรากฏ”หลังสำนักศิลปากรที่ 7ทำภาระกิจใหญ่ นำอาคารบอมเบย์ เบอร์มา อายุ 131ที่เหลือแต่ซากพลิกกลับมาฟื้น เหมือนเดิม

 

 

 

 

 

"ทำลายก็ฟื้นได้" อาคาร "บอมเบย์ เบอร์มา"แพร่ อายุ131ปี

วันที่ 27 มิถุนายน รศ. ต่อตระกูล ยมนาค นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวว่า “ เมื่อมีผู้ทำลาย ก็จะมีผู้สร้างสรรค์ปรากฏ”  เมื่อคณะผู้เชี่ยวชาญจากสำนักศิลปากรที่ 7 เดินทางจากจังหวัดเชียงใหม่ มายังจังหวัดแพร่ เพื่อทำภารกิจ นำอาคาร บอมเบย์ เบอร์มา อายุ 131 ปีให้กลับคืนมา  หลังจาก ถูกทุบทิ้งทำลาย ด้วยงบที่ขอไปเพื่อบูรณะ !อาคารเดิมมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์การทำป่าไม้สัก ของ จังหวัดแพร่ และของประเทศไทยที่เคยมีไม้สักเป็นรายได้เข้าประเทศสำคัญ มีประเทศอังกฤษมหาอำนาจในยุคนั้นถึงกับเข้ามาตั้งสาขาทำป่าไม้ที่จังหวัดแพร่ เริ่มเห็นผลงานชิ้นแรกของขบวนการการบูรณะ จากความพยายามที่นำชิ้นส่วนลายฉลุไม้หน้าบัน ที่ถูกรื้อแตกเป็นชิ้นเล็กๆถูกทิ้งกระจัดกระจายเป็นขยะรอบๆบริเวณ แล้ว นำมาค่อยๆต่อแบบจิ๊กซอว์ จนได้เป็นรูปร่างหนัาบันเดิมแล้ว

"ทำลายก็ฟื้นได้" อาคาร "บอมเบย์ เบอร์มา"แพร่ อายุ131ปี

“ เสาร์สรรสร้าง เสาร์นี้ “ผมขอเสนอขบวนการและขั้นตอนการอนุรักษ์และบูรณะ อาคารและสิ่งก่อสร้างโบราณ ที่ถูกต้องเป็นตัวอย่าง รศ.ต่อตระกูลกล่าว

"ทำลายก็ฟื้นได้" อาคาร "บอมเบย์ เบอร์มา"แพร่ อายุ131ปี "ทำลายก็ฟื้นได้" อาคาร "บอมเบย์ เบอร์มา"แพร่ อายุ131ปี

สำหรับการซ่อมอาคารศูนย์เรียนรู้การป่าไม้แพร่ หรืออาคารบอมเบย์ เบอร์มา  ปรากฎเป็นข่าวคึกโครม ก่อนหน้านี้   เมื่อสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่ รายงานว่า ตามที่สวนรุกขชาติเชตวัน สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ดำเนินการของบประมาณจากจังหวัดแพร่ เพื่อดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารศูนย์เรียนรู้การป่าไม้ ภายในสวนรุกขชาติเชตวัน (อาคารบอมเบย์เบอร์มา)ซึ่งเป็นอาคารเก่าแก่สร้างขึ้นราวปี 2432 หรือ 125 ปี ซึ่งอาคารนั้นถือว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในเรื่องของการทำไม้ของประเทศไทยมายาวนาน โดยบริษัท อิสต์เอเชียติก เป็นบริษัทหนึ่งที่ทำไม้ในเขตภาคเหนือตอนบน ได้สร้างอาคารบ้านพัก สำนักงาน ที่พักคนงาน เป็นที่รวมไม้ซุง ก่อนจะล่องซุงไปตามแม่น้ำยมลงไปยังภาคกลางและกรุงเทพฯ ในอดีต

       

 

 

 

ก่อนหน้านี้ นายอิศเรศ สิทธิโรจนกุล ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) ซึ่งกำกับดูแลสวนรุกขชาติเชตวัน กล่าวว่า ทางสวนรุกขชาติเชตวัน เห็นว่าอาคารไม้ดังกล่าวมีสภาพชำรุดทรุดโทรม จึงได้ของบประมาณจากจังหวัดแพร่ เพื่อทำการซ่อมแซมปรับปรุงให้มั่นคงแข็งแรง โดยของบตั้งแต่ปี 2561 จนได้รับการอนุมัติงบประมาณในปี 2563 จำนวน 6.7 ล้านบาท ซึ่งจังหวัดแพร่ได้มอบอำนาจให้กับอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบ มีราคากลาง 5.3 ล้านบาท มีผู้ดาวน์โหลดแบบประมูลไป 23 ราย แต่มายื่นประมูล 3 ราย โดยมีห้างหุ้นส่วนจำกัดแพร่โกสินทร์ก่อสร้างชนะการประมูลที่ราคา 4,560,000 บาท และจากโครงการซ่อมแซมปรับปรุงอาคารไม้เก่า 125 ปี กลับกลายเป็นถูกรื้อถอนออกจนไม่เหลือสภาพเดิม ส่งผลให้ชาวจังหวัดแพร่ที่เห็นอาคารไม้นี้ ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ควบคู่กับการทำไม้ของจังหวัดแพร่ในอดีต ซึ่งมีผลต่อจิตใจของชาวจังหวัดแพร่เป็นอย่างยิ่ง เกิดความไม่พอใจในการกระทำดังกล่าว

 

ขณะล่าสุดนางกานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อมีคนทำลายก็สามารถ ฟื้นให้กลับคืนมาได้ โดยวิธีที่ถูกต้อง