เร่งแผนพัฒนาเมืองเชียงใหม่

25 พ.ย. 2560 | 07:18 น.
กกร.ผนึกสมาคมอสังหาริมทรัพย์และบริษัทพัฒนาเมืองเร่งกำหนดร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่พร้อมหาที่ตั้งศูนย์เศรษฐกิจในอนาคต เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถวางกลยุทธ์ทางธุรกิจและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง

นายฐาปนา บุณยประวิตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทยและอุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย เปิดเผยว่า ได้มีการประชุมยกร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ครั้งที่ 1 ของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชนจังหวัดเชียงใหม่ (กกร.เชียงใหม่) ร่วมกับสมาคมอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่ และบริษัท เชียงใหม่พัฒนาเมือง จำกัด เพื่อให้ได้เห็นภาพกรอบการพัฒนาเมืองและการยกระดับเศรษฐกิจของเมืองเชียงใหม่ที่ชัดเจนมากขึ้น

[caption id="attachment_233962" align="aligncenter" width="377"] ฐาปนา บุณยประวิตร ฐาปนา บุณยประวิตร[/caption]

โดยในครั้งนี้นอกจากได้มีการบรรยายเกณฑ์ Smart Growth ที่ใช้ในการออกแบบยุทธศาสตร์เมืองแล้ว ยังมีการเสวนาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆ และการปฏิบัติการ Chiangmai Public Hand-on Workshop เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา และตำแหน่งที่ตั้งศูนย์เศรษฐกิจในอนาคตอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถวางกลยุทธ์ทางธุรกิจและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ ได้อย่างถูกต้องต่อไป

สำหรับสาระสำคัญในการหารือร่วมกันครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของจังหวัดเชียงใหม่ที่เห็นว่าจำเป็นจะต้องปรับปรุง ฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานเมืองเชียงใหม่ให้ได้มาตรฐานก่อน ต่อจากนั้นจึงค่อยจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนา โดยพิจารณาว่าสาขาเศรษฐกิจใดจะเติบโตในอนาคตและเป็นสาขาที่มีผลกระทบต่อการสร้างงานและจ้างงานสูงก็ให้เพิ่มลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในสาขานั้นให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นการลงทุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว

บาร์ไลน์ฐาน “อย่างไรก็ตาม เท่าที่ประเมินจากเกณฑ์ LEED-ND และ Smart Growth พบว่า ระดับโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดเชียงใหม่ส่วนใหญ่ตํ่ากว่ามาตรฐาน ที่เห็นได้ชัด เช่น จังหวัดเชียงใหม่การขาดแคลนระบบขนส่งมวลชนอย่างรุนแรง ประชาชนขาดทางเลือกในการเดินทาง จำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในการสัญจรทำให้เกิดการคับคั่งการจราจรอย่างหนักดังที่เป็นอยู่ในวันนี้”

นายฐาปนากล่าวอีกว่า ในแง่ของการบริหารจัดการเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจเชียงใหม่ปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถระบุตำแหน่ง ที่ตั้งของศูนย์เศรษฐกิจซึ่งเป็นสถานที่สร้างมูลค่าเศรษฐกิจแก่จังหวัดและเป็นพื้นที่สร้างงานและจ้างงาน ทำให้ไม่สามารถวางกลยุทธ์การพัฒนาโครงสร้างได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นข้อเสนอสำคัญ ก็คือ เชียงใหม่จะต้องกำหนดที่ตั้งและขอบเขตของศูนย์เศรษฐกิจให้ได้โดยเร็วพร้อมลงทุนโครงสร้างในพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจให้เพียงพอต่อการลงทุนทางธุรกิจ และลงทุนระบบการเชื่อมต่อระหว่างศูนย์เศรษฐกิจด้วยระบบขนส่งมวลชน

ต่อจากนั้นให้กำหนดกิจกรรมเศรษฐกิจภายในศูนย์เศรษฐกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนามูลค่าทางเศรษฐกิจที่ได้กำหนดขึ้น

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์ “หากดำเนินการเช่นนี้ได้ เชียงใหม่จะมีทิศทางการพัฒนาที่ถูกต้อง ผู้ประกอบการจะทราบพื้นที่ลงทุนและทราบขนาดการลงทุนที่สอดคล้องกับการรองรับของโครงสร้างพื้นฐานและความต้องการของตลาดได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น”

ด้านนายโชติศักดิ์ อาสภ วิริยะ กล่าวว่า เชียงใหม่เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ มีชุมชนดั้งเดิมและชุมชนเกิดใหม่กระจายตัวอยู่ทั่วทั้งจังหวัด ดังนั้นในการจัดวางยุทธศาสตร์การพัฒนาพบว่าจะประสบกับความยากลำบากต่อการรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนอย่างครบถ้วน ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องจัดทำ platform ในการระดมความเห็นจากทุกภาคส่วนเป็นการเฉพาะเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนและรวดเร็วขึ้นนั่นเอง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,316 วันที่ 23 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1