ที่ดินรังสิตโซนเหนือบูม คาดรถไฟฟ้าดันทะลุ2แสนต่อตารางวา

29 ส.ค. 2560 | 04:32 น.
อสังหาฯรังสิตโซนเหนือกระเพื่อมรับรถไฟฟ้าสายสีแดงและไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน โครงการผุดใหม่เพียบ ยังมีที่ดินแปลงใหญ่รอดีเวลอปเปอร์รายใหญ่ช็อป กูรูผังเมืองหนุนเร่งพัฒนา Northern Suburban Growth หนุนปั้นศูนย์ราชการและเมืองการศึกษา ขณะราคาที่ดินเริ่มขยับ เซียนประเมินชี้มีสิทธิทะลุ 2 แสนอัพ หากครม.ไฟเขียวสายสีแดงส่วนต่อขยาย

พื้นที่ในย่านรังสิตเป็นโซนที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ให้ความสนใจ ก่อนที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงจะเริ่มก่อสร้าง จนถึงปัจจุบันการก่อสร้างคืบ
หน้าถึงขั้นเห็นเส้นทางและสถานีจากบางซื่อถึงรังสิตแล้ว นอกจากนี้ในอนาคตเส้นทางสายนี้จะขยายช่วงถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต รวมถึงจะมีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินด้วย

จากการลงพื้นที่ของ “ฐานเศรษฐกิจ” พบว่า ตั้งแต่ตลาดสี่มุมเมืองเรื่อยไปจะมีป้ายโฆษณาโครงการอสังหาริมทรัพย์เกิดหนาแน่นมากกว่าช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาทิ โครงการพลัม คอนโด ของบริษัท พฤกษา เรียลเอส เตท จำกัด (มหาชน) โครงการบ้านบุรีรมย์ของค่ายลลิลพร็อพเพอร์ตี้ และของผู้ประกอบการในพื้นที่ เช่น โครงการเดอะควิกซ์ ไลท์ โครงการชีวารมย์

MP29-3291-A นอกจากนั้นช่วงเลยจากศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ผ่านมหาวิทยาลัยกรุงเทพไปถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตยังมีโชว์รูมจำหน่ายรถ
ยนต์โตโยต้า เชฟโรเลต ห้างโลตัส ปั๊มนํ้ามันเอสโซ่ ปั๊มปตท. ปั๊มนํ้ามันเชลล์ โดยเฉพาะเมื่อผ่านจากสถานีบขส.รังสิต ก็จะเข้าสู่พื้นที่ที่ดินแปลงใหญ่รอ
การพัฒนาอย่างที่ดินบสก. มีพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของกลุ่มเทยิ่นโพลีเอสเตอร์ หรือที่ดินของกลุ่มรังสิตโพสเตอร์เอสเตท หรือแม้กระทั่งศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อการก่อสร้างขนาดใหญ่อย่างบุญถาวร และเมกะโฮมก็เปิดสาขาในโซนนี้รองรับไว้เรียบร้อยแล้ว

นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด เปิดเผยว่า ราคาที่ดินปัจจุบันยังตํ่ากว่าระดับหลักแสนบาทต่อตารางวา แต่ก็ยังถือว่าสูงกว่าช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หากเทียบกันระหว่างตลาดรังสิตกับตลาดบางใหญ่จะพบว่า ราคาห่างกันอย่างมาก แต่หากมองในอนาคตจะเห็นว่ารังสิตโซน
เหนือมีความน่าสนใจ เนื่องจากการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต อีกทั้งในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้ายังจะมีแผนเสนอสร้างส่วนต่อขยายไปถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะมีส่วนผลักดันให้ราคาที่ดินปรับเพิ่มสูงตามไปแน่ๆ

“ปัจจุบันพื้นที่รังสิต คลองหลวง ปทุมธานี ตามแนวถนนพหลโยธินยังถือว่าอยู่ในระดับหลักแสนบาทต่อตารางวา แต่หากมีการเปิดให้บริการสาย
สีแดง หรือไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน อีกทั้งยังมีการอนุมัติให้ก่อสร้างส่วนต่อขยายไปถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ราคาที่ดินมีลุ้นว่าจะปรับขึ้นไปแตะหลัก 2 แสนบาทต่อตารางวา และมีแนวโน้มจะดึงการพัฒนาพื้นที่ได้มากกว่าพื้นที่บางใหญ่ได้อีกด้วย โดยเฉพาะช่วง 10 ปีหลังจากนี้เมื่อระบบโครงข่ายรถไฟฟ้าเสร็จสมบูรณ์ ยิ่งที่ดินแปลงใหญ่ที่ยังมีอยู่จำนวนมากมีการพัฒนาชัดเจนยิ่งขึ้นจะดึงความเจริญด้านการพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยในโซนพื้นที่ตามไปด้วย”

[caption id="attachment_105044" align="aligncenter" width="335"] ศาตราภิชาน รศ.มานพ พงศทัต แห่งภาควิชาเคหะการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาตราภิชาน รศ.มานพ พงศทัต แห่งภาควิชาเคหะการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[/caption]

ด้านรศ.มานพ พงศทัต ศาตราภิชาน ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “รัฐบาลควรจะเร่งพัฒนาพื้นที่รังสิตโซนเหนือให้เป็น Northern Suburban Growth เพื่อรองรับความเจริญของเมืองรูปแบบ Newtown เอาไว้ตั้งแต่วันนี้ ควรจะมีศูนย์ราชการเกิดขึ้นในพื้นที่เพราะพื้นที่นี้ครบครันด้วยมี 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำ ที่สามารถผลักดันให้เป็น Northern Education City ได้เลยทันที และมีโรงพยาบาล ศูนย์การค้า สนามกอล์ฟ ช็อปปิ้งมอลล์ ปั้ม นํ้ามัน”

รศ.มานพกล่าวและเสริมว่า “ประการสำคัญพื้นที่ถนนพหลโยธินขาออกไปจนถึงแนวการพัฒนาสายสีแดงและรอบสถานีสายสีแดงน่าติดตามความก้าวหน้ามากกว่าพื้นที่โซนถนนพหลโยธินขาเข้าที่ยังไม่มีแรงดึงดูดการพัฒนาสู้ขาออกได้ ดังนั้นหากสายสีแดงเปิดให้บริการเชื่อว่าการพัฒนาที่อยู่อาศัยคอนโดมิเนียมรอบสถานีและพื้นที่ตามถนนตรอกซอกซอยจะเกิดขึ้นตามมาแน่”

ฟากนายเซอิตะ ฮากิวาร่า กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคโตบูกิ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบการในพื้นที่ กล่าวว่า ด้วยการเล็งเห็นถึงศักยภาพการพัฒนาพื้นที่จึงได้ก่อสร้างโครงการขึ้น 1 โครงการในโซนพื้นที่ใกล้กับสนามกอล์ฟไพน์เฮิร์สท ภายใต้แบรนด์ kotobuki Park รูปแบบ New Style อพาร์ตเมนต์ ราคาเริ่มต้น 6.9 ล้านบาท อาคาร 3 ชั้น แต่ละอาคารมีจำนวน 10 ห้องนอน 11 ห้องนํ้า ขนาดที่ดิน 121 ตารางเมตร พื้นที่การก่อสร้าง 270 ตารางเมตร มูลค่าโครงการไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาทคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้และให้ผลตอบแทนสูงสำหรับผู้สนใจซื้อโครงการไปสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,291 วันที่ 27 - 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560