4 ทศวรรษ จากม็อบ 14 ตุลา 16 ถึงม็อบ 63 จุดร่วมที่หายไป

14 ต.ค. 2563 | 06:25 น.

 

รายการ “พูดตรง ๆ กับ 3 บก.” ดำเนินรายการโดย นายสมชาย มีเสน นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร และ นายบากบั่น บุญเลิศ ซึ่งออกอากาศเผยแพร่ทาง FB, Yutube  กรุงเทพธุรกิจ และ FB, Yutube ฐานเศรษฐกิจ ทุกวันศุกร์ เวลา 21.00 น. ในวันที่ 9 ต.ค. 2563 ที่ผ่านมา ได้วิเคราะห์การชุมนุมของกลุ่ม “คณะราษฎร 2563” ในวันที่ 14 ต.ค.2563 ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

 

3 บก. ตั้งคำถามว่า วันที่ 14 ต.ค. ม็อบประกาศว่าจะยกระดับการชุมนุมให้เป็นชุมนุมใหญ่ได้จริงหรือไม่ เพราะที่สำคัญเป็นการชุมนุมวันเดียวกับเมื่อ 47 ปีก่อน คือ 14 ตุลาฯ 2516 กับประวัติศาสตร์ชัยชนะของประชาชน  

 

ต่อ 2563 มา สถานการณ์และเหตุผลการชุมนุมไม่เหมือนกันเพราะฉะนั้นการเอารากประวัติการชุมนุมไม่เหมือนกัน เอามาทำได้หรือไม่ แต่ที่ชัดเจนแกนนำครั้งนี้ ประกาศยุทธวิธี และวาทกรรมออกมาว่าครั้งนี้ “ม้วนเดียวจบ” เพราะ อานนท์ นำภา แกนนำคณะราษฎร พูดว่าการชุมนุมครั้งนี้ม้วนเดียวจบ อาจจะไม่ใช่ครั้งเดียว แต่ต่อเนื่องจนเป็นม้วนเดียว  

 

จากสถานการณ์มวลชนที่จะมาร่วมชุมนุมในวันที่ 14 ต.ค. ในแง่มุมข่าวตอนนี้มีแค่ไหน จากฝ่ายมั่นคงประเมินจะมามีจำนวนหลักหมื่น จะน้อยกว่า 19 กันยาฯ  

 

ตอนนี้จำนวนไม่สำคัญเท่าประเด็น เพราะเขาร่วมคณะที่ต่อต้านคณะรัฐบาล ต้องเรียกว่า “คณะต่อต้านรัฐบาล” ออกมาเป็นเครือข่ายเดียวกันแล้ว จากการชุมนุมครั้งหลังสุด 19 กันยาฯ อันนั้นธรรมศาสตร์และการชุมนุมต้องบอกว่าไม่ประสบความสำเร็จ เพราะขาดแกนนำ ขาดความชอบธรรมของเนื้อหาด้วย และก็ไม่มีเครือข่ายอืนเข้าร่วม หมายถึงเครือข่ายที่จะเคลื่อนจริงๆ 

 

เมื่อวันที่ 8 ต.ค. ก็ระดมเครือข่ายมาแถลงข่าว มีนักเรียนเลว อุดมปฏิวัติ และประชาชนปลดแอก ซึ่งถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีในการชุมนุม เมื่อรวมกันจะเป็นเอกภาพ เหมือนพฤษภาทมิฬ ตอนแรกก็แยกกัน แต่ตอนหลังก็รวมกัน แต่หลังจากรวม กันเป็นเอกภาพ ความชอบธรรมในสาระ และในการเคลื่อนไหวก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง 

 

เขารวมกันแล้วเรียกตัวเองว่า “คณะราษฎร 63” ซึ่งเขาย้อนไปเมื่อ 88 ปีที่แล้ว 2475 ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ซึ่งตอนนั้นคณะราษฎรมารวมกันด้วยแนวคิดเพื่อปฏิรูปประเทศและมีการเสนอแผนเค้าโครงเศรษฐกิจ อาจารย์ ปรีดี พนมยงค์ 

 

คณะราษฎร 63 มีเค้าโครงเศรษฐกิจหรือไม่ 

 

การที่มาใช้ชื่อคณะราษฎร 63 ซึ่งชื่อนี้ฟังดูขลัง มีพลัง แต่ถามว่าการมาใช้ชื่อแบบนี้เหมือนในประวัติศาสตร์ มีเค้าโครงเศรษฐ มีความศักดิ์สิทธิ์ แต่การมาใช้ชื่อนี้มีเค้าโครง มีความเหมือนมากน้อยแค่ไหน (ไม่เหมือนโดยสิ้นเชิง) คือการเเปลี่ยนแปลงที่จะได้รับการเห็นชอบ ที่จะได้รับความร่วมมือในการเข้าร่วมจากประชาชน 

 

จากการแถลง (8 ต.ค.) ต้องให้ประชาชนเห็นว่าเดือดร้อน ต้องเปลี่ยนแปลง ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ต้องเสนอแนวทางว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร มีเค้าโครงเศรษฐกิจ ให้เขาอยู่ดีกินดีมากขึ้น จึงจะนำไปสู่การปฏิรูปได้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีจุดไหนแสดงให้ประชาชนเห็น ว่าจะอยู่ดีกินดี การไล่นายกฯ ออกมีนายกฯใหม่ไหม ที่จะทำให้อยู่ดีกินดี หรือแค่เอาตามความสะใจ หรือการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ทั้งหมด 3 ข้อนี้ ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีตรงไหน 

 

ถ้าไปดูคณะราษฎร 63 จากการแถลงการข้อเรียกแสดงจุดยืน ร้องหลักๆ มี 3 ข้อ 1. ไล่นายกฯออก 2. แก้ไขรัฐธรรมนูญ 3. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ มีความชอบธรรมอยู่เรื่องเดียวที่เห็น คือ รัฐธรรมนูญ เรื่องกดดันพรรคร่วมรัฐสภายื้อ และรัฐสภา โดยเฉพาะวุฒิสภา ที่เชื่อมโยงกับรัฐบาล 

 

 

 

ที่พูดว่าชอบธรรมเรื่องเดี่ยว เพราะมีการยื้อโดยรัฐสภาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีการตั้งคณะกรรมการ 31 คน ไปศึกษาว่าจะรับหรือไม่รับหลักการ ตั้งไปเกือบ 1 เดือน ประชุม 3 ครั้ง ซึ่งตอนนี้ไม่มีการตั้งคณะกรรมการ โดยบอกว่ารออนุกรรมการ และที่รู้มาอนุกรรมการของคณะกรรมาธิการทำหน้าที่ไปหา ที่เรียกว่า “ช่องลอด” หรือ “ช่องหมาผ่าน” ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญบอกว่าไม่ควรแก้ ตอนนี้ข่าวเป็นอย่างนี้ แล้วก็จะเอาเรื่องนี้ให้ถกเถียงกันในสภา 

 

มีปัญหาเหมือนที่คุณไพบูลย์ นิติตะวัน บอกไหมว่าการเซ็นชื่อไม่ถูก เซ็นชื่อซํ้ากัน ซึ่งคุณชวน หลีกภัย วินิจฉัยไปแล้วในฐานะคณะกรรมการว่า ญัตติติถูกต้อง และยังหาช่องอีก อันนี้การแก้แบบนี้มันไปเปลี่ยนแปลงญัตติแก้ธรรมนูญ เพราะฉะนั้นต้องยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พูดง่ายๆ คือ “ยื้อ” 

 

ถ้าคณะกรรมการ อนุกรรมการ 36 คน ทั้งหลายต้องกลับไปอ่านรัฐธรรมนูญให้ดีศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยได้ก็ต่อเมื่อ ถ้าร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างกฎหมายผ่านรัฐสภาแล้ว ซึ่งถ้าอยู่ๆ ยืนไปโดยไม่ผ่าน จะถือว่าไม่ถือเป็นข้อขัดแย้งขององค์กร เพราะว่าเขาจะไม่รับวินิจฉะเรื่องที่เป็นจิตนาการ และไปดูรัฐธรรมนูญบอกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ มีช่องเดียวที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก็คือเมื่อร่างแล้วผ่านสภา กับก่อนนำขึ้นทูลเกล้า มีสมาชิกรัฐสภา น้อยกว่า 1 ใน 10 เห็นว่าน่าจะขัดกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ควรยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 

 

 

 

4 ทศวรรษ จากม็อบ 14 ตุลา 16 ถึงม็อบ 63 จุดร่วมที่หายไป

 

 

ข้อนี้ดูมีความชอบธรรม ที่มอบชุมนุมในวันที่ 14 ตุลาฯ ส่วนที่เรียกร้องให้นายกฯ ลาออก ก็ต้องชี้ว่าทำไมควรต้องออก อยู่ๆ บอกให้ พล.อ.ประยุทธ์ ลาออก เพราะมาจากรัฐประหาร สืบทอดอำนาจไม่ได้ เพราะมาจากการเลือกตั้ง แต่สมาชิกรัฐสถาเลือกแล้ว พรรค การเมือง “เกินครึ่ง” เลือก พล.อ.ประยุทธ์ จะบอกว่าวุฒิสภาเลือกอย่างเดียวไม่ได้ ถ้าส.ส.ไม่ถึง 251 เสียง เลือกพล.อ.ประยุทธ์ ต่อให้วุฒิสภาทั้งหมดเลือกมาก็ถือว่าไม่ชอบธรรม ซึ่งต้องแก้กติกาข้อนี้สมมุติว่าไม่เอาวุฒิสภาเลย เอาแค่ ส.ส.เกินครึ่ง 251 เสียงแล้วเลือก ถึงเกิน 251 เสียง แล้วยังไงเขาก็มาโดยระบอบประชาธิปไตรแล้ว 

 

ถ้าหากถามว่าการบริหารของ พล.อ.ประยุทธ์ ล้มเหลวหรือไม่ ในแง่ของการป้องกันดูแลชีวิตผู้คน อันนี้โลกเขาเป็นคนบอกเองว่าเป็นอันดับ 1 ต่อมาเรื่องการจัดการบริหารประเทศ ทุจริตหรือไม่ อันนี้ก็เปิดแผลไม่ได้แม้มีบาง แต่ผู้เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ ลาออก ต้องบอกว่าทุจริตเรื่องไหน ไม่ชอบธรรมให้เห็น แล้วเกี่ยวของกับ พล.อ.ประยุทธ์ หรือไม่ ก็ต้องชี้ชัดว่ามีส่วนร่วม 

 

 

3 บก. ระบุต่อไปว่า ข้อเรียกร้องของ “คณะราษฎร 63” ใน 3 ประเด็น “ถ้าเป็นผลไม้ต้องเรียกว่ายังไม่สุกงอม” ที่จะจูงให้คนเข้าไปเป็นแนวร่วม ยังไม่ทำให้เป็นจุดร่วม จากการเรียนรู้จากม็อบทั้งหมดที่ผ่านมาว่า ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนเเปลง ทุกคนต้องร่วม ไม่ใช่แค่ม็อบเดิน เนื้อหาสำคัญ แกนนำสำคัญ วิธี จังวะสำคัญ  

 

อีกเรื่องคือ ถ้าจะอ้างเรื่อง คณะราษฎร 63 เป็นสัญลักษณ์การทำวิธีปักหมุดที่ผ่านมา 19 กันยาฯ คือทำพิธีเล่นๆ ใสๆ ของแบบนี้เขาเรียกว่า “ปลอม” พิธีองซีเรียส จริงจัง อย่างปี 2475 มันมีเรื่องราวมันน่าเชื่อถือ หากจะก็อปความคิดของคนต้องจริงจัง และต้องก็อปพรีเมี่ยม 

 

ส่วนเรื่องจะกล่าวหาว่า พล.อ. ประยุทธ์ ทุจิต ต้องเชื่อมโยงมาให้ได้ ส่วนเรื่องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ มีปัญหาไหม มี แต่ผู้เรียกร้องต้องมีข้อเสนอ ต้องเสนอแนวทางการแก้ปัญหา หากไม่มีทางแก้ที่ดีกว่า ใครจะไปร่วม ต้องแบบคุณปิยบุตร แสงกนกกุล ที่เสนอแนวทางการแก้ไขแบบฝรั่งเศษต่างๆ ดังนั้น กรรมกร คนชั้นกลางเลยเข้าร่วม ว่าไปแนวทางนี้ชีวิตฉันจะดีขึ้น  

 

การที่คนไปร่วมการชุมนุม กลายเป็น Some Body กลายเป็นที่ยอมรับของเด็กและชุมชนในโซเชียลมีเดีย แต่เป็นที่ยอมรับของประชาชนไหม แต่แนวคิดเหล่านี้มันไม่ตอบโจทย์ ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ยิ่งเกิดการชักจูงจากฝ่ายการเมืองที่สนับสนุน โดยเฉพาะทีมสนับสนุนฝ่าย “แดง” ชัดเจนที่สุดที่ แดงมากกว่าเด็ก แต่บางส่วนก็ถอยห่างออกไป แต่บางส่วนจะมา อีสานตอนนี้แตกแล้ว

 

3 บก.ยํ้าว่า เคยบอกว่าอย่ายุ่งกับสถาบันกษัตริย์ เพราะเป็นตัวกันให้ประชาชนที่อยากเข้าร่วมการเปลี่ยน แปลง ไม่มาเข้าร่วม ซึ่งบทบาทของสถาบันกษัตริย์ช่วยเหลือคนทุกข์ยากมาโดยตลอด เช่น นํ้าท่วม การก่อการร้าย หรือแม้แต่โควิด-19 ท่านก็ทรงช่วย เมื่อมาเทียบกับเหล่าแกนนำที่เสนอตัว บทบาทมันเทียบกันไม่ได้เลย เมื่อถามแกนนำเหล่านี้เคยทำอะไรบ้าง 

 

“คณะราษฎร 63 ยังมีเวลาปรับตัว ที่เน้นเชิงสัญลักษณ์เกินไป ง่ายๆ ก็คือ เน้นการตลาดมากกว่าโปรดักส์ 

 

แต่อย่าประมาท เพราะเคยเกิดเหตุการอย่างนี้มาที่เรียกว่า ปรากฏการณ์ “ผีเสื้อ ขยับปีก” ที่สิ่งเล็กๆ จะส่งผลกระทบได้ในวงกว้าง เช่น เมื่อเห็นว่าไม่มีคนเข้าร่วมก็จะปราบเลย ไปจับติดคุก มันจะกลายเป็นการย้อนรอย 14 ตุลาฯ 2516 ที่เกิดจากการไปจับแกนนำ 13 นักศึกษาที่เขาเรียกร้องว่ารัฐบาลใช้อำนาจโดยมิชอบ 

 

 

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,618 หน้า 10 วันที่ 15 - 17 ตุลาคม 2563