เบื้องหลัง ศูนย์ฯโควิด “ปวดหัว” ศึกใหญ่หลังสงกรานต์

26 มี.ค. 2563 | 12:38 น.

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ (26มี.ค.) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ใช้เวลาตั้งแต่เวลา 09.30 – 13.30 น. หรือ 4 ชั่วโมงในการประชุม “ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด19. ) หรือ ศบค. ซึ่งมีการเปลี่ยนชื่อของศูนย์จากที่พลเอกประยุทธ์ระบุว่าศูนย์นี้จะชื่อศูนย์ศอฉ.โควิด

เบื้องหลัง ศูนย์ฯโควิด “ปวดหัว” ศึกใหญ่หลังสงกรานต์

โดยในการประชุมมีรัฐมนตรีที่ร่วมประชุมด้วย อาทิ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) รวมถึงปลัดกระทรวงและผบ.ทหารสูงสุดที่เป็นผู้รับผิดชอบงานในแต่ละด้าน รวมถึงหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

เบื้องหลัง ศูนย์ฯโควิด “ปวดหัว” ศึกใหญ่หลังสงกรานต์

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเปิดการประชุมว่า ขณะนี้การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อยู่ในสถานการณ์ระดับที่รัฐบาลต้องใช้ การประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมอำนาจการบริหาร ออกข้อกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาด ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสังคมและประชาชน ในช่วงนี้ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะสามารถ แก้ไขปัญหาลดการแพร่ระบาดได้ จึงจำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างเข้มงวด พร้อมกันนี้ได้มอบแนวทางการปฏิบัติ เพื่อขับเคลื่อนการทำงาน โดยสั่งการให้ผู้รับผิดชอบตามภาระหน้าที่จัดทำแผนดำเนินงานให้เรียบร้อย พร้อมเดินหน้าบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนของสังคม ซึ่งรวมถึงนักวิชาการและภาคประชาชนด้วย ขณะที่เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ ประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จะต้องเหน็ดเหนื่อยเพิ่มขึ้น

เบื้องหลัง ศูนย์ฯโควิด “ปวดหัว” ศึกใหญ่หลังสงกรานต์

“ขอให้ช่วยกันสร้างความเชื่อมั่นทางการแพทย์ของไทย เผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อลดข่าวปลอม ทั้งให้กระทรวงพาณิชย์ เข้าไปดูแลและแก้ไขปัญหา เรื่องอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะเรื่องการนำเข้าจากต่างประเทศ”

 

จากนั้นพลเอกประยุทธ์ ก็ได้แต่งตั้งให้นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งนั่งติดกับ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นโฆษกศูนย์ศบค. จากนั้น พลเอกประยุทธ์ให้แนวทางการทำงาน 6 ข้อ คือ 1.ให้ผู้รับผิดชอบงานแต่ละด้านเสนอแผน และแนวทางปฏิบัติโดยละเอียด 2. ให้บูรณาการจัดระบบความร่วมมือดึงทุกภาคส่วนในสังคม  

เบื้องหลัง ศูนย์ฯโควิด “ปวดหัว” ศึกใหญ่หลังสงกรานต์

3. ติดตามผลกระทบที่เกิดกับประชาชนทุกกลุ่มจากการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และเสนอแนวทางแก้ปัญหาพร้อมกับมาตรการเยียวยา  4.ให้ความเชื่อมั่นระบบการแพทย์ต่อประชาชน พร้อมระดมสรรพกำลัง ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ทั้งจากรัฐและเอกชน ซึ่งวันนี้ที่ประชุมเน้นย้ำเรื่องเวชภัณฑ์ สถานพยาบาล ที่ขาดแคลนไม่เพียงพอต่อความต้องการจึงต้องประสานกับภาคส่วนต่างๆทั้งกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ เพื่อละในข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการนำเข้า 

5. เน้นสื่อสารในยามวิกฤติ ประสานผู้เชี่ยวชาญ นักชิชาการ และสื่อมวลชน เพื่อให้ความรู้กับประชาชน โดยเฉพาะการเว้นระยะห่างของบุคคลในสังคม   และ 6. เรื่องงบประมาณขอให้ทุกส่วนราชการ ปรับแผนโครงการ เพื่อเน้นเพิ่มประสิทธิภาพงานด้านสาธารณสุข

และต่อจากนั้นปลัดกระทรวงหัวหน้าผู้รับผิดชอบในแต่ละด้านได้นำเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เริ่มจาก นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบ “ด้านสาธารณสุข” พูดถึงเรื่องอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการใช้รักษาและดูแลสถานการณ์ ซึ่งบางอย่างยังติดปัญหาที่ปัญหาการนำเข้า เรื่องภาษี และการจัดส่ง ซึ่งถูกแก้ไขแล้ว  และต่อจากนั้นพลเอกประยุทธ์ให้แนวทางการประชุมของศบค. ในช่วงแรกๆให้มีประชุมทุกวัน วันละ 1 ชั่วโมง เพื่อติดตามงานแบบไม่ให้รบกวนเวลาการปฏิบัติงานของทุกคนที่ต้องกลับไปปฏิบัติ  

เบื้องหลัง ศูนย์ฯโควิด “ปวดหัว” ศึกใหญ่หลังสงกรานต์

แหล่งข่าวในที่ประชุม ยืนยันว่า ในที่ประชุมไม่ได้พิจารณาออกข้อกำหนดเพิ่มเติม รวมถึงเรื่องการออกเคอร์ฟิวหรือห้ามประชาชนออกจากบ้านในเวลาที่กำหนด ยังไม่ได้มีการหารือในที่ประชุมวันนี้ แต่ก็มีการเสนอแนวทางต่างๆมีการเสนอมาหลากหลาย เพื่อเป็นทางเลือกจากมาตรการเบาไปหาหนัก โดยจะพิจารณจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น หากประชาชนให้ความร่วมมือก็อาจจะไม่ต้องใช้มาตรการที่เด็ดขาดให้ประชาชนเดือดร้อนกว่านี้”

นอกจากนี้ ที่ประชุม ในส่วนของกระทรวงต่างประเทศ ได้แสดงความคิดเห็นและเป็นห่วงสถานการณ์ตามแนวชายแดนรอบประเทศเป็นพิเศษ ที่ย้ำให้ทุกฝ่ายจะต้องมีความระมัดระวัง และดูแลปัญหานี้ โดยเฉพาะต่อกรณีการเคลื่อนย้ายของกลุ่มแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก จะเดินทางกลับเข้าประเทศไทยช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ คือจะต้องมีการคัดกรองและตรวจสอบอย่างเข้มข้น เพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำเติมสถานการณ์การแพร่ระบาดในไทย

เบื้องหลัง ศูนย์ฯโควิด “ปวดหัว” ศึกใหญ่หลังสงกรานต์

“ที่ประชุมมีการประเมินแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยและจำนวนคาดการณ์ถึงวันที่ 15 เมษายน 2563 หากประชาชนร่วมมือในการเว้นระยะห่างหรือ Social distancing ได้จริงจังขึ้นได้ถึง 80 % ก็อาจจะมีผู้ป่วยสะสมจำนวน 7, 745 ราย แต่หากประชาชน ร่วมมือในการเว้นระยะห่างไม่ถึง 50 % จะมีผู้ติดป่วยสะสม 17, 635 ราย และถ้าเลวร้ายมากคือ ไม่มีมาตรการป้องกันจะทำให้มีผู้ป่วยสะสมถึง 25,225 ราย”

เบื้องหลัง ศูนย์ฯโควิด “ปวดหัว” ศึกใหญ่หลังสงกรานต์

ด้าน พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะผู้ประสานงานทั่วไปของศูนย์ศบค. เปิดเผยว่า การประชุมวันนี้เป็นการหารือถึงภาพรวมข้อกำหนดต่างๆที่มีผลบังคับใช้แล้ว รวมทั้งเน้นข้อกำหนดต่างๆที่มีผลบังคับใช้แล้วและยังมีข้อกำหนดบางอย่างที่ยังไม่ชัดเจน โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติจะทำการชี้แจงต่อสาธารณะ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ส่วนต่างๆ ที่ประจำอยู่ตามจุดตรวจ(ด่าน) จะแจ้งอีกครั้ง อย่างกรณีการเดินทางข้ามจังหวัดที่ในข้อเท็จจริงไม่อยากจะให้มีการข้ามที่ไหน  แต่ถ้ามีความจำเป็น ต้องข้ามก็จะต้องเจอกับมาตรการที่เข้มข้น ทั้งการตรวจอุปกรณ์ในรถ การตรวจอุณหภูมิร่างกาย การตรวจบัตรประจำตัวประชาชน และถ้าตรวจพบว่ามีไข้ ก็จะส่งตรวจไปที่โรงพยาบาลทันที

“โดยหลักการไม่ต้องการให้เคลื่อนย้ายข้ามจังหวัด แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีการแพร่เชื้อจากจังหวัดสู่จังหวัด แต่ต้องการให้จำกัดการเคลื่อนไหวอยู่ในจังหวัดของตัวเอง แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องข้าม ก็จะถูกตรวจอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะความจำเป็นที่ต้องข้ามออกนอกพื้นที่ จึงขอร้องหากไม่จำเป็นอย่าเดินทางข้ามจังหวัด เช่นเดียวกับผู้สูงอายุ ก็ขอให้อยู่แต่ภายในที่พัก เพราะถ้าผู้สูงอายุติดเชื้อโรค อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิต”