ผ่าโครงสร้าง “ศอฉ.โควิด” ทหาร-ตำรวจ-พลเรือน ผนึกกู้วิกฤติ

26 มี.ค. 2563 | 03:45 น.

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงนามในคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563  เรื่อง แต่งตั้งผู้กํากับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ระบุว่า

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 แล้ว นั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 7 วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคหก และมาตรา 15 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรีจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ข้อ

1 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้กํากับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉิน พนักงานเจ้าหน้าที่ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ ฉุกเฉินข้อ

2 ให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยผู้กํากับการปฏิบัติงานของนายกรัฐมนตรีเรียง ตามลําดับการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีตามที่มีคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรีไว้แล้ว และให้ปฏิบัติภารกิจ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย

ข้อ 3 (1) ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสาธารณสุขทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร

(2) ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

(3) ให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมสินค้า

(4) ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ และการคุ้มครองช่วยเหลือผู้มีสัญชาติไทยในต่างประเทศ

(5) ให้ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการ แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสื่อสารโทรคมนาคม และสื่อสังคมออนไลน์

(6) ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง(๗) ให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธิการ คณะรัฐมนตรี และปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ประสานงานทั่วไปข้อ

4 ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามข้อ 3 มีหน้าที่และ อํานาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามที่กําหนดไว้ในพระราชกําหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2554 ในส่วนที่รับผิดขอบ และให้มีหน้าที่และอํานาจดังต่อไปนี้

(1) บังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกําหนดเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหาโควิด-19 ในส่วนที่รับผิดชอบ (2) ดําเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ในกรณีมีปัญหาคาบเกี่ยวกับความรับผิดชอบของแต่ละส่วนหรือปัญหาในการปฏิบัติ ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือผู้ประสานงานทั่วไปหารือกันเองหรือ รายงานเพื่อให้นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว

ข้อ 5 ให้ข้าราชการตํารวจ ข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ หน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่และอํานาจดําเนินการตามพระราชกําหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตลอดจนข้อกําหนด ประกาศ และคําสั่งที่ออกตามพระราช กําหนดดังกล่าว และเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายที่โอนมาเป็นหน้าที่และอํานาจของ นายกรัฐมนตรี เว้นแต่นายกรัฐมนตรีจะสั่งเป็นอย่างอื่น การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบใน การแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายกําหนด

ข้อ 6 ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็น เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีหน้าที่และอํานาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เว้นแต่การใช้อํานาจสอบสวนต้องเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็น ข้าราชการตํารวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตํารวจตรีขึ้นไป ข้าราชการทหารซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี และเรืออากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งดํารงตําแหน่งตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26  มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป

 

ผ่าโครงสร้าง “ศอฉ.โควิด” ทหาร-ตำรวจ-พลเรือน ผนึกกู้วิกฤติ

ผ่าโครงสร้าง “ศอฉ.โควิด” ทหาร-ตำรวจ-พลเรือน ผนึกกู้วิกฤติ

ผ่าโครงสร้าง “ศอฉ.โควิด” ทหาร-ตำรวจ-พลเรือน ผนึกกู้วิกฤติ