รถสายตรวจอัจฉริยะ สตช. ซื้อแพงเว่อร์

29 ม.ค. 2563 | 11:30 น.

 

ปัญหาความไม่ชอบมาพากลการจัดซื้อจัดจ้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ยุคที่มี พล...จักรทิพย์ ชัยจินดา เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)

นอกจากจะมีการตรวจสอบเรื่องการจัดซื้อระบบตรวจพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลเทคโนโลยีไบโอเมทริกซ์ มูลค่า 2,100 ล้านบาท ที่นำมาใช้ในท่าอากาศยานนานาชาติ และด่านชายแดนต่างๆ ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (...) โดยมี พล...จักรทิพย์ ถูกกล่าวหาด้วยแล้ว

โครงการจัดซื้อในสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ก็พบความอื้อฉาวโครงการจัดซื้อเรือตรวจการณ์ จำนวน 27 ลำ มูลค่ากว่า 348 ล้านบาท ที่จัดซื้อ ให้กับหน่วยงานของ สตม. แต่กลับเกิดคำถามถึงความเหมาะสม และตรงตามภารกิจจริงหรือไม่

 ล่าสุด ตรวจสอบพบทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้จัดซื้อรถยนต์ปฏิบัติการ หรือ รถยนต์ไฟฟ้าตรวจการณ์อัจฉริยะ (SMART PATROL CAR : SPC)จากค่ายกังหันสีฟ้า หรือ BMW ตามสเปกบอกเป็นรถใช้ไฟฟ้าแบบ 100%

 

 

รถสายตรวจอัจฉริยะ  สตช. ซื้อแพงเว่อร์
 

 

การจัดซื้อรถยนต์รุ่นนี้ อ้างวัตถุประสงค์เพื่อกระจายไปตามด่านตรวจคนเข้าเมือง หรือ ด่าน ตม.ทั่วประเทศ เพื่อใช้ในลักษณะรถสายตรวจตามภารกิจของ สตม. เช่น ที่ด่าน ตม.ช่องเม็ก, ด่าน ตม.สุไหงโก-ลก, ด่าน ตม.ในจังหวัดยะลา หรือปัตตานี

แต่จากการตรวจสอบพบว่า สำนักงาน ตม.บางแห่งไม่มีการติดตั้งที่ชาร์จไฟฟ้า หรือที่เรียกว่าปลั๊กอินเอาไว้ด้วย ทำให้รถไฟฟ้าตรวจการณ์อัจฉริยะที่สั่งซื้อ และส่งมอบในบางพื้นที่ถูกจอดทิ้งไว้เฉยๆ

นอกจากนั้น ยังพบการจัดซื้อได้ดำเนินการผ่านบริษัทผู้แทนจำหน่ายรถ BMW ซึ่งมีศูนย์ให้บริการอยู่หลายสาขาทั่วประเทศ แต่มีจุดน่าสังเกตในหนังสือสัญญาซื้อขาย คือ ได้จัดซื้อผ่าน บริษัท จีเนียสทราฟฟิค ซิสเต็ม จำกัด ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่บนถนนพุทธมณฑล สาย 5 .ไร่ขิง .สามพราน .นครปฐม

 

ซื้อไม่กำหนดยี่ห้อ-รุ่นรถ

ขณะที่พบว่าหนังสือสัญญาทำขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560 ที่สำนักงานส่งกำลังบำรุง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีข้อตกลง 13 ข้อ ที่สำคัญเช่น ข้อ 1 ข้อตกลงซื้อขาย รถยนต์ไฟฟ้าตรวจการณ์อัจฉริยะ ถูกออกแบบเป็น 2 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 จำนวน 230 คัน พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ ราคาคันละ 3.4 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 792 ล้านบาท

ประเภทที่ 2 จำนวน 30 คัน พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ ราคาคันละ 3.5 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 106 ล้านบาท

สนนราคารวมทั้งโครงการ 898 ล้านบาท ซึ่งคิดรวมภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 58 ล้านบาท รวมเป็น 956 ล้านบาท แต่ที่น่าสังเกตคือ ในสัญญาการจัดซื้อไม่ระบุว่ารถไฟฟ้าตรวจการณ์อัจฉริยะ เป็นรถยนต์รุ่นหรือยี่ห้อใด

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบ บริษัท จีเนียส ทราฟฟิค ซิสเต็ม จำกัด พบว่าเป็นบริษัทย่อยของ บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นองค์กรด้านการวิจัย พัฒนา ผลิต จำหน่าย รวมถึงให้บริการด้านเทคโนโลยีสาร สนเทศ การสื่อสาร และอิเล็ก ทรอนิกส์ทุกรูปแบบ

สำหรับข้อมูลด้านเทคนิครถตรวจการณ์อัจฉริยะ พบภาย ในห้องโดยสาร มีการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์แบบแล็ปท็อปพร้อมวิทยุสื่อสาร รวมทั้งมีการติดตั้งกล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหวบนหลังคา ไว้ให้เจ้าหน้าที่ใช้ปฏิบัติงาน

 

รถสายตรวจอัจฉริยะ  สตช. ซื้อแพงเว่อร์


 

 

อุปกรณ์รถแพงเว่อร์

สำหรับสเปกรถไฟฟ้าสายตรวจอัจฉริยะกำหนดไว้ 2 รายการ ประกอบด้วย 1.จำนวน 230 คัน ติดตั้งอุปกรณ์ราคาต่อหน่วยคันละ 3,445,039 บาท รวมเป็นเงิน 792,358,970 ล้านบาท 2.จำนวน 30 คัน ติดตั้งอุปกรณ์ราคาต่อหน่วยคันละ 3,548,970 บาท รวมเป็นเงิน 106,451,730 บาท ใช้งบประมาณรวม 898,810,700 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 58,800,700 บาทแล้ว)

จากการตรวจสอบสเปกรถไม่มีระบุในสัญญาซื้อขายแต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดซื้อรถยนต์ยี่ห้อบีเอ็มดับเบิลยู รุ่น 330e Iconic วางจำหน่ายปี 2018 ในราคาคันละ 1,959,000 บาท จำนวน 60 คัน รวมราคา 509,340,000 บาท ขณะที่ราคาขายตามท้องตลาด ซึ่งรวมราคาตกแต่งแล้วอยู่ที่ 2,259,000 บาท

หากเปรียบเทียบราคาแล้ว สตช.จัดซื้อในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด แต่รถบีเอ็มดับเบิลยู รุ่น 330e Iconic เป็นรถเปล่า ไม่ได้มีการตกแต่งแต่อย่างใด อีกทั้งตั้งสังเกตว่า หากซื้อล็อตใหญ่จำนวน 260 คัน น่าจะได้ส่วนลดมากกว่า 200,000 บาทต่อคัน ขณะเดียวกันยังพบว่า รถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู รุ่น 330e Iconic แบบปลั๊กอิน ซึ่งหมายถึงชาร์จไฟฟ้าได้ โดยระบบการทำงานของรถยนต์รุ่นดังกล่าวเป็นการทำงานร่วมกันระหวางเครื่องยนต์กับมอเตอร์ไฟฟ้า ไม่ได้เป็นรถไฟฟ้า 100%

ขณะที่ข้อมูลอุปกรณ์ที่ติดตั้งเสริม มีดังนี้ กล้องตรวจ การณ์ติดตั้งบนหลังคา 260 ชุด ราคาชุดละ 295,973.20 บาท รวม 76,953,032 บาท ชุดปรับตำแหน่งมุมกล้องตรวจการณ์ 260 ชุด ราคาชุดละ 43,000 บาท รวม 11,180,000 บาท เครื่องตรวจหนังสือเดินทางแบบพกพา 260 เครื่อง ราคาเครื่องละ 250,000 บาท รวม 65,000,000 บาท

กล้องวิดีโอติดหมวก (Action camera) 260 เครื่อง ราคาตัวละ 25,000 บาท รวม 6,500,000 บาท กล้อง Web camera จำนวน 30 เครื่อง ราคาตัวละ 8,000 บาท รวม 240,000 บาท เครื่องพิมพ์ Printer ชนิด Dot matrix แบบแคร่สั่น 30 เครื่อง ราคาเครื่องละ 22,000 บาท รวม 660,000 บาท

 

รถสายตรวจอัจฉริยะ  สตช. ซื้อแพงเว่อร์

 

 

อุปกรณ์เชื่อมสัญญาณเครือข่ายแบบไร้สาย 260 ชุด ราคาชิ้นละ 20,000 บาท รวม 5,200,000 บาท ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่สำหรับปฏิบัติงานในพื้นที่ 260 ชุด ราคาชุดละ 50,000 บาท รวม 13,000,000 บาท ซอฟต์แวร์สำหรับตรวจสอบ และแสดงผลข้อมูลบุคคล 260 ชุด ราคาชุดละ 95,000 บาท รวม 24,700,000 บาท

เครื่องรับส่งวิทยุ VHF/FM ชนิดติดรถยนต์แบบ Code Squelch ขนาดกำลังส่งไม่น้อยกว่า 25 วัตต์ 260 เครื่อง ราคาเครื่องละ 23,900 บาท รวม 6,214,000 บาท เครื่องขยายเสียงพร้อมสัญญาณอิเล็กทรอ นิกส์ไซเรนขนาดกำลังไม่น้อย กว่า 100 วัตต์ พร้อมสัญญาณไฟแดง ชนิดแอลอีดี สำหรับติดหลังคารถยนต์ 260 ตัว ราคาชุดละ 30,000 บาท รวม 7,800,000 บาท

พบด้วยว่า อุปกรณ์เสริมที่จัดซื้อราคาสูงกว่าราคาท้องตลาด ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่ 260 เครื่อง ราคาเครื่องละ 200,000 บาท รวม 52,000,000 บาท แต่ป...ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นแล้วราคาคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่อยู่ที่ 20,000-40,000 บาทเท่านั้น ส่วนปืนไฟฟ้า 540 กระบอก ราคากระบอกละ 40,000 บาท รวม 21,600,000บาท แต่ราคาท้องตลาดหาซื้อได้ในออนไลน์เพียงแค่ 5,000 บาท

ราคาตัวรถกับอุปกรณ์เสริมติดรถรวมแล้วอยู่ที่คันละ 3,061,873.2 บาท แยกเป็นราคารถคันละ 1,959,000 บาท ราคาอุปกรณ์เสริมคันละ 1,102,873 บาท รวม 260 คัน เป็นเงิน 796,087,032 บาท

ว่ากันว่า ขณะนี้รถสายตรวจอัจฉริยะหลายคันที่ซื้อมาแล้ว จอดนิ่ง!!!

 

หน้า 14 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,544 วันที่ 30 มกราคม-1 กุมภาพันธ์ 2563