“กสทช.”แจงสภาฯ เตรียมประมูล5จี ก.พ.63 

07 พ.ย. 2562 | 07:52 น.

 “กสทช.” แจงสภาฯ เตรียมประมูล5จี ก.พ.63   เตรียมพร้อมระบบคืบหน้า เล็งตามผลกระทบกับประชาชน 

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

 

วันที่ 7 พ.ย. 2562  รัฐสภา  ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณารายงานการประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินสำหรับปี 2559 ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

 

    พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย อภิปรายถึงการประมูล 5จี ที่กสทช. อยู่ระหว่างดำเนินการ ว่า กสทช. ต้องทำให้เกิดการสร้างงาน และสร้างระบบเศรษฐกิจ จากเดิมที่มุ่งประมูลเพื่อนำเงินเข้ากระทรวงการคลังเท่านั้น ทั้งนี้5จี ตนมองว่าจะทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจใหม่ ที่เปลี่ยนอุตสาหกรรมการผลิตไปเป็นระบบโรโบติก ทั้งนี้กสทช. ต้องเรียกคืนคลื่น 3.5 GHz จากไทยคม 5 และต้องใช้งบประมาณเพื่อให้ความรู้กับประชาชนด้วยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี นอกจากนั้นต้องเตรียมความพร้อม อาทิ นำสายสื่อสารลงดิน โดยเฉพาะพื้นที่เมืองขนทดใหญ่ เพื่อสร้างความปลอดภัยให้ประชาชน และจัดสรรงบประมาณเพื่อซื้ออุปกรณ์ที่ทันสมัย รวมถึงป้องกันการโจมตีไซเบอร์ด้วย 

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

      ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ชี้แจงว่าการประมูล 5จี จะนำเข้าที่ประชุมกสทช. และเคาะประมูลในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จากนั้นเดือนมีนาคม 2563 จะติดตั้งสถานี และในเดือนสิงหาคม 2563 จะเปิดให้บริการในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (อีอีซี)  ขณะที่ประเด็นการนำสายสื่อสารลงใต้ดินนั้น ยืนยันว่ากสทช.ไม่ได้นิ่งนอนใจ และมีพื้นที่ที่มีท่อใต้ดินของทีโอที และนำสายลงดินหมดแล้ว เช่น ถนนพหลโยธิน แต่การนำสายสื่อสารลงใต้ติดนั้นมักมีปัญหา คือ ให้ผู้ประกอบการชี้สายของตนเอง เพื่อไม่ให้ผิดพลาด และไม่กระทบต่อการบริการ

 

     "ต่อจากนี้ไปจะเป็นระยะต่อไปที่กสทช.จะดำเนินการ โดยกทม.กำหนดว่า จะดำเนินการทั้งหมด 2,400 กิโลเมตรได้เสร็จสิ้นใน2ปี แต่ในตรอกซอกซอยนั้น เนื่องจากพื้นที่แคบ ไม่สามารถขุดเจาะเพื่อนำสายลงดินได้ เราจะดำเนินการจัดระเบียบสายเพื่อให้เกิดความสวยงามแทน ส่วนการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น  อาทิ ค่าบริการมือถือ หรือการใช้งานอินเทอร์เน็ต สิ่งที่กสทช.กังวลคือ การขยายโครงข่ายออกไปในขณะนี้ ที่คลื่นความถี่ขยับเข้าไปใกล้บ้านเรือนประชาชนมากขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชแน่นอน ดังนั้น เราจะติดตามว่าคลื่นที่ปล่อยออกมานั้นสอดคล้องกับมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้หรือ