นายกฯนำปชช.ทุกภาคส่วนร่วมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านคอร์รัปชัน

09 ธ.ค. 2560 | 07:25 น.
นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านคอร์รัปชัน ในงานวันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากล(ประเทศไทย) ย้ำการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ต้องเริ่มจากตนเองและครอบครัวก่อนขยายไปสู่สังคมในวงกว้าง เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเกิดผลเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

[caption id="attachment_240597" align="aligncenter" width="503"] พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี[/caption]

วันนี้ (9 ธ.ค.2560) เวลา 09.30 น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีประกาศเจตนารมณ์การต่อต้านคอร์รัปชัน ในงานวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) ภายใต้แนวคิด "Zero Tolerance คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต"  พร้อมกันทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค  เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของผู้นำทางการเมืองร่วมกับภาคีทุกภาคส่วนที่มีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาการทุจริตอย่างต่อเนื่องและปลุกกระแสสังคมทึ่ไม่ทนต่อการทุจริต มุ่งยกระดับค่าดัชนีการรับการทุจริต (CPI) โดยมี ผู้แทนจากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้แทนองค์การสหประชาชาติ ภาคประชาชน และสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน ณ ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

สำหรับการจัดงานดังกล่าว สืบเนื่องจากที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ (The United Nations : UN) ประกาศให้วันที่ 9 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (International Anti -Corruption)  ในปีนี้รัฐบาลได้ร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ท. องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนจัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) ภายใต้แนวคิด "Zero Tolerance คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต" ขึ้น เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้สังคมและทุกภาคส่วนไม่ยอมรับและไม่ทนต่อการทุจริต และน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตให้มีคุณภาพที่ดี มุ่งวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต” (Zero Tolerance & Clean Thailand)  ตามแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งตระหนักในผลเสียหายร้ายแรงที่เกิดขึ้นจากการทุจริต ซึ่งสถานการณ์การทุจริตในประเทศขณะนี้จากคะแนะดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index, CPI) สำรวจโดยองค์กรเพื่อความโปรงใสนานาชาติ พบว่าประเทศไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 - 2559 ทรงตัวอยู่ในระดับสูงกว่า 3 หรือ 30 แต่ต่ำกว่า 4 หรือ 40 มาโดยตลอด ขณะที่เมื่อพิจารณาค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ในปี พ.ศ. 2559 ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ปรากฏว่า 2 ใน 3 จาก 176 ประเทศทั่วโลก ได้คะแนนต่ำกว่า 50 คะแนน สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาการทุจริตเป็นปัญหาที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องร่วมมือกันแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบรางวัลหน่วยงานภาครัฐที่มีผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในกรดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 (Integrity and Transparency Assessment Awards หรือ ITA Awards) จำนวน 6 รางวัล รางวัลหน่วยงานภาครัฐที่มีผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 (ITA Awards) จำนวน 6 รางวัล รางวัลหน่วยงานที่ได้นำการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ไปขยายผลต่อเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงานจนประสบความสำเร็จ จำนวน 2 รางวัล และรางวัลประกวดคำขวัญ "Zero Tolerance คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต" ได้แก่ นางสาวฌิชาภา หมื่นภักดี จากจังหวัดเพชรบุรี ด้วยคำขวัญที่ว่า “ต่อต้านคนโกง เปิดโปงทุจริต เพชรบุรีร่วมคิด พิชิตคอร์รัปชัน”

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้ร่วมกันจัดงานดังกล่าวขึ้น โดยในฐานะรัฐบาลและประเทศไทย พร้อมรับข้อห่วงใยและข้อเสนอของผู้แทนจากองค์การสหประชาชาติ พิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณีและพันธสัญญาต่าง ๆ ที่ประเทศไทยมีกับประชาคมโลก โดยเฉพาะกรณีที่ค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ปี 2559 ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ปรากฏพบว่า 2 ใน 3 จาก 176 ประเทศทั่วโลก ได้คะแนนต่ำกว่า 50 คะแนนนั้น ประเทศไทยต้องตั้งเป้าประสงค์และแนวทางการดำเนินการให้ประเทศหลุดจากตรงนี้ให้ได้โดยเร็ว

23449 ทั้งนี้ ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ วันนี้จึงได้กำหนดให้เป็นวันสำคัญให้คนในชาติได้ตระหนักถึงความร้ายแรงของอันตรายที่เกิดจากการคอร์รัปชัน โดยรัฐบาลได้ร่วมกับ สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ท. องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนจัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) ภายใต้แนวคิด "Zero Tolerance คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต" ขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นจุดยืนและเจตนารมณ์ร่วมกันในการที่จะไม่ยอมและไม่ทนต่อการทุจริตอีกต่อไป

สำหรับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า  เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมายาวนานและเกิดจากจิตใจของคนเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้นทุกคนในประเทศต้องร่วมกันสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้เกิดขึ้น โดยไม่ยอมให้มีการทุจริต ไม่ให้มีการซื้อขายตำแหน่งข้าราชการ รวมไปถึงไม่ให้เกิดการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง การให้สิทธิ์ประโยชน์และการใช้ช่องทางกฎหมายในทางที่ไม่ถูกต้องในการเอื้อประโยชน์ให้แก่กัน ซึ่งรัฐบาลได้ตระหนักในเรื่องดังกล่าวโดยได้ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยได้มีการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ เช่น การพัฒนาปรับปรุงกฎหมายและกลไกในการตรวจสอบต่าง ๆ รวมทั้งได้นำเรื่องของการป้องกันการทุจริตและการต่อต้านคอร์รัปชันบรรจุไว้ในการปฏิรูปทุกด้าน ตลอดจนทุกหน่วยงานเร่งรัดการดำเนินคดีต่อผู้กระทำการทุจริตประพฤติมิชอบ ทั้งด้านวินัยและอาญา

อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การแก้ไขป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคมในการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าว และร่วมกันผลักดันทำให้เกิดกลไกลและมาตรการต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ได้อย่างจริงจังและเกิดผลสัมฤทธิ์ ทั้งนี้ รัฐบาลได้ร่างระเบียบการนำยุทธศาสตร์และการพัฒนาในภาครัฐดำเนินการป้องกันไปในทิศทางเดียวกัน ควบคู่กับการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนทราบถึงพิษภัยของการทุจริต เพื่อให้การต่อต้านการทุจริตเป็นวัฒนธรรมของสังคมไทย

23444 อีกทั้ง นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเน้นย้ำว่า การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน สิ่งสำคัญต้องเริ่มทำจากตนเองและครอบครัวก่อนขยายนำไปสู่การปฏิบัติของคนในสังคมทั้งในโรงเรียน ชุมชน และประเทศ ขณะเดียวกันการดำเนินโครงการต่าง ๆ ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชนทุกขั้นตอนต้องมีกระบวนการตรวจสอบการทุจริตทุกให้เกิดความโปร่งใส เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจให้เกิดขึ้นในสังคม อันจะสามารถลดและป้องกันปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นอีก

ในต้อนท้าย นายกรัฐมนตรี   ได้นำคนไทยทั่วประเทศและผู้ร่วมงานประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านคอร์รัปชัน โดยกล่าวพร้อมกันว่า จะประพฤติปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่กระทำการทุจริต จะยึดมั่นใจความยุติธรรม ถือประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน จะปกป้องเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยจิตอาสา พร้อมทำความดีด้วยหัวใจ

จากนั้น นายกรัฐมนตรี ได้เยี่ยมชมชมนิทรรศการและร่วมกิจกรรมต่อต้านการทุจริต ณ บริเวณหน้าห้องชุม ซึ่งจัดแสดงไว้เพื่อสร้างการรับรู้และความตื่นตัวต่อผลกระทบที่เกิดจากการทุจริต รวมทั้งสร้างพลังทางสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต และสร้างการรับรู้ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญและความพยายามในการแก้ไขปัญหาการทุจริต ก่อนเดินทางกลับ e-book