รัฐบาลย้ำ!บริหารจัดการน้ำรอบคอบ ไม่เกิดน้ำท่วมใหญ่เหมือนปี 2554 แน่

13 ต.ค. 2560 | 07:19 น.
รัฐบาลย้ำวางระบบบริหารจัดการน้ำอย่างรอบคอบ ยันไม่เกิดน้ำท่วมใหญ่เหมือนปี 54 เพราะปริมาณน้ำน้อยกว่ามาก ยัน ไม่เกิดน้ำท่วมใหญ่เหมือนปี 2554 กำชับหน่วยงานเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยนอกคันกั้นน้ำอย่างเต็มที่

[caption id="attachment_219112" align="aligncenter" width="503"] พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด[/caption]

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้รับรายงานสถานการณ์น้ำในขณะนี้โดยยืนยันว่า จะไม่มีปัญหาน้ำท่วมใหญ่เช่นเดียวกับในปี 2554 เพราะปริมาณน้ำในปีนี้ยังน้อยกว่าปี 2554 มาก โดยทุกหน่วยงานได้วางแผนบริหารจัดน้ำอย่างเป็นระบบและบูรณาการร่วมกันอย่างเต็มที่ พร้อมนำบทเรียนในอดีตมาแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นจึงไม่อยากให้พี่น้องประชาชนตื่นตระหนกหรือหลงเชื่อข่าวลือของผู้ไม่หวังดี

พล.ท.สรรเสริญ ยังระบุว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนหลักโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคกลางเปรียบเทียบกัน 2 ปีมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนโดยข้อมูล ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2560 ปริมาณน้ำในเขื่อนของภาคเหนือรวมกันอยู่ที่ 18,318 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ขณะที่เมื่อ 11 ตุลาคม 2554 อยู่ที่ 24,477 ล้านลบ.ม.ส่วนเขื่อนของภาคกลางปีนี้มีปริมาณน้ำรวมกัน 1,287 ล้านลบ.ม. แต่ในปี 2554 อยู่ที่ 1,377 ล้านลบ.ม. นอกจากนี้ ปริมาณน้ำท่าที่ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท และ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ในปีนี้ก็น้อยกว่าปี 2554 ด้วยเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม จากฝนที่ตกหนักบริเวณภาคเหนือทำให้น้ำเหนือไหลลงสู่ภาคกลางอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ท้ายเขื่อน นอกคันกั้นน้ำ 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งหน่วยงานภาครัฐได้พยายามจัดการน้ำอย่างเป็นระบบเพื่อลดผลกระทบให้มากที่สุด เช่น ทดระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเพื่อชะลอน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม ใช้ระบบชลประทานทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกเข้ารับน้ำเต็มศักยภาพ รวมทั้งใช้พื้นที่ลุ่มต่ำต่างๆรับน้ำเข้าไปเก็บไว้ในทุ่ง ช่วยลดปริมาณน้ำที่จะไหลลงสู่พื้นที่ตอนล่าง

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01 สำหรับพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม 10 เขตของกทม.ที่ประชาชนเป็นห่วง ได้แก่ เขตบางซื่อ ดุสิต พระนคร สัมพันธวงศ์ บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย บางกอกน้อย คลองสาน และเขตราษฎร์บูรณะนั้น ที่ผ่านมา กทม.ได้สร้างแนวกั้นน้ำแล้ว 77 กิโลเมตร มีระดับความสูงตั้งแต่ 2.80 - 3.50 เมตร ส่วนการระบายน้ำ ณ ประตูระบายน้ำบางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายก่อนที่น้ำจะเข้าสู่ กทม.ขณะนี้อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ เฉลี่ย 2,200  ลบ.ม.ต่อวินาที และมีศักยภาพรองรับได้อีกถึง 3,500 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งต่างจากเมื่อปี 2554 ที่มีการระบายน้ำออกมากกว่า 4,000 ลบ.ม.ต่อวินาที

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้สั่งกำชับให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประสานกับจังหวัด หน่วยทหาร และองค์กรปกครองท้องถิ่น เร่งออกช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย พร้อมทั้งแจ้งเตือนให้ประชาชนติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากทางราชการอย่างใกล้ชิดเพราะในช่วงนี้เป็นช่วงที่ประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบจากพายุในฤดูมรสุม เพื่อให้สามารถเตรียมการรับมือและป้องกันความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนเองได้อย่างทันท่วงที อ๊ายยย!!!!ขายของ