“สมชัย”ย้ำร่างพ.ร.บ.พรรคการเมืองไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

04 ก.ค. 2560 | 09:23 น.
“สมชัย”ย้ำร่างพ.ร.บ.พรรคการเมือ“สมชัย”ย้ำร่างพรบ.พรรคการเมืองไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ  แนะ คสช.ผ่อนคลายคำสั่งห้ามพรรคการเมืองทำกิจกรรม หลังกฎหมายบังคับใช้

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงการพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ว่า กกต.จะพิจารณาในที่ประชุมวันนี้ (4 ก.ค.) ว่ามีประเด็นใดขัดหรือแย้งต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าเป็นความยากในทางปฏิบัติ ทั้ง กกต.และพรรคการเมือง ที่ต้องลำบากมากขึ้น โดยภาระของ กกต.จะต้องมีการจัดประชุมชี้แจงให้พรรคการเมือง และรับฟังความเห็นถึงวิธีการที่จะทำให้สะดวกทั้งสองฝ่ายและปฏิบัติตามกฎหมายจะทำได้อย่างไร สมชัยb

“แต่หลักการเรื่องไพรมารีโหวต แม้เป็นเรื่องที่ไม่เคยทำมาก่อน ก็น่าจะลองทำ เนื่องจากทำให้ประชาชนที่เป็นเจ้าของพรรค คือสมาชิกพรรค มีความหมายมากกว่าจะเอาชื่อมาเบิกยอดจาก กกต.  ทั้งนี้หาก กกต.เห็นว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ กรธ.ก็สามารถแย้งได้หากเห็นว่าขัดรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ตั้งกรรมาธิการร่วม เช่นเดียวกับร่าง พ.ร.ป.กกต. แต่ถ้าไม่มีฝ่ายใดเห็นแย้ง  นายกรัฐมนตรีก็จะรอ 5 วัน ก่อนทูลเกล้าฯ”

นายสมชัย กล่าวว่า จากวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ ก็เริ่มกรอบเวลาที่พรรคการเมืองจะต้องปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเท่ากับว่าพรรคการเมืองจะต้องเริ่มกิจกรรมทางการเมือง โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องพิจารณาเพื่อผ่อนคลายให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมืองได้ในจังหวะที่ใกล้เคียงกับ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองมีผลบังคับใช้ เพื่อให้สอดรับกับระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดกรอบเวลา 6 เดือนในการหาสมาชิกพรรคสำหรับพรรคใหม่ และ 1 ปีที่พรรคการเมืองต้องดำเนินการบางอย่างไว้ด้วย ไม่เช่นนั้นจะเกิดประเด็นโต้แย้งตามมาได้ว่าพรรคการเมืองไม่สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้ เนื่องจากติดขัดคำสั่ง คสช. สมชัยc

ส่วนกรณีที่ตั้งข้อสังเกตว่า สนช.อาจคว่ำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้งฉบับใดฉบับหนึ่งนั้น  นายสมชัย  กล่าวว่า ร่าง พ.รป.ว่าด้วยพรคการเมือง และ กกต.ทั้ง 2 ฉบับที่เข้าสู่การพิจารณาของ สนช.ก่อน ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะแม้จะมีข้อขัดข้อง ก็มีเวลาเพียงพอในการยกร่างใหม่ แต่จะเกิดปัญหาแน่สำหรับร่างกฎหมายฉบับที่เข้าในช่วงท้าย ๆ แล้วเกิดการลงมติไม่รับของ สนช.เท่ากับว่าจะมีการร่างกฎหมายใหม่ แต่ในรัฐธรรมนูญไม่กำหนดไว้ว่าใช้เวลาเท่าไร ทั้งนี้หากดูจากความเร็วของการร่างในอดีต ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน บวกกับการพิจารณาของ สนช.อีก 2 เดือน ก็น่าจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 4-6 เดือน

“ต้องถามคนร่าง เพราะอาจมีฉบับใต้ตุ่มเตรียมไว้เสนอ แต่หากดำเนินการช้า สังคมก็ต้องกดดันหากมีการทำช้าเกินไป ถ้าคว่ำในช่วงท้าย ก็จะกระทบกับโรดแมปในการเลือกตั้งอย่างน้อย 4-6 เดือน” นายสมชัย ระบุ