วิปสนช.เตรียมประชุมปรับพ.ร.กการทำแรงงานต่างด้าวให้เป็นพ.ร.บ. 4 ก.ค.นี้

03 ก.ค. 2560 | 10:42 น.
วิปสนช.เตรียมประชุมปรับพ.ร.ก บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวให้เป็นพ.ร.บ. 4 ก.ค.นี้ ก่อนส่งให้ สนช.พิจารณา ทั้งไม่ต้องรับฟังความเห็นตามมาตรา 77 ชี้เมื่อออกเป็นพ.ร.ก.แล้วมีผลกระทบต่อแรงงานและนายจ้าง รัฐต้องหาจุดร่วม

เจตน์

 

นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(วิป สนช.) กล่าวภายหลังการประชุมวิป 3 ฝ่าย ว่า ได้พิจารณาพระราชกำหนด(พ.ร.ก.) บริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าว หรือ ‘กฎหมายต่างด้าว’ พ.ศ.2560 โดยวันที่ 4 กรกฎาคมนี้ วิป สนช. จะพิจารณาก่อนบรรจุวาระเข้าที่ประชุม สนช. เพื่อปรับให้เป็น พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โดยที่ประชุมได้หารือถึงข้อดีข้อเสียของกฎหมายดังกล่าว โดยรัฐบาลต้องการจัดระเบียบแรงงานผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นหลักการที่ดี แต่เมื่อมีผลกระทบต่อแรงงานและนายจ้าง รัฐบาลจึงไม่นิ่งนอนใจ โดยได้หาทางแก้ไขปัญหาด้วยการออกมาตรา 44 แก้ไขปัญหาชั่วคราว

‘ส่วนตัวไม่แน่ใจเหตุผลของการเร่งออก พ.ร.ก.แทนที่จะออกเป็น พ.ร.บ. แต่รัฐบาลยืนยันว่ามีความจำเป็นเร่งด่วน โดยมีเจตนาเพื่อความมั่นคง แต่ในเมื่อออกมาแล้วมีผลกระทบ ก็ต้องแก้ไขต่อไป และได้ย้ำว่า พ.ร.ก.ฉบับนี้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นแล้ว และแม้ว่าเอกชนจะมองคนละมุมกับรัฐ ก็ต้องหาจุดร่วมกันเพื่อเดินไปด้วยกัน’ นพ.เจตน์ กล่าว

เมื่อถามว่าที่ออกเป็น พ.ร.ก.เพราะต้องการเลี่ยงรับฟังความเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ นพ.เจตน์ กล่าวว่า ไม่ใช่เลี่ยง เพราะ พ.ร.ก.ฉบับนี้มีอยู่แล้ว จึงไม่ต้องคำนึงถึงมาตรา 77 อีกทั้งรัฐบาลเห็นความจำเป็นที่ต้องออกเป็น พ.ร.ก. และนักกฎหมายเห็นว่าไม่ต้องรับฟังความเห็นตามมาตรา 77 เพราะเป็นกฎหมายในลักษณะเช่นเดียวกับ พ.ร.ก.ภาษี อย่างไรก็ตา ม เมื่อมีการปรับ พ.ร.ก.นี้ให้เป็น พ.ร.บ.ไม่ต้องรับฟังความเห็นตามมาตรา 77 เพราะเมื่อผ่าน สนช.แล้ว ก็จะเป็น พ.ร.บ.ในทันที