มอง‘3สูตร’ตั้งรัฐบาล หลังมีรัฐธรรมนูญใหม่

09 เม.ย. 2560 | 03:00 น.
นับจากวันที่ 6 เมษายน 2560 ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญลงมาให้ปวงชนชาวไทย ถือว่าเป็นการเริ่มนับหนึ่งการเตรียมความพร้อมในสนามการเมือง นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สะท้อนมุมมองถึงผลลัพธ์ของกรอบกติกาและระบบเลือกตั้งใหม่ ภายหลังประเทศไทยกำ ลังก้าวเข้าสู่บรรยากาศประชาธิปไตย

 3 สูตรฟอร์มรัฐบาลใหม่
นายปริญญา วิเคราะห์ข้ามช็อตถึงการจัดตั้งรัฐบาลใหม่หลังเลือกตั้งว่า มี 3 รูปแบบคือ 1.มีการจัดตั้งรัฐบาลที่เป็นไปตามธรรมชาติ หมายความว่า ถ้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ปล่อยให้การแต่งตั้งรัฐบาลเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่เข้าไปแทรกแซงผลคือ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)จะเป็นผู้กำหนดว่าพรรคใดใน 2 พรรคใหญ่ (ประชาธิปัตย์และเพื่อไทย) ใครจะได้เป็นรัฐบาลเนื่องจากส.ว. ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของ คสช. จะเป็นผู้กำหนดว่าจะให้เพื่อไทยหรือประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล คือเอาเสียงส.ว.มาเติมให้ เพราะทั้ง 2 พรรคไม่มีใครได้เกินครึ่ง ขณะที่คสช.ก็ตั้งรัฐบาลไม่ได้ เพราะมีส.ส.ไม่ถึง 250 คน

รัฐบาลแบบที่ 2 จะเกิดขึ้นในกรณีที่คสช.ต้องการเป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ซึ่งต้องมีเสียงส.ส.สนับสนุน 250 เสียงนั่นหมายความว่า ถ้าจะตั้งรัฐบาลต้องมีพรรคเพื่อไทย หรือพรรคประชาธิปัตย์ มาร่วมรัฐบาลด้วยเรื่องนี้จะเป็นไปได้หรือไม่โปรดติดตามตอนต่อไป เพราะเคยมีการพูดถึงเรื่องเซตซีโร่พรรคการเมือง หรือเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีพรรคใหม่ เพื่อให้พรรคที่มีอยู่กลายเป็นพรรคเล็ก เป็นต้น

“นี่เป็นแค่การสมมติ ผมไม่ได้ชี้โพรงให้กระรอก กระรอกเขาขุดโพรงไว้แล้ว ผมแค่ต้องการให้ประชาชนรู้ว่าโพรงคืออะไรจะได้ตามทัน” อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ผู้เคยมีบทบาทสำคัญในช่วงเหตุการณ์“พฤษภาทมิฬ 35” กล่าวเชิงเปรียบเทียบ

และการจัดตั้งรัฐบาลแบบที่ 3 เปน็ กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรต้องการสู้กับส.ว. ก็ต้องตั้งรัฐบาลที่มีส.ส. 376 เสียง จาก 500เสียง ซึ่งสูตรนี้จะเกิดขึ้นได้กรณีเดียว คือพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ต้องรวมกันเพราะถ้าขาดพรรคใดพรรคหนึ่งไม่มีทางถึง 376 เสียง

สรุปรัฐบาลใหม่จะมี 3 แบบคือ แบบแรก คสช.ปล่อยไปตามธรรมชาติ โดย คสช.จะเป็นคนเลือกว่าใครจะเป็นรัฐบาลโดยการเติมเสียงส.ว.เข้าไปให้แบบที่ 2 คสช.เป็นนายกฯ ต่อเลย ซึ่งแปลว่าต้องดึงเพื่อไทยหรือปชป.มาร่วมรัฐบาล และแบบที่ 3 หาทางให้เกิดพรรคใหม่ขึ้นมา ซึ่งต้องให้มีส.ส. 250 คน ถ้าจะเป็นไปได้คือ ต้องให้พรรคเก่าแตกก่อน

 250ส.ว.กับนายกฯคนนอก
“ถามต่ออีกว่าจะเป็นไปในแบบใดมากที่สุด คำตอบคือตอนนี้ คสช.เองก็คงยังไมตั่ดสินใจ เป็นเรื่องของการทำทางเอาไว้ว่าจะเดินหรือไม่ ซึ่งถ้าจะเดินทางไปมี”

อีกประเด็นที่นายปริญญายํ้าให้ติดตามอย่างไม่กะพริบตาคือตัวเลขส.ว. 250 คน ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะถูกนำมาโยงกับประเด็นนายกรัฐมนตรีคนนอก เนื่องจากเป็นครั้งแรกหลังมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากผลพวงของเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี 2535 มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. แต่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้เป็นครั้งแรกที่เขียนให้นายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากส.ส. แต่มีเงื่อนไขว่าพรรคการเมืองต้องประกาศให้ประชาชนรู้ก่อนว่า ถ้าได้เป็นรัฐบาลจะต้องเสนอผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ไม่เกิน 3 ชื่อ และมีเงื่อนไขว่าเสียง 2 ใน 3 ของรัฐสภา (500 เสียง) สามารถเปิดช่องให้คนนอกบัญชีเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ซึ่ง คสช.มีส.ว.แล้ว 250 เสียง ต้องมีเสียงส.ส. อีก 250 เสียง ตัวเลข 250 จึงมีความสำคัญมากในการดึงคนนอกมาเป็นนายกฯหลังเลือกตั้งอย่างไรก็ตามยังมีจุดที่น่าสังเกตอีก คือ ช่วง 5 ปีแรกของอายุส.ว.ชุดนี้ อาจไม่ใช่แค่ 5 ปี เพราะสภาผู้แทนราษฎรครบวาระ 4 ปี ก็อยู่ต่อไปอีกในการเลือกนายกฯ ซึ่งอาจกลายเป็น 8ปีก็ได้

 คสช.ไม่ควรเป็นรัฐบาลอีก
อดีตผู้นำนักศึกษาปี 2535วิเคราะห์ด้วยว่า จากกติการะบบเลือกตั้งแบบนี้ ไม่ว่าจะก่อให้เกิดรัฐบาลแบบใดก็ตาม คิดว่า คสช.ไม่ควรเป็นรัฐบาลหลังเลือกตั้งควรปล่อยให้มีรัฐบาลที่มาจากธรรมชาติ โดยปล่อยให้ส.ว.ฟรีโหวต ไมต่ อ้ งไปสั่งเขา ให้ไดน้ ายกฯที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนถ้าเป็นแบบนี้ประเทศไทยจะกลับเข้าสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบที่สุด เพราะถ้า คสช.อยากเป็นรัฐบาลเกรงว่าจะเป็นแบบที่ 3 คือ จะเกิดการสู้และความขัดแย้งกันขึ้นระหว่างสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง

“ที่เราบอกจะเป็นรัฐบาลไฮบริด ที่หมายถึงช่วยกันทำงานแต่มันเกิดการแย้งกันทำงานแล้วจะมีปัญหาได้ ทางออกที่ดีที่สุดคือ คสช.ปล่อยไปให้การจัดตั้งรัฐบาลเป็นไปตามธรรมชาติส่วนการเลือกส.ว.ไม่ใช่คนที่จงรักภักดีและทำตามที่ คสช.สั่งเท่านั้นแต่ให้เลือกคนเป็นประโยชน์จริงๆในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นประชาธิปไตย”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,251วันที่ 9 - 12 เมษายน พ.ศ. 2560