ทีมวิจัยแนะอย่าหาใช้เอง"ชุดตรวจแอนตีบอดี้โควิด-19"

12 ม.ค. 2564 | 04:35 น.

นักวิจัยสงขลานครินทร์ เปิดแถลงแนวทางใช้งาน“ชุดตรวจคัดกรองแอนติบอดีโควิด-19”ที่ถูกต้อง สำหรับประชาชนทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้เพื่อคัดกรองเอง 

นักวิจัย สงขลานครินทร์ เปิดแถลงแนวทางใช้งาน ชุดตรวจคัดกรองแอนติบอดีโควิด-19”ที่ถูกต้อง สำหรับประชาชนทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้เพื่อคัดกรองเอง 

 

วันที่ 11 ม.ค.2564 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดแถลงข่าว “ชุดตรวจคัดกรองแอนติบอดีโควิด-19” แนะวิธีใช้งานอย่างถูกต้อง โดยมีนายแพทย์บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา รองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมคณะผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทีมวิจัยชุดทดสอบเพื่อตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19  ที่ห้องประชุม 1 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 

ทีมนักวิจัยคณะเทคนิคการแพทย์และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำโดย ผศ.ดร.ธีรกมล เพ็งสกุล ดร.จิดาภา เซคเคย์ ดร.ปิยะวุฒิ แสวงผล ดร.ธีรภัทร นวลน้อย ดร.ณัฏฐาภรณ์ ณ นคร และ ดร.ปวีณา วงศ์วิทย์วิโชติ ได้ร่วมกันพัฒนาชุดตรวจคัดกรองแอนติบอดีโควิด-19 หรือภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 และผ่านการรับรองจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ปัจจุบันการวินิจฉัยโรคโควิด-19 ของประเทศไทยและสากล มี 2 วิธี ได้แก่
    

1. ตรวจหาเชื้อไวรัส เป็นวิธีที่สามารถตรวจพบเชื้อได้ “เร็ว” ประมาณ 5-7 วันหลังได้รับเชื้อ จึงเป็นวิธีมาตรฐานในการวินิจฉัย (การตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส ด้วยวิธี RT-PCR) โดย swab บริเวณหลังโพรงจมูกไปตรวจ และจะทราบผลการตรวจภายใน 3-5 ชั่วโมง
   ทีมวิจัยแนะอย่าหาใช้เอง"ชุดตรวจแอนตีบอดี้โควิด-19"

ทีมวิจัยแนะอย่าหาใช้เอง"ชุดตรวจแอนตีบอดี้โควิด-19"  

2. การตรวจหาภูมิต้านทาน (แอนติบอดี) ต่อเชื้อไวรัส เป็นวิธีการตรวจหาภูมิต้านทาน หรือ แอนติบอดี ต่อเชื้อไวรัส (IgM/IgG) ซึ่งเป็นภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้น จะตรวจพบได้ ประมาณ 10-14 วัน หลังได้รับเชื้อ (ในระยะแรกที่ติดเชื้อไวรัส การตรวจภูมิต้านทานจะเป็นผลลบ ซึ่งไม่ได้แปลว่า บุคคลนั้นไม่ติดเชื้อโควิด-19) ซึ่งวิธีการตรวจหาภูมิต้านทาน โดยตรวจจากเลือด และจะทราบผลการตรวจภายใน 15-30 นาที (Rapid test)
    

สำหรับการแปลผลโดยวิธีการตรวจหาเชื้อไวรัส RT-PCR หากผลเป็นบวก หมายถึง พบเชื้อโควิด-19 และหากผลเป็นลบ หมายถึง ไม่พบเชื้อโรควิด-19  (แต่อาจต้องตรวจซ้ำ ในอีก 5-7 วัน)
    

ส่วนการแปลผลโดยวิธีการตรวจหาภูมิต้านทาน (แอนติบอดี) หากผลเป็นบวก หมายถึง เคยได้รับเชื้อมาก่อนหน้าวันตรวจ ประมาณ 10-14 วัน แต่ยังยืนยันไม่ได้ว่าเชื้อไวรัสหมดไปจากร่างกายแล้วหรือไม่ ต้องตรวจ RT-PCR ร่วมด้วย นอกจากนี้ภูมิต้านทานที่ตรวจพบ ไม่มีหลักฐานว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ 
    

หากผลเป็นลบ หมายถึง เป็นไปได้ว่าได้รับเชื้อไวรัสมาแล้ว แต่ร่างกายไม่สร้างภูมิต้านทาน (ในช่วง 10-14 วันแรก) หรือ ยังไม่เคยได้รับเชื้อไวรัส และยืนยันไม่ได้ว่า ขณะนี้ได้รับเชื้อไวรัสมาแล้วหรือไม่ ดังนั้นผล Rapid test เป็นลบ จึงยืนยันไม่ได้ว่าปลอดภัยไม่มีเชื้อ ไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น ในผู้ที่มีประวัติเสี่ยงต้องตรวจ RT-PCR ร่วมด้วย
 

ทีมวิจัยแนะอย่าหาใช้เอง"ชุดตรวจแอนตีบอดี้โควิด-19"

ทั้งนี้ สำหรับประชาชนทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้วิธีการตรวจภูมิคุ้มกัน (Rapid test) ในการตรวจคัดกรอง และวินิจฉัยโรคโควิด-19 อย่างไรก็ตาม การป้องกันตัว ใส่แมสอย่างถูกต้อง ล้างมือ รักษาระยะห่าง มีความสำคัญเพื่อลดการแพร่เชื้อต่อผู้อื่น หรือป้องกันการติดเชื้อซ้ำได้
 

คณะผู้บริหารที่ร่วมแถลงประกอบด้วย ศาสตราจารย์ นพ.วีระศักดิ์  จงสู่วิวัฒน์วงศ์  ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 ประธานหลักสูตรสาขาระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศาสตราจารย์  นายแพทย์ขจรศักดิ์ ศิลปโภชากุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รองศาสตราจารย์  นายแพทย์ศรัญญู  ชูศรี  ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ฝ่ายโรงพยาบาล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรกมล เพ็งสกุล คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หัวหน้าโครงการชุดทดสอบเพื่อตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19  

ทีมวิจัยแนะอย่าหาใช้เอง"ชุดตรวจแอนตีบอดี้โควิด-19"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ธพว.” ผนึก “PSU” หนุน “เอสเอ็มอี” ต่อยอดธุรกิจด้วยงานวิจัย-นวัตกรรม

"PSU COVID-19"ชุดตรวจม.อ.รวมพลังนักวิจัยไทย

สงขลานครินทร์เปิดตัว"ชุดตรวจโควิด"รู้ผลใน15นาที