กรมชลฯสั่งทุกพื้นที่เตรียมพร้อมรับมือพายุ“โมลาเบ”

28 ต.ค. 2563 | 07:31 น.

กรมชลประทาน สั่งการทุกพื้นที่เตรียมความพร้อมรับมือพายุ “โมลาเบ”

วันนี้(28ต.ค.63) ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมรับมือพายุ“โมลาเบ” ผ่านระบบ VDO conference มายังศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ SWOC กรมชลประทาน และเกษตรและสหกรณ์จังหวัด โดยมี ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน และเจ้าหน้าผู้เกี่วข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน ถนนสามเสน

 

กรมชลฯสั่งทุกพื้นที่เตรียมพร้อมรับมือพายุ“โมลาเบ”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 7 พายุไต้ฝุ่น “โมลาเบ” คาดเข้าไทยทาง"อุบลราชธานี"คืนนี้

เช็กด่วน พายุไต้ฝุ่น“โมลาเบ” พื้นที่เสี่ยงฝนตกหนัก เฝ้าระวังน้ำท่วม

กทม.เตรียมรับมือฝนตกหนัก จากพายุไต้ฝุ่น“โมลาเบ” 29-30 ต.ค.นี้

 

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุไต้ฝุ่น“โมลาเบ” ที่จะส่งผลให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ ของประเทศไทยมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรง ตั้งแต่วันที่ 28-29 ต.ค.63 นั้น ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบ จึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์พายุไต้ฝุ่น “โมลาเบ” และการให้ความช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยได้อย่างทันที

นายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ได้สั่งการให้สำนักงานชลประทานทั่วประเทศ โดยเฉพาะสำนักงานชลประทานที่ 3-17 ร่วมถึงโครงการชลประทานที่อยู่ในลุ่มน้ำมูล เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์พายุและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการรับมือสถานการณ์น้ำหลากที่กำหนดไว้ ด้วยการ กำหนดผู้รับผิดชอบ กำหนดพื้นที่เสี่ยง กำหนดทรัพยากรเครื่องจักรเครื่องมือ พร้อมปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง โดยเน้นย้ำให้ตรวจสอบความมั่นคงของอาคารชลประทานต่างๆ ให้พร้อมใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเกินกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ พร้อมบริหารจัดการน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด พิจารณาปรับการระบายน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่สอดคล้องกับสภาพอากาศและปริมาณน้ำไหลที่เข้าเขื่อน ควบคู่ไปกับการเก็บกัก โดยผันเข้าพื้นที่แก้มลิงหรือบ่อธรรมชาติ รวมทั้งเร่งระบายน้ำพื้นที่ท้ายน้ำและน้ำค้างทุ่งออกให้เร็วที่สุดเพื่อเตรียมรองรับปริมาณน้ำที่จะเพิ่มขึ้นจากพายุ พร้อมบูรณาการกับผู้ว่าราชการจังหวัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฝ่ายความมั่นคง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแจ้งเตือนประชาชนเพื่อเตรียมรับมือสถานการณ์น้ำ

 

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ติดตามสถานการณ์น้ำและสภาพอากาศจากทางหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด หากประชาชนหรือหน่วยงานใดต้องการความช่วยเหลือ สามารถร้องขอไปได้ที่สำนักงานชลประทานในพื้นที่ หรือโทร1460สายด่วนกรมชลประทาน ได้ตลอด 24 ชั่วโม


ที่มา : ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ(SWOC) กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์