คลิก“Alert” ไฮสปีดลาวหอการค้าอีสานตั้งรับ“คลื่นจีน”

19 ก.ย. 2563 | 03:51 น.

หอการค้าอีสานรวมพลร้อยเอ็ดนัดเช็กความพร้อมรับมือคลื่น"สินค้า-ทุน"จากจีน เกาะรถไฟ ไฮสปีดลาวที่เตรียมเปิดปลายปีหน้า ทะลักเข้าท่วมพื้นที่ ชี้เพิ่มศักยภาพ 4 ด้านเสริมภูมิคุ้มกัน แต่เชื่อจะส่งผลดีมากกว่า

 

หอการค้าอีสานรวมพลร้อยเอ็ดนัดเช็กความพร้อมรับมือคลื่นสินค้า-ทุนจากจีน เกาะรถไฟไฮสปีดจีนลาวที่เตรียมเปิดปลายปีหน้า ทะลักเข้าท่วมพื้นที่ ชี้เพิ่มศักยภาพ 4 ด้านเสริมภูมิคุ้มกัน แต่เชื่อจะส่งผลดีมากกว่า
    

นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี/ประธานหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ระยะนี้ผู้ประกอบการหลายภาคธุรกิจทั้งการค้า การลงทุน ผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรม สมาชิกหอการค้า สมาชิกสภาอุตสาห กรรมจังหวัด พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมาก เรื่องโครงการรถไฟไฮสปีดจีน-ลาว ที่มีความคืบหน้าไปมากและคาดกันว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดในปลายปี 2564 นี้ เท่ากับมาจ่อถึงประตูภาคอีสานเรา
    

“ต่างเห็นร่วมกันว่า ทุกภาคส่วนจะต้องมีการเตรียมความพร้อม รองรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต หลังจากการเปิดการใช้โครงการรถไฟความเร็วสูง จีน-ลาว ดังกล่าว โดยเฉพาะศักยภาพด้านการรองรับของแต่ละภาคส่วน ในภาพรวมของภาคอีสาน”
   คลิก“Alert” ไฮสปีดลาวหอการค้าอีสานตั้งรับ“คลื่นจีน”  

นายสวาทกล่าวอีกว่า ในฐานะประธานหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แจ้งอย่างไม่เป็นทางการถึงหอการค้าในอีสานทุกจังหวัด และทุกกลุ่มจังหวัด ให้เตรียมความพร้อมและทบทวนศักยภาพของตนเองในแต่ละพื้นที่ ว่ามีความพร้อมหรือไม่พร้อมอะไร อย่างไร ด้านไหน เพื่อรายงานในที่ประชุมใหญ่หอการค้าจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดร้อยเอ็ด ในวันที่ 2 พฤศจิกายนนี้ เพื่อนำประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะ ประสานเสนอกรอ.ส่วนกลางและส่งต่อภาครัฐต่อไป
    

นอกจากนี้ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ยังมีความร่วมมือกับภาคเอกชนอื่น เช่น สมาคมธุรกิจไทย-ลาว สมาคมธุรกิจไทย-เวียดนาม ตลอดจนสมาคมการค้า สมาคมวิชาชีพ ชมรม หน่วยงานต่างๆ ทางหอการค้าจังหวัดอุดรธานี จะได้เชิญมาร่วมประชุมปรึกษาหารือกันต่อไปด้วย
    

ทั้งนี้ มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน สปป.ลาวและไทย ในการร่วมกันพัฒนาโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง จีน-ลาว และจีน-ไทย และได้เริ่มการก่อสร้างไปแล้ว โดยมีการรายงานเป็นระยะว่าการก่อสร้างในลาวมีความคืบหน้าไปค่อนข้างมาก จนคาดว่าจะแล้วเสร็จตามกำหนดในปี 2564 และเป็นไปได้ว่าอาจเริ่มเปิดใช้ในวันที่ 2 ธ.ค. วันชาติสปป.ลาว ที่มักใช้เป็นวันเปิดโครงการสำคัญของประเทศพร้อมการเฉลิมฉลองใหญ่โต
  คลิก“Alert” ไฮสปีดลาวหอการค้าอีสานตั้งรับ“คลื่นจีน”    

คลิก“Alert” ไฮสปีดลาวหอการค้าอีสานตั้งรับ“คลื่นจีน”

ประธานหอการค้าภาคอีสานย้ำ แม้จะไม่มีคำยืนยันอย่างเป็นทางการ แต่ก็เป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดอุดรธานี สมควรที่จะให้ความสนใจ และคอยติดตามความ คืบหน้าโครงการนี้ และขอย้ำเตือนให้ทุกภาคส่วนในพื้นที่ ต้องเตรียมพร้อมรองรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้เป็นต้นไป อย่าได้ละเลยหรือไม่สนใจ เพราะทุกวันนี้เป็นโลกยุคใร้พรมแดน จากการไหลบ่าเข้ามาอีกระลอกของเทคโนโลยี สินค้า และเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่จะมาพร้อมโครงการรถไฟไฮสปีดจีน-ลาวดังกล่าว ที่จะทะลักเข้ามาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย
    

“ต้องมีการเตรียมความพร้อมที่จะรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงจากระยะต่อไปนี้ในอนาคต 5 ปี ว่าพร้อมมากน้อยเพียงใด ประเด็นที่สำคัญคือ การเพิ่มศักยภาพใน 4 ด้าน เพื่อเป็นกันชนรองรับแรงกระแทกจากการเปลี่ยนแปลง คือ 1.ด้านการค้า การลงทุน 2.การเพิ่มศักยภาพการเกษตร และอาหาร 3.การเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและการบริหาร และ 4. การเพิ่มศักยภาพด้านของสุขภาพอนามัย
    

นายสวาทกล่าวด้วยว่า การเปิดใช้ไฮสปีดจีน-ลาว น่าจะเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย โดยเฉพาะต่อภาคอีสานและจังหวัดอุดรธานี ที่ได้รับการวางตัวให้เป็นศูนย์กลางในด้านการค้า การลงทุน  การบริการของภาคอีสานตอนบน และในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง แต่ทุกภาคส่วนจะต้อง
มีการเตรียมความพร้อม และทบทวนศักยภาพของตนเอง กับการรองรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่จะต้องเกิดขึ้นมาในอนาคต เพราะจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลาย มิติ เช่น การขนส่งเดินทาง การค้า การลงทุน  การเคลื่อนย้ายคน  การสร้างชุมชนต่างชาติ แรงงานต่างด้าว เทคโนโลยี เศรษฐกิจจากประเทศจีน เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศใหญ่มีพลเมืองมากกว่า 1,300 ล้านคน และเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีสูงมากประเทศหนึ่งของโลกปัจจุบัน 
คลิก“Alert” ไฮสปีดลาวหอการค้าอีสานตั้งรับ“คลื่นจีน”

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า17 ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,611 วันที่ 20-23 กันยายน พ.ศ.2563 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

หอการค้าอีสานหนุนNEEC ฮับภูมิภาคเชื่อมเพื่อนบ้าน

คล้องแขนผนึก “พลังอีสาน” เอกชน“อุดร-ขอนแก่น” จับมือปลุกเที่ยวทั้งภาค

แนะอีสานจับมือเพื่อนบ้าน ชู‘ระเบียงเศรษฐกิจน้ำโขง’